ReadyPlanet.com


การขอแบ่งแยกที่ดิน


ขอสอบถามเรื่องการครอบครองที่ดินและการขอแบ่งแยกค่ะ

ที่ดินที่บ้านและสวน เป็นที่ดินมีเอกสิทธิเป็นที่ดินทำกินแบบ กสน 3 คะ มันมีปัญหาตรงที่ว่า แม่ของดิฉันมาพี่น้องรวมกันแล้ว 5 คนคะ ที่ดินที่แม่ดิฉันครอบครองอยู่นั้นเมื่อก่อนก็ไม่ได้มีเอกสารสิทธิอะไร เป็นที่ว่างเปล่า ที่คุณตา คุณยาย ใช้ปลูกผัก ทำมาหากินกันตามประสา พอพี่น้องแม่รุ่นๆก็ได้แยกย้ายกันไปอยู่ที่อื่น ไปสร้างครอบครัวกันที่อื่น เหลือแต่แม่ของดิฉันที่คอยดูแลคุณตาอยู่ ส่วนคุณยายเสียตั้งแต่แม่ยังเล็ก หลังจากคุณตาเสียก็ไม่มีใครเข้ามาดินร้น และยุ่งเกี่ยวกับที่ดินผืนนี้ซึ่งเป็นที่ว่าง แม่ของดิฉันก็พยายามดินรนและขอเอกสารสิทธิ เป็นคนเสียภาษีตั้งแต่เริ่มแรกคนเดียวมาตลอด จนได้ออกมาเป็นเอกสารสิทธิที่เรียกว่า กสน 3 เป็นชื่อของแม่ดิฉัน ออกเอกสารเมื่อปี 2547 แต่ด่อนหน้านั้นก็เสียภาษีมาโดยตลอด และไม่มีพี่น้องคนไหนคัดค้านหรือคิดจะสนใจจนถึงเมื่อ ปี สองปี ที่ผ่านมาพี่น้องแม่ มารบเร้า เอาความอยากให้แบ่งสิทธิที่ดินให้ ซึ่งรบเร้ากันหนักขึ้น ถึงขั้นข่มขู่ และจะฟ้องร้องแบ่งแยกที่ดินจากแม่ดิฉัน ดิฉันจึงอยากทราบว่า พี่น้องของแม่ดิฉันสามารถจะทำการแบ่งแยกได้มั้ยหากขึ้นศาล แม่ของดิฉันจะเสียเปรียบมั้ยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ Jum (Cnz-jumja-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2016-01-05 21:49:04 IP : 49.230.228.22


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3922348)

   "พรบ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ  พ.ศ.2511"

ข้อกฎหมาย...ผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน  จะมีสิทธิดีกว่าบุคคลอื่น

...ในเมื่อแม่ครอบครองทำประโยชน์  จนได้เอกสาร  กสน.3 (ออกตามระเบียบส่งเสริมสหกรณ์ฯ พ.ศ.2546) แม่สามารถขอออกเอกสาร กสน.5   และขอออกเป็นโฉนดที่ดินได้  ตาม ม.11 ติดต่อสอบถามรายละเอียดจากนิคมฯได้.... ดังนั้นญาติจึงไม่สิทธิมาขอแบ่งที่ดิน  เพราะเขาไม่ได้ครอบครองอยู่และไม่เป็นสมาชิกของนิคมฯ   ถ้าเขาจะฟ้องร้องก็ปล่อยเขาไป  ไม่ต้องไปเสียเวลาโต้แย้งให้เปลืองแรง   ในข้อกฎหมาย แม่อยู่ในฐานะได้เปรียบ ....  ให้แม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่ยกมาข้างล่าง  (ม.11  ม.24 ม.26 ม.27 ม.40)  แม่จะปลอดภัย 100  %  ถ้าถูกก่อกวนหนัก  ก็แจ้งผู้บริหารนิคมฯ  หรือร้องศูนย์ดำรงธรรมในจังหวัด ครับ

 

