ReadyPlanet.com


ข้อแตกต่าง


อยากทราบว่าระหว่างสัญญากับพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมีความแตกต่างกันอย่างไรคะ

ขอบพระคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ นิติ มน. :: วันที่ลงประกาศ 2006-01-24 10:10:02 IP : 203.172.44.30


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (368199)

    - สัญญา คือ อะไรนั้น  ตามความหมายทางกฎหมาย สัญญา เกิดขึ้นได้เมื่อ เสนอสนองสอดคล้องต้องตรงกัน สัญญาจึงจะเกิด ซึ่งก็หมายความว่า ต้องมีบุคคลผู้ยื่นคำเสนอในการทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง กับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้รับคำเสนอนั้น และบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายนั้นเห็นชอบ  กล่าวคือ  ตกลงกันตามคำเสนอนั้น และจะมีการสนองตอบคำเสนอ จนกระทั่งที่สุดก็ก่อเกิด ให้เป็นสัญญา ที่ผูกพันตนตามสัญญาที่ได้ ทำกันไว้ทั้ง2ฝ่าย(ตามหลักเจตนาของคู่สัญญา)

   - พรบ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ถือได้ว่าเป็นกฎหมายใหม่อีกฉบับหนึ่ง ที่ออกมาเพื่ออุดช่องว่างของกฎหมาย (ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพานิชย์) กล่าวคือ การที่คู่สัญญาทำนิติกรรมใดๆอันเป็นการผูกพันตนตามสัญญานั้น อาจเป็นไปด้วย ตกในภาวะจำเป็นจนทำให้การที่ตกอยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมากเกินไป จึงได้มีกฎหมายเพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบนั้น

  - ดังนั้นความแตกต่างระหว่างสัญญา กับ พรบ.ดังกล่าว จึงแตกต่างกันในแง่ของการที่ พรบ.เป็นการอุดช่องว่างของสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แต่ไม่ขัดต่อกฎหมายหลัก     (ตาม ปพพ.)  เพราะ สัญญาเป็นการแสดงเจตนาของคู่สัญญาหากสัญญาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย(ตาม ปพพ.)มากเกินไปก็ถือว่าใช้บังคับได้เพราะเป็น การที่คู่สัญญาเจตนาผูกพันตนตามสัญญานั้นแม้ว่าจะเสียเปรียบก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น การ***้เงิน(เงิน***้นอกระบบ) ที่หลีกเลี่ยงการคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด(กฎหมายกำหนด ไม่เกิน ร้อยละ 15 ต่อปี) โดย คิดดอกเบี้ยรายเดือนแทน เป็นต้น

 แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีรายละเอียดอยู่อีกมาก หากท่านเป็นนักศึกษากฎหมาย ควรจะเพิ่มเติมและวิเคราะห์ ดูทั้ง ตาม ปพพ. และ พรบ. ดังกล่าว หรือคำอธิบายกฎหมายวิชานิติกรรมและสัญญา ของ ศ.ศักดิ์ สนองชาติ เพิ่มเติมได้ เพราะมีการเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างละเอียดละออ

ผู้แสดงความคิดเห็น ส.สงขลา วันที่ตอบ 2006-01-24 17:02:44 IP : 61.7.157.121



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.