ReadyPlanet.com


มรดกที่ดิน


มีปัญาหาจะเรียนปรึกษาค่ะ

           มีที่ดินอยู่ผืนหนึ่ง  มีชื่อนายเอ  และนายบี  อยู่ในโฉนดที่ดินดังกล่าว  และ 2 คนนี้ เป็นพี่น้องกัน  ซึ่งที่ดินผืนนี้เป็นมรดกที่พ่อได้ยกให้ทั้งสองคน    และนายเอ (ผู้เป็นพี่)  ได้ตกลงกันด้วยวาจา ว่าถ้าจ่ายเงินค่าที่ให้แล้วจะไม่มายุ่งเกี่ยวกับที่ดินผืนนี้อีก  นายบี (ผู้เป็นน้อง)  รับปากตกลง และได้รับเงินจากนายเอ  ไปแล้ว   จำนวนเกือบหนึ่งแสนบาท    แต่ในขณะที่ตกลงกันนั้น นายเอ ไม่ได้ไปขอให้พนักงานที่ดินคัดชื่อนายบี   ออกจากโฉนดดังกล่าว   ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว     ดังนั้น  ณ  ปัจจุบันนี้  จึงยังคงมีชื่อนายบี  เป็นเจ้าของโฉนดผืนนี้อยู่

    ปัญหาคือ  ขณะนี้นายบี  อยากได้ที่ดินดังกล่าว  และอ้างว่าตนยังมีชื่อในโฉนดอยู่ ย่อมมีสิทธิในที่ดินดังกล่าว  และอยากจะเข้ามาครอบครองที่ดินด้วย  (ปัจจุบัน นายเอ  เป็นผู้ครอบครองที่ดิน) แต่หากนายเอ  จะไปขอให้คัดชื่อนายบี ออกจากโฉนด   จะต้องจ่ายเงิน  300,000  บาท  ให้กับนายบี   ถ้าไม่ได้เงินตามจำนวนนี้  นายบีก็จะไม่ยอมให้คัดชื่อออก

                 จึงเรียนถามว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไรดี  ที่จะให้นายบี   ยอมให้คัดชื่อออกจากโฉนดที่ดินดังกล่าวด้วยความยินยอม  และจ่ายเงินให้นายบี น้อยที่สุด   

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ  



ผู้ตั้งกระทู้ เดียร์ (ladland2015-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-13 11:29:51 IP : 172.16.14.111


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3250778)

ผมว่าประเด็นนี้น่าจะจบได้ด้วยการตกลงกันเท่านั้นนะครับ เพราะการให้เงิน 1 แสนในครั้งนั้นมันเป็นเพียงการตกลงกันด้วยวาจาจึงไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นสัญญาที่จะขอสละที่ดินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของนาย เอ แต่เพียงผู้เดียวได้ เพราะมันจะดูเหมือนเป็นการให้โดยเสน่ห์หามากกว่า อันที่จริงก็น่าจะไปแจ้งกรมที่ดินเสียตั้งแต่วันนั้นไม่น่าจะปล่อยให้เวลาล่วงเลยมาถึง 10 ปี เข้าใจว่าเป็นพี่น้องกัน แต่ใจคนมันหยั่งยากครับยิ่งมีตัวเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้วอะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้เสมอ ส่วนถ้าจะไปฟ้องบังคับเรื่องสัญญาที่รับปากกันในวันนั้นผมว่ามันยากอยู่ครับ เพราะมันไม่มีอะไรที่เป็นหลักฐานให้ศาลเชื่อได้เลย นอกเสียจากจะไปเจรจาตกลงกันเท่านั้นว่าจะยอมให้นาย เอ ได้กรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวหรือไม่ ถ้าไม่ยอมที่ดินแปลงนี้ก็คงต้องเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมต่อไปครับ อันนี้เป็นมุมมองของผมนะลองฟังความเห็นจากคุณ คงคา อีกทีก็ได้ครับเผื่อท่านจะมีความเห็นที่ต่างไปจากผม

ผู้แสดงความคิดเห็น pup วันที่ตอบ 2011-07-13 13:48:48 IP : 58.9.251.65


ความคิดเห็นที่ 2 (3250784)

คุณ pup  ว่าไว้ก็สมเหตุผล....  มุมมองของผมก็มีผลไม่แตกต่างกันนัก   การตกลงกันระหว่างมีพี่น้องว่าถ้าจ่ายเงินแสนแล้วจะมอบที่ดินให้   ก็ทำนองเป็นการซื้อขายที่ดิน   เมื่อไม่จดทะเบียนโอนที่สำนักงานที่ดิน  การซื้อขายเป็นโมฆะ  นาย เอ จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ซื้อ   แต่...การที่นาย เอ  ครอบครองที่ดินนาย บี ในฐานะเป็นเจ้าของ  เกินสิบปี  อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้  ต้องใช้สิทธิฟ้องร้องทางศาลเท่านั้น     อย่างไรก็ตามการใช้วิธีเจรจาให้  นาย  บีโอนให้ โดยการต่อรองจากสามแสนบาท  ลดราคาลงมาในราคาที่เหมาะสม  ถ้าตกลงกันได้จะดีกว่าฟ้องร้องกันในศาลครับ......กฎหมายที่เกี่ยวข้อง    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.....

มาตรา ๔๕๖ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ

 

มาตรา ๑๓๘๒ บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คงคา วันที่ตอบ 2011-07-13 14:57:07 IP : 180.180.29.107


ความคิดเห็นที่ 3 (3250847)

ขอบคุณค่ะ

            งั้นสรุปว่าเจรจาดีที่สุด  ถ้าฟ้องศาลต้องเสียตังเยอะเหมือนกันใช่ไหมค่ะ 

ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เดียร์ (ladland2015-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-07-14 14:54:43 IP : 172.16.14.111



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.