ReadyPlanet.com


สามีฟ้องหย่าเมียหลวง


หนูมีข้อสงสัยจะถามค่ะเกี่ยวกับการฟ้องหย่าภรรยาหลวง

1. หากสามีมีการฟ้องหย่าภรรยาหลวงที่แยกกันอยู่กันมา  3 ปี โดยภรรยาหลวงรับทราบนั้นว่าสามีมีภรรยาน้อยถือว่าภรรยาหลวงยินยอมแยกกันอยู่หรือไม่

2. การฟ้องหย่านั้นผู้ที่เป็นภรรยาน้อยจะต้องถูกเรียกค่าเสียหายจากภรรยาหลวงหรือไม่

3. หากศาลมีการนัดให้ขึ้นศาลเพื่อฟังคำตัดสินนั้น หากภรรยาหลวงไม่ยอมมาตามศาลนัดนั้น ติดต่อกัน 3 ครั้ง การฟ้องหย่านั้นจะมีผลอย่างไรค่ะ

4. ถ้าภรรยาหลวงอ้างว่าไม่ได้แยกกันอยู่ เป็นเวลา 3 ปี นั้นจะต้องหาหลักฐานอะไรมาบ่งบอกได้ว่าแยกกันอยุ่มา 3 ปีจริง ๆ

5. ในการฟ้องหย่านั้น ค่าทนายความที่เราจะต้องตกลงกับทนายความ เป็นหมื่นมั้ยค่ะ

6. ถ้าศาลตัดสินให้ฟ้องหย่าได้ แต่พ่อแม่ฝ่ายชายไม่ยินยอมจะต้องทำอย่างไรค่ะ

7. ทรัพย์สินที่เป็นของฝ่ายสามีที่มีมาก่อนแต่งงานถือว่าเป็นสินสมรสหรือไม่

8. ในระยะเวลา 3 ปี นั้น ฝ่ายสามีได้มีการขายที่ดินและได้เงินมา ก่อนการฟ้องหย่า ถือว่าเงินที่ขายที่ดินตรงนั้นเป็นสินสมรสหรือไม่

9. ฝ่ายสามีได้แบ่งเงินตรงส่วนที่ขายที่ดินให้กับบุตรที่เกิดจากภรรยาหลวงคนละครึ่งกับบุตรที่เกิดจากภรรยาน้อย และศาลบอกว่าให้ส่งเสียค่าเลี้ยงดูบุตรภรรยาหลวง ฝ่ายสามีจะไม่ส่งเสียได้มั้ย เพราะได้แบ่งเงินให้กับบุตรของภรรยาหลวงไปแล้ว

10. หากศาลได้ตัดสินให้ฟ้องหย่าได้ แต่ภรรยาหลวงไม่ยอมจะต้องทำอย่างไรค่ะ

 หนูขอคำตอบด่วนน่ะค่ะ เพราะสงสัยมาก เพราะกำลังจะต้องการฟ้องหย่าและต้องการหาทนายความด้วยค่ะ

 (ตอบกลับมาทาง เมล์ได้มั้ยค่ะ)



ผู้ตั้งกระทู้ ขนมเป้า (เมียน้อย) (rakchay-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2010-05-29 19:29:23 IP : 118.173.26.150


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3185129)

1-2.  ถ้าภรรยาหลวงเขาทราบเรื่อง การที่สามีของเขามีเมียน้อย    แต่ไม่ยกขึ้นกล่าวอ้างหรือฟ้องร้องภายในหนึ่งปี    เขาย่อมเรียกค่าทดแทนไม่ได้

3.   ทนายความฝ่ายคุณ  ก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาล    ให้มีการพิจารณาคดัไปฝ่ายเดียวได้  ไม่ต้องไปวิตกในเรื่องนี้หรอก

4.  เรื่องแยกกันเกิน  3  ปี  หรือภรรยาของเขาทราบเรื่องเกินหนึ่งปีหรือไม่  เป็นข้อเท็จจริง   ถ้ามีคดีฟ้องร้อง   และเขาโต้แย้งขึ้นมา   ก็ต้องหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์กัน  ให้ศาลเชื่อตามที่ตนกล่าวอ้าง