มาตรา ๑๑ ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๒๖ และมาตรา ๔๐ เมื่อสมาชิกนิคมได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว และได้เป็นสมาชิกนิคมมาเป็นเวลาเกินกว่าห้าปี ทั้งได้ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไปตามมาตรา ๑๐ และชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการเรียบร้อยแล้ว ให้ออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่ผู้นั้น
ผู้ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์แล้วจะขอให้ออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดินได้
มาตรา ๒๔ ให้ผู้ซึ่งได้รับหนังสือแจ้งตามมาตรา ๒๓ ไปแสดงตนต่อผู้ปกครองนิคมภายในเวลาที่กำหนดในหนังสือแจ้ง
เมื่อผู้ปกครองนิคมได้ตรวจสอบหลักฐานของผู้ซึ่งแสดงตนนั้น และเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้ชี้เขตที่ดินที่ได้รับมอบให้เข้าทำประโยชน์ เมื่อผู้นั้นลงลายมือชื่อรับมอบที่ดินแล้ว ให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ*หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ*มอบหมายออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และสั่งให้อพยพครอบครัวเข้าอยู่ประจำในที่ดินนั้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่รับมอบที่ดิน

 

 

มาตรา ๒๖ สมาชิกนิคมสร้างตนเองซึ่งได้รับมอบที่ดินตามมาตรา ๒๔ แล้ว ต้องจัดทำที่ดินให้เกิดประโยชน์ให้แล้วเสร็จภายในห้าปีนับแต่วันที่อพยพครอบครัวเข้าอยู่ประจำในที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่า ภายในปีแรกต้องทำประโยชน์ให้ได้อย่างน้อยหนึ่งในสิบส่วนของที่ดินที่ได้รับมอบ ถ้าทำประโยชน์ไม่ได้ตามส่วนของเนื้อที่ดินดังกล่าว ให้สมาชิกนิคมสร้างตนเองนั้นขาดสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับมอบ และถ้าภายในสี่ปีต่อมายังทำประโยชน์ไม่ได้เต็มเนื้อที่ ก็ให้ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์เฉพาะส่วนที่ดินที่ได้ทำประโยชน์แล้วเท่านั้น เว้นแต่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ*จะผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาทำประโยชน์ต่อไปได้อีกคราวละหนึ่งปี แต่ต้องไม่เกินสามปี
มาตรา ๒๗ สมาชิกนิคมสร้างตนเองมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ประพฤติและปฏิบัติตนเรียบร้อย มีวัฒนธรรมและศีลธรรมอันดี
(๒) สร้างบ้านพักอาศัยตามแบบแปลนแผนผังนิคม
(๓) ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ปกครองนิคมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การป้องกันและรักษาโรค ตลอดจนการสุขาภิบาล
(๔) ช่วยเหลือร่วมแรงทำการบำรุงที่ดินหรือปฏิบัติการงานอื่น ๆ อันจำเป็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของนิคมสร้างตนเอง
(๕) ไม่รับบุคคลผู้มีความประพฤติอันน่าจะก่อกวนความสงบของนิคมสร้างตนเองเข้ามาอยู่ในที่ดินที่ได้รับมอบ
(๖) ไม่มอบหรือโอนสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับมอบให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ*หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ*มอบหมาย
(๗) ไม่นำหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินไปเป็นหลักประกันการชำระหนี้
(๘) ถ้ามีหนี้ที่เกี่ยวกับกิจการของนิคมสร้างตนเองที่จะต้องชำระให้แก่ทางราชการ ต้องชำระให้แก่นิคมสร้างตนเองภายในระยะเวลาที่กำหนด เว้นแต่ได้รับผ่อนผันจากอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ*
 
 
มาตรา ๔๐ สมาชิกนิคมสหกรณ์ซึ่งได้ปฏิบัติการถูกต้องตามมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่งแล้ว จะขอให้ออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-01-06 09:20:57 IP : 101.51.164.65


ความคิดเห็นที่ 2 (3922634)

