ReadyPlanet.com


คดีข่มขืนเด็กสาว


 เนื่องด้วยญาติของดิฉันโดนกระทําชําเราซึ่งมีอายุเพียง7ขวบ โดยฝ่ายชายนั้น อายุ 21 ปี ซึ่งได้แจ้งความแล้วและฝ่ายผู้กระทําผิดก็ยอมรับผิด  ขอถามคําถามดังนี้ค่ะ

1.มีโทษจําคุกกี่ปี

2.จะประกันตัวผู้ร้ายได้หรือไม่/คือว่าทางดิฉันไม่อยากให้ประกันได้เลยเพราะเกลียดตัวผู้ร้ายมากกก

3.จะฟ้องค่าเสียหายได้หรือไม่ ถ้าได้ควรฟ้องเท่าไหร่

4.การฟ้องร้องค่าเสียหายต้องทําอย่างไร

สุดท้ายนี้ขอบพระคุณสําหรับคําตอบค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ เด็กเชียงใหม่ :: วันที่ลงประกาศ 2005-09-28 17:25:41 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (241994)

1.มีโทษจําคุกกี่ปี

ตอบ เป็นไปตามกฎหมายครับ

2.จะประกันตัวผู้ร้ายได้หรือไม่/คือว่าทางดิฉันไม่อยากให้ประกันได้เลยเพราะเกลียดตัวผู้ร้ายมากกก

ตอบ  ต้องขอคัดค้านการประกันตัว ต่อพนักงานสอบสวน และศาล ครับ  ส่วนจะประกัน หรือไม่ ศาลจะพิจารณาจากกฎหมายครับ

3.จะฟ้องค่าเสียหายได้หรือไม่ ถ้าได้ควรฟ้องเท่าไหร่

ตอบ ขึ้นอยู่กับว่า พิสูจน์ความเสียหายได้เท่าไหร่ครับ

4.การฟ้องร้องค่าเสียหายต้องทําอย่างไร

สุดท้ายนี้ขอบพระคุณสําหรับคําตอบค่ะ

ตอบ  การฟ้องเรียกค่าเสียหาย คงต้องให้ทนายทำเรื่องยื่นฟ้องเป็นคดีแพ่งครับ

 

มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภรรยาของตน โดย

เด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงยี่สิบปี และปรับ

ตั้งแต่แปดพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นการกระทำแก่เด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปี

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาท

หรือจำคุกตลอดชีวิต

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกหรือวรรคสองได้กระทำโดยร่วมกระทำความผิด

ด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมเด็กหญิง และเด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม หรือได้กระทำ

โดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้อาวุธ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต

ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในวรรคแรก ถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุ

กว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้

ชายและ เด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสใน

ระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำความผิดนั้นไป

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-09-28 21:15:14 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (242003)

1.มีโทษ  4-20 ปี

2. การให้ประกันตัวเป็นดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน  ประกอบกับรัฐธรรมนูญก็เขียนในทำนองว่าเมื่อผู้ต้องหาขอประกันตัว  ต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็ว และไม่ให้เรียกหลักประกันเกินสมควร........(มาตรา239)  มาตรานี้นับเป็นปัญหาในทางปฏิบัติของตำรวจ หรืออาจเป็นโอกาสของตำรวจบางคนที่จะใช้เป็นข้ออ้างในการให้ประกันตัวผู้ต้องหา  ดังนั้นถ้าคดีไม่ใหญ่จริงคือผู้เสียหายไม่ใช่บุคคลมีชื่อเสียงอย่างพวกเราๆ......ตำรวจมักให้ประกันตัวผู้ต้องหาเสมอ......บางทีต้องทำใจครับ

3.เรียกได้  จำนวนคงกำหนดกันแน่นอนไม่ได้หรอกครับ  ก็แล้วแต่สถานภาพของแต่ละคนคือต้องดูหลายเรื่องประกอบกันครับ  

4.ควรให้ทนายช่วยดำเนินการครับ....

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2005-09-28 21:20:47 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.