5.  ก็ตกลงกันเอง  

6.  ถ้าศาลให้หย่า    ก็สามารถใช้คำพิพากษาแสดงเจตนาการหย่าแทนการยินยอมภรรยาหลวงได้ ....... เรื่องบิดามารดาฝ่ายสามีไม่ยินยอมให้หย่า    เป็นปัญหาครอบครัว   คงไม่มีกฎหมายใดไปบังคับเขาได้     แม้ตามกฎหมายสามีของคุณจะสามารถจดทะเบียนหย่าได้  แต่ถ้าฝ่ายพ่อแม่เขาไม่ยอมรับ   คุณก็คงมีชีวิตอยู่แบบหวานอมขมกลืน    การแย่งของรักของคนอื่น   ชีวิตคงยากที่จะประสบความสุข

7.  เป็นสินส่วนตัวของสามี

8. เป็นสินสมรสระหว่างเขากับภรรยาหลวง

9. สินสมรสนำไปแบ่งให้บุตรของภรรยาน้อยไม่ได้ ถ้าเขาโต้แย้งขึ้นมาก็คงยุ่งยาก.....เรื่องส่งค่าเลี้ยงดู    แม้เป็นคำสั่งศาล   ก็มีผู้คนเป็นจำนวนมาก  ดื้อแพ่ง  คือไม่ยอมส่งเสียตามกำหนด  กฎหมายก็คงทำอะไรไม่ได้มากนัก  แต่เรื่องผลกรรมเป็นเรื่องที่ไม่มีใครหนีพ้นไปได้

10.ตอบแล้วในข้อ  6

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้เฒ่า วันที่ตอบ 2010-05-30 08:26:10 IP : 125.26.110.20


ความคิดเห็นที่ 2 (3187160)

กระผมมีเรื่องปรึกษาทีมงานทนายความของบิษัททนายความประมุขครับ

            กระผมจะฟ้องหย่าภรรยาซึ่งไม่ได้อยู่กินกันมานานถึง 10 ปีแล้ว คือเราต่างคนต่างอยู่กันคนละที่ โดยที่กระผมได้ย้ายที่ทำงานใหม่จากจังหวัดทางภาคเหนือลงมาทางภาคกลางตอนล่างตอนแรกก่อนจะมากระผมได้ชวนเขาไปอยู่ด้วยกันเขาปฎิเสธไม่ยอมมากับกระผมและขณะนี้กระผมมีภรรยาใหม่แล้วส่วนเขานั้นกระผมไม่แน่ใจว่าเขามีใหม่หรือยังภรรยาเก่าของกระผมเขาก็ทราบดีว่ากระผมมีภรรยาใหม่และมีบุตรด้วยกัน 2 คน อายุ 6 ขวบกว่า ( แฝดครับ )  ซึ่งบุตรที่เกิดจากภรรยาเก่าของกระผม ก็มี 2 คน เช่นกันแต่ทั้ง 2 คนบรรลุนิติภาวะแล้วมีงานทำเป็นหลักฐาน 1 คน และอีก 1คนกำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งกระผมก็คอยส่งค่าเล่าเรียนให้มาตลอด ซึ่งระยะหลังมานี้มีพี่เขามาช่วยส่งค่าเล่าเรียนให้อีกแรงหนึ่งก็เบาลงหน่อย  กระผมจะขอถามดังนี้ครับ

             1. กระผมจะยื่นคำร้องต่อศาลว่ากระผมไม่ได้อยู่กินกับภรรยาเก่าของกระผมมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว จะได้หรือเปล่า

             2. เพื่อที่กระผมจะทำนิติกรรมให้กับบุตรที่เกิดใหม่ทั้ง 2 คนถูกต้องตามกฎหมายได้มีอนาคตก้าวหน้าเหมือนพี่ๆเขาทั้ง 2 คน

             3.ภรรยาเก่าของกระผมเขาได้อ้างว่ายังไม่พร้อมที่จะหย่าซึ่งระยะเวลาที่กระผมขอหย่ากับเขามันก็ปาเข้าไปเกือบ 1 ปีกว่าแล้ว

             4.ไม่ทราบว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสักเท่าไหร่? และระยะเวลานานเท่าไหร่? จึงจะสำเร็จ กรุณาตอบให้กระผมทราบทางเมลล์เลยนะครับ  ขอขอบพระคุณทีมงานทุกท่านล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ด้วย       