ถ้า เขาจะอ้างได้มั้ยว่าเป็นที่มรดก แล้วถ้าจะดำเนินการออกเป็นโฉนดแต่พี่น้องคัดค้าน จนนิคม ไม่สามารถดำเนินการออกได้จะทำยังไงได้บ้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น ปฏิวัติ นามบุตร (tonmaster-dot-1-dot-08-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-01-06 17:46:47 IP : 122.155.45.153


ความคิดเห็นที่ 3 (3922739)

    "คุณสมบัติของสมาชิกนิคม  ตาม ม.22"

 

คือที่ดินนิคม  เป็นที่ดินพิเศษ  ที่มอบให้ประชาชนที่ไม่มีที่ทำกิน  อาจตกทอดเป็นมรดกได้   ถ้าเป็นสมาชิกนิคม และอยู่ในเงื่อนไข ของ    พรบ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ  พ.ศ.2511 ม.22(ข้างล่าง)  กรณีของแม่ของคุณ  ท่านได้เอกสาร  กสน.3 เพราะมีคุณสมบัติครบถ้วน  ที่ดินจึงไม่ใช่มรดกของ คุณตา คุณยาย   จึงไม่ต้องต้องแบ่งมรดกแก่ทายาท  แต่เรื่องนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย   เมื่อแม่จะขอออกโฉนดที่ดิน  เมื่อมีผู้คัดค้าน เจ้าหน้าที่ก็จึงระงับเรื่องไว้ก่อน   คือเจ้าหน้าที่คงไม่อยากเปลืองตัว   ถ้าใครมีปัญหาโต้แย้งกัน ก็ต้องไปฟ้องร้องกันเอาเอง   เจ้าหน้าที่อยู่เฉยๆจะปลอดภัยกว่า  ก็เป็นธรรมชาติของข้าราชการเมือองไทยทุกรมกอง ที่ย่อมหาทางเอาตัวรอดไว้ก่อนเสมอ....คำแนะนำ  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการในเรื่องนี้   ก็ลองเลือกเอาเองว่าจะใช้วิธีไหนที่ดีที่สุด คือ

1.  ให้แม่ยอม  แบ่งปันที่ดินเป็น  5 ส่วนเท่าๆกัน  และต่างก็ออกเอกสารสิทธิ์เป็นของตัวเอง วิธีนี้ คือทางออกที่ง่ายที่สุด  ไม่ต้องมีปัญหาฟ้องร้องกัน   แต่แม่ย่อมเสียความรู้สึกแน่นอน   หรือ

2. แม่ยืนยันสิทธิของตน ทั้งแปลง  แม้ออกเอกสารไม่ได้   แต่ก็ไม่มีใครมาแย่งชิงได้  แม้ ออกโฉนดที่ดินไม่ได้  ก็ปล่อยไว้ก่อน  ก็ทำมาหากิน  ทำแนวเขต ให้ชัดเจน  ถือครองทำกินต่อไป  ถ้าพี่น้องมาฟ้องร้องก็ต่อสู้ไปตามข้อเท็จจริง   ในข้อกฎหมายแม่อยู่ในฐานะได้เปรียบ  หรือ

3.  แม่ต้องยื่นคำร้องต่อศาล  เพื่อให้ศาลสั่งว่า แม่มีสิทธิครอบลครองดีกว่าบุคคลิ่น  และนำคำสั่งศาล  ไปขอออกเอกสารสิทธิ์ต่อไป  หรือ

4.  ร้องศูนย์ดำรงธรรม ในจังหวัดให้ช่วยเหลือ ไกล่เกลี่ย   แต่ศูนย์ฯ ก็คงให้มีการแบ่งปันกัน ตามความเหมาะสม

 

 

มาตรา ๒๒ ผู้ซึ่งจะเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) บรรลุนิติภาวะ และเป็นหัวหน้าครอบครัว
(๓) มีความประพฤติดี และเต็มใจปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ*กำหนด
(๔) สามารถประกอบการเกษตรได้ตามระเบียบที่อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกำหนด
(๕) ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
(๖) ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีแต่เพียงเล็กน้อยไม่พอแก่การครองชีพ
(๗) ไม่มีอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้นพอแก่การครองชีพ
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-01-07 07:56:45 IP : 101.51.165.167



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.