ReadyPlanet.com


ความหมายของคำว่า เจ้าพนักงาน


ขอเรียนถามค่ะ 

                       ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 136-146  คำว่า เจ้าหนักงาน  หมายความว่าอย่างไร  และหมายถึงผู้ใดบ้าง 

ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ deer (ladland2015-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2012-09-17 12:49:50 IP : 172.16.14.135


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3298767)

      เจ้าพนักงาน   ตามหมายตามพจนานุกรม   ฉบับราชบัณฑิตยสถาน   พ.ศ.  2542    หน้า  324  ให้ความหมายไว้ว่า    หมายถึง บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ   ไม่ว่าเป็นประจำหรือชั่วคราว  และหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทำหน้าที่ช่วยราชการ  ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะกรณีด้วย……แม้ตามพจนานุกรม  จะให้ความหมายไว้ค่อนข้างชัดเจน    แต่ การจะสรุปว่า เป็นเจ้าพนักงานหรือไม่   ค่อนข้างมีปัญหาในทางปฏิบัติพอสมควร  ส่วนใหญ่  ฝ่ายปกครอง  ตั้งแต่ ผู้ใหญ่บ้าน   กำนัน  ปลัด  นายอำเภอ  ผู้ว่าฯ  รวมทั้ง ตำรวจมักถือว่าเป็นเจ้าพนักงาน.....การแต่งตั้งคณะกรรมการในการเลือกตั้งในระดับต่างๆ   ในคำสั่งมักระบุไว้ชัดเจน  ให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น  ถ้ามีปัญหาโต้แย้ง ว่า เป็นเจ้าพนักงานหรือไม่   ก็ต้องให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยครับ......แนวคำพิพากษาศาลฎีกา เทียบเคียง

 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  700/2490
 
 
อัยการนครปฐม              โจทก์
 
 
นางเฮียะ แซ่โง้ว     จำเลย
 
 
กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 125 
 
ป.วิ.อ. มาตรา 161
 
          คำว่าเจ้าพนักงานตามความหมายของกฎหมายลักษณะอาญานั้นย่อมมีความหมายถึงผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทยให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทยเท่านั้น
          เมื่อฟ้องโจทก์กับคำแถลงประกอบไม่ได้ความว่า ผู้รับมอบเงินมีตำแหน่งหน้าที่เป็นพนักงานตามกฎหมาย ศาลชอบที่จะไม่ประทับฟ้องเสียได้
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานให้สินบนเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา มาตรา 125 โดยกล่าวว่าจำเลยได้มอบเงินจำนวนหนึ่ง อันเป็นทรัพย์ที่มิใช่เป็นของที่ต้องให้ตามกฎหมายให้แก่ร้อยตรี เอม เอ คานเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดซื้ออาหารในราคาถูกให้แก่ทหารสัมพันธมิตร เพื่อจูงใจให้ร้อยตรี เอม เอ คาน สั่งซื้ออาหารของจำเลยในราคาแพง และไม่สั่งซื้อในราคาถูก
          ศาลชั้นต้นเห็นว่า ร้อยตรี เอม เอ คาน ไม่ใช่เจ้าพนักงานตามความหมายในกฎหมายอาญา จึงไม่ประทับฟ้องไว้พิจารณา
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          โจทก์ฎีกาว่า คำว่า เจ้าพนักงานไม่ควรมุ่งหมายเฉพาะผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยรัฐบาลไทยเท่านั้น ควรคำนึงถึงผลเสียหายที่จะตกแก่ประเทศด้วย
          ศาลฎีกาเห็นว่า คำว่าเจ้าพนักงานตามความหมายของกฎหมายลักษณะอาญานั้น ย่อมมีความหมายถึงผู้ที่ได้รับแต่งตั้งโดยทางการของรัฐไทย ให้ปฏิบัติราชการของรัฐไทยเท่านั้นเมื่อไม่ได้ความว่าผู้รับมอบเงินมีตำแหน่งหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย การกระทำที่กล่าวหาก็ไม่เป็นความผิด จึงพิพากษายกฟ้องยืนตามศาลล่าง
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-09-17 17:00:58 IP : 101.51.160.163



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.