ผู้แสดงความคิดเห็น แก๊ป วันที่ตอบ 2010-06-04 17:43:47 IP : 112.142.18.44


ความคิดเห็นที่ 3 (3205340)

สัวสดีค่ะ ทุกท่าน

   หนูมีเรื่องอยากถามรบกวนช่วยตอบทีค่ะ คือดิฉันอยู่กินกับสามีมาจะเข้าปีที่6แล้วเรามีลูก1คนจะ4ขวบ แต่เขาก็มีภรรยามีลูกอีก2คน ซึ่งดิฉันทราบตอนที่ท้องได้5เดือน  ทุกวันนี้หนูอยู่ไม่มีสุข เพราะภรรยาของเขาจะมาหาเรื่องและมาขู่จะฟ้องตลอดค่ะ  แต่สามีก็อยู่กับดิฉันหนูอยากถามค่ะ

    1.เขาจะฟ้องได้ไหมเพราะเขารู้มาตั้งแต่ต้น

    2.แล้วสามีหนูเขาอยากจะอย่าแต่อย่าไม่ได้เพราะ เขาจะฟ้องอาจทำให้สามีหถูกออกจากราชการ แล้วสามีหนูควรทำไงค่ะ

     3.เขามาขู่หนูที่บ้านพัก และยังไปรบกวนจิตใจแม่หนูที่บ้านของแม่หนูจะเอาผิดเขาได้ไหมค่ะ(เพราะแม่เป็นความดัน และโรคเครียดค่ะ)   หนูไม่อยากให้แม่ต้องมีเรื่องคิดมาก  รวมถึงตัวหนูเอง 

ช่วยหนูด้วยค่ะหนูควรทำไงค่ะ ช่วยแนะนำที ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ภควดี วันที่ตอบ 2010-08-23 18:44:08 IP : 110.49.69.106


ความคิดเห็นที่ 4 (3761267)

มีเรื่องจะปรึกษาค่ะ สามีไม่ได้จดทะเบียนหย่ากับภรรยา แต่เขาแยกกันอยู่สามปีแล้ว แต่อาจจะไปมาหาสู่กันเพราะไปหาบุตร บุตรคนแรกผู้ชายอายุ 19 ปี คนที่สองผู้หญิงอายุ 18 ปีมีครอบครัวแล้วและมีบุตร 1 คน เมื่อต้นปี 55 นัดไปหย่าที่เขตบางบอน แต่ฝ่ายชายไปไม่ทันติดงาน และดิฉันก็อยู่กับผู้ชายตั้งแต่ต้นปี 2555 ผู้ชายมีปัญหากับภรรยาเก่าก่อนหน้าที่จะมาเจอดิฉัน และเมื่อเดือนกันยายน 2556 ภรรยาเขาเข้ามา และไม่ยอมหย่ากับสามีของดิฉัน (ตอนนี้เขาไม่ได้อยู่ด้วยกัน ภรรยาเก่าเขาเป็น โรค SLE และไล่สามีดิฉันให้ไปมีภรรยาใหม่ เขาไม่เอาแล้ว) ตั้งแต่ปี 2555 ดิฉันกับสามีของดิฉันมีธุรกิจ แต่ภรรยาเก่าอยากได้สมบัติ ดิฉันและสามีก็ให้ แต่เขาไม่ยอมหย่า แต่จะไม่ยุ่งเกี่ยว แต่เราสองคนไม่ยอม เพราะจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องทรัพย์สิน เพราะอนาคตอยากทำอะไรร่วมกัน ภรรยาเก่าก็จะมาเอาเพราะถือว่ามีทะเบียนสมรส ดิฉันและสามีดิฉันจะทำยังไงดีค่ะ หากสามีจะฟ้องหย่าจะได้ไหมค่ะ กรุณาตอบทางอีเมลล์นะค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณิชาภา พงษ์สมโภช วันที่ตอบ 2015-01-19 09:24:31 IP : 203.157.30.7


ความคิดเห็นที่ 5 (4116287)

 ขอถามค่ะ

1.สามีแยกกันอยู่กับภรรยา มาสี่ปีเพราะภรรยาไล่ออกจากบ้านและไม่ต้องการเอาสามีคืนแต่ไม่ยอมหย่าต้องทำยังไงค่ะ

