ReadyPlanet.com


ที่ดินมรดก กับการครอบครองปรปักษ์


 

คุณพ่อผมอาศัยอยู่กับคุณปู่  ต่อมาเมื่อคุณปู่เสียชีวิตแล้ว  ที่ดินมรดกจากปู่แปลงนี้  ถูกแบ่งเป็น 4 แปลง  

แปลงที่ 1 คือแปลงที่เป็นบ้านที่คุณพ่อผมอาศัยอยู่กับคุณปู่  เป็นของคุณพ่อผม

แปลงที่  2 เป็นของคุณป้าคนโต  ซึ่งคุณป้าคนโต  ขายโอนต่อให้คุณพ่อผมแล้วเมื่อประมาณ 5-6 ปีมาแล้ว

แปลงที่ 3 เป็นของคุณป้าคนที่สอง ซึ่งคุณป้าคนที่สองเสีย ลูกของป้าคนนี้จึงถือกรรมสิทธิ์ครอบครองต่อมา

แปลงที่ 4 เป็นของคุณอา

โดยที่ดินทั้ง 4 แปลงนั้น   เดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน  คุณพ่อผมล้อมรั้วครอบคลุมทั้ง 4 แปลง มา 30-40 ปีแล้ว คนภายนอกมองไม่รู้มักจะนึกว่า ที่ดินทั้งหมดเป็นของคุณพ่อผมคนเดียว  แต่จริง ๆ ที่ดินตรงนี้แบ่งเป็น 4 แปลง

 

ปัญหาที่เกิดขณะนี้คือ  ที่ดินแปลงที่  3  ลูกของป้า  ได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กับ นาย ก  ซึ่งคนต่างท้องที่ไปเมื่อเดือนธันวาคม  (คือถ้าขายให้คนในท้องที่  คงไม่มีใครซื้อ  เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่าที่แปลงดังกล่าวมีการครอบครองโดยคุณพ่อผม)

กระบวนการซื้อขายระหว่างนาย ก  กับลูกของป้าผมนั้นเป็นอย่างไรผมไม่ทราบ  และไม่รู้ว่า  นาย ก  ได้มาดูที่ดินแปลงดังกล่าวด้วยตัวเองหรือไม่  ถ้ามาดู  เขาย่อมมองออกว่า  ที่ดินแปลงดังกล่าวถูกล้อมรั้วรอบขอบชิด  มีการครอบครอง  และควรที่จะมีการสอบถามบ้านใกล้เรือนเคียงว่า ที่ดินแปลงดังกล่าว มีการครอบครองอย่างไร

 

ต่อมา   ผู้ซื้อแจ้งขอรังวัดที่ดิน   ทางสำนักงานที่ดินมีหนังสือแจ้งมาที่คุณพ่อผม

ผมติดต่อไปยัง นาย ก  ผู้ซื้อที่ดินแปลงนี้  เพื่อขอเจรจาซื้อคืน  แต่เขาบ่ายเบี่ยงไม่ยอมขาย

 

ผมอยากเรียนถามดังนี้

1.)  ในวันที่รังวัดที่ดิน   คุณพ่อผมสามารถไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ และ นาย ก  เข้าตรวจสอบรังวัดที่ดินจะได้หรือไม่

2.) หากเจ้่าหน้าที่ที่ดิน และนาย ก ขัดขืนพยายามจะเข้ารังวัด  คุณพ่อผม  จะแจ้งความฐานบุรุกได้หรือไม่   เพราะที่ดินทั้ง 4 แปลงดังกล่าวมีรั้วรอบขอบชิด  จะเข้าออก  ต้องเข้าทางบ้่านคุณพ่อผมเท่านั้น

4.) หากนาย ก ฟ้องร้องดำเนินคดีกับคุณพ่อผม เพื่อขอเข้ารังวัดที่ดิน  คุณพ่อผมจะมีความผิดอย่างไรไหมครับ ?

5.) หรือ  หากคุณพ่อผมไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่ดินออกโฉนดให้คุณพ่อผมโดยอาศัยการครอบครองปรปักษ์ที่ดินแปลงดังกล่าว  เพราะโดยข้อเท็จจริง  คุณพ่อผมล้อมรั้วที่ดินทั้ง 4 แปลงมานาน 30-40 ปีแล้ว  ใคร ๆ ก็คิดว่า เป็นที่ดินของคุณพ่อผม  การครอบครองปรปักษ์ เฉพาะแปลงที่ 3 แปลงเดียว  โดยละเว้นแปลงที่ 4 ของคุณอาผมนั้น  สามารถทำได้หรือไม่   และมีขั้นตอนยุ่งยากหรือไม่

6.)  ประเด็นกรณีปัญหาทั้งหมด  จะไม่พยายามก่อคดีความ  เพียงแต่อยากขอซื้อที่ดินแปลงที่ 3 คืน   หาก นาย ก เขาไม่ขายให้  ผมและคุณพ่อ จะสามารถกระทำการต่าง ๆ ข้างต้นได้หรือไม่อย่างไร

 

ขอคำแนะนำท่านผู้รู้ทางกฎหมายด้วยครับ

 

ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ชาญวิทย์ :: วันที่ลงประกาศ 2012-01-18 05:31:40 IP : 125.27.206.177


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3273696)

1.ในเมื่อลูกของป้า มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน    เขาย่อมมีสิทธิมารังวัดเพื่อสอบแนวเขตได้

2.ที่ดินเป็นของเขา   แจ้งข้อหาบุกรุกไม่ได้  การที่พ่อครอบครองที่ดินผู้อื่นเกินสิบปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ โดยการครอบครองปรปักษ์   แต่ในเมื่อไม่ร้องศาลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเป็นชื่อของพ่อในโฉนดที่ดิน ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกที่ สุจริต และเสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโอนแล้วไม่ได้  ตาม ปพพ. 1299 วรรคสอง และแนวคำพิพากษษศาลฎีกาเทียบเคียงที่ยกมาข้างล่าง  สรุปคืออำนาจการครอบครองปรปักษ์ของคุณพ่อของคุณ ย่อมถูกตัดตอนลงเมื่อ เจ้าของจดทะเบียนโอนให้ ก. ครับ

3.  ถ้าขัดขวางการรังวัด   อาจถูกฟ้องฐานละเมิดได้ครับ  ขอแนะนำว่าอย่าไปขัดขวางเขาเลย เพราะในทางกฎหมาย  ฝ่ายของคุณเสียเปรียบ  คือตอนแรกได้กรรมสิทธิ์ แต่ ไม่ขวนขวายให้ได้กรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์  โอกาสจึงหลุดลอยไปอย่างน่าเสียดายครับ

4. การครอบครองปรปักษ์  ของคุณพ่อ   อายุความถูกตัดตอนไปแล้ว  เมื่อมีการจดทะเบียนโอน ให้ ก.  พ่อจึงร้องศาลในฐานะผู้ครอบครองปรปักษ์ไม่ไำด้ครับ

5. ก็ใช้วิธีเจรจาขอวื้อที่ดินคืน คือทางออกที่ดีที่สุดครับ

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง     ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

มาตรา 1299 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือ กฎหมายอื่น ท่านว่าการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอัน เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและ ได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่
(วรรคสอง)ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้น ถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียน นั้น มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและ โดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087 - 1090/2501

 

ผู้รับโอนที่ดินมีโฉนดไว้โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้ที่ครอบครองที่ดินนั้นมาโดยปรปักษ์กว่า 10 ปี ถ้ามีผู้รับโอนทางทะเบียนต่อมาเป็นทอดๆ อีกไม่ถึง 10 ปีนับแต่วันโอนครั้งแรก ผู้รับโอนต่อๆ มานี้จะรู้หรือไม่รู้ถึงการครอบครองโดