ReadyPlanet.com


พ่อและแม่จะร่วมทำพินัยกรรมฉบับเดียวกัน


กรณีพ่อแม่จะทำพินัยกรรมยกให้ลูก โดยระบุสาระสำคัญตามพินัยกรรมทั่วไป

แต่พ่อแม่ต้องการเขียน(พิมพ์)พินัยกรรมอยู่ในฉบับเดียวกัน

อยากเรียนถามท่านว่า

ข้อ 1 เปลี่ยนจากคำว่า"ข้าพเจ้า"มาเป็น"ข้าพเจ้าทั้งสองคน" ถูกต้องหรือไม่ครับ

ข้อ 2 เวลาลงชื่อท้ายสุดเขียนว่าดังนี้(ถูกต้องหรือไม่ครับ)

ลงชื่อ........................ผู้ทำพินัยกรรม(บิดา)

ลงชื่อ........................ผู้ทำพินัยกรรม(มารดา)

ลงชื่อ........................พยาน

ลงชื่อ........................พยาน

ข้อ 3 ลูกพี่สาวไม่มีชื่อระบุในพินัยกรรมจะมาเป็นพยานได้หรือไม่ครับ

 

ขอบคุณมากครับ



ผู้ตั้งกระทู้ สมศักดิ์ :: วันที่ลงประกาศ 2012-09-06 15:41:40 IP : 101.109.177.8


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3298194)

 

 

ข้อ 1 เปลี่ยนจากคำว่า"ข้าพเจ้า"มาเป็น"ข้าพเจ้าทั้งสองคน" ถูกต้องหรือไม่ครับ
 
 
ตอบ...ใช้ว่า  ข้าพเจ้านาย....และนาง.....น่าจะดีกว่าครับ
 
ข้อ 2 เวลาลงชื่อท้ายสุดเขียนว่าดังนี้(ถูกต้องหรือไม่ครับ)
 
ลงชื่อ........................ผู้ทำพินัยกรรม(บิดา)
 
ลงชื่อ........................ผู้ทำพินัยกรรม(มารดา)
 
ลงชื่อ........................พยาน
 
ลงชื่อ........................พยาน
 
 
ตอบ.....ถูกต้อง....เรื่องพยานรับรองสองคน  ต้องเคร่งครัด  คือต้องรับรองในขณะนั้น   ถ้ามารับรองภายหลัง พินัยกรรมคงเป็นโมฆะ   กรณีนี้มีคดีขึ้นสู่ศาลมากพอสมควร....ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ยกมาข้างล่างครับ
 
ข้อ 3 ลูกพี่สาวไม่มีชื่อระบุในพินัยกรรมจะมาเป็นพยานได้หรือไม่ครับ
 
 
ตอบ...ถ้าไม่มีส่วนได้เสีย   คือไม่ได้มรดกตามพินัยกรรม และบรรลุนิติภาวะแล้ว  ก็เป็นพยานได้ครับ....กรณีใช้แบบพิมพ์  ควรระบุชื่อผู้พิมพ์ด้วยเพื่อป้องการโต้แย้งในภายหลัง  แม้ศาลฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยว่า   การไม่ระบุชื่อผู้พิมพ์    พินัยกรรมไม่เป็นโมฆะ  แต่..ถ้ามีการโต้แย้ง ก็ย่อมยุ่งยากครับ
 

 

 

  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2102/2551

 
     จำเลยกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรส จึงไม่ต้องพิจารณาว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ คงต้องพิจารณาเฉพาะเรื่องกรรมสิทธิ์รวมว่าเป็นทรัพย์สินที่ซื้อหามาด้วยเงินที่ร่วมกันทำมาหาได้หรือไม่ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ผู้ตายได้รับมาโดยการรับมรดกและโดยการให้โดยเสน่หา ย่อมไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของผู้ตายเพียงผู้เดียว
พินัยกรรมที่ผู้ตายทำขึ้นโดยใช้พิมพ์ดีดทั้งฉบับ ย่อมไม่ใช่พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1657 คงเป็นแต่พินัยกรรมแบบธรรมดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 ที่ต้องมีพยานรู้เห็นซึ่งมาตรา 1656 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน การที่พยานในพินัยกรรมพิพาทลงลายมือชื่อเป็นพยานภายหลังจึงขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าวพินัยกรรมพิพาทย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-09-07 12:20:11 IP : 101.51.177.160



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.