2.แม่ของสามีมองว่าลูกแยกทางกับภรรยานานแล้วอยากให้ลูกมีครอบครัวใหม่แต่ภรรยาเก่าไม่ยอมหย่าขอค่าเลี้ยงดูบุตร 5แสน ทั้งที่สามีเงินเดือนหลักพัน พอมีทางออกไหมค่ะ

3.ในกรณีที่เข้าแยกกันอยู่นานแล้วจะได้ชื่อว่าชู้ไหมค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น น้อง วันที่ตอบ 2017-01-14 21:49:57 IP : 223.205.251.121


ความคิดเห็นที่ 6 (4151695)

 สอบถามค่ะ สามีต้องการฟ้องหย่า แต่ดิฉันยังไม่พร้อม ด้วยหลายเหตุผลค่ะ มีลูกด้วยกัน3คนค่ะ ลูกอยู่กับดิฉันทั้งหมดค่ะ แยกกันอยู่หลายปี เพราะสามี มีเมียน้อย หลายคนค่ะ เมียน้อยคนแรกสามี มีลูกกับเค้า 1 เลิกกับเมียน้อยคนนี้ สามีไปมีเมียใหม่ มีลูกด้วยกันอีก1คน ทีนี่เค้าต้องการหย่าจากดิฉันค่ะ สามีรับราชการ ถ้าดิฉันไมาพร้อมหย่า จะต้องทำยังคะ ถ้าเค้าฟ้องค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น sangsom _252@hotmail.com วันที่ตอบ 2017-03-09 12:49:27 IP : 1.1.233.116


ความคิดเห็นที่ 7 (4174339)

 สอบถามคะ 

1.สามีไทยได้ตกลงเลิกกับภรรยาพม่าด้วยเหตุผลต่างๆ(มีหลักฐานการคุยทางไลน์) และบอกภรรยาพม่าว่าอีกอย่างมีแฟนใหม่แล้ว 

สามีทำงานอยู่เกาหลี ภรรยาพม่าทำงานในไทย (ดิฉันอยู่กับฝ่ายชายที่เกาหลีโดยไม่ทราบว่ามีภรรยามาก่อน จนมาได้ทราบภายหลังและไม่ได้ไปรบกวนหรืยุ่งเกี่ยวกับถรรยาพม่าแต่อย่างใด)

2.ภรรยาพม่ารับทราบเรื่องสามีอยู่กินกับดิฉันแล้ว เรา3คนได้พบเจอคุยกัน(มีหลักฐานเป็นรูปภาพและคุยกันทางไลน์)

3.สามีไทยกับภรรยาพม่าได้ตกลงกันคือให้ดิฉันอยู่กินกันแต่เขาขอถือทะเบียนไว้ก่อนเพื่อทำมาหากินในไทย 

4.แต่ในขณะที่ฉันไม่ได้อยู่บ้านกับสามี ภรรยาพม่าได้เดินทางมาที่บ้านฝ่ายชายโดยบอกเหตุผลว่า มาเที่ยว ( ตอนนี้เป็นครั้งที่3และเขาจะมาตอนที่ดิฉันไม่อยู่) และภรรยาพม่าได้ว่ากล่าวว่าดิฉันทางไลน์และเฟสบุ๊คด้วยถ้อยคำไม่สุภาพ

5.หากภายหน้าดิฉันมีลูกมีสินทรัพย์กับสามีแล้วภรรยาพม่าไม่ยอมหย่า หรือเขาอาจฟ้องหย่าเพื่อเอาทรัพย์สินได้หรือไม่

6.ดิฉันจะต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อรักษาสิทธิ์ของตัวเองได้บ้างคะ ติดต่อกลับทางเมล์ได้ค่ะหากมีค่าใช้จ่ายในการแนะนำ telecom1253@gmail.com

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ภูษณิศา วันที่ตอบ 2017-04-14 17:42:54 IP : 106.73.203.224


ความคิดเห็นที่ 8 (4211848)

 สอบถามค่ะ

ถ้าฟ้องหย่าแต่อีกฝ่ายไม่ยอมหย่า  เราต้องทำอย่างไร

แล้วจะมีผลอะรัยไหมค่ะ  หรือต้องรอจนอีกฝ่ายจะยอมหย่า

ขอคำตอบด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น วรรณภา วันที่ตอบ 2017-09-11 15:31:42 IP : 49.48.250.134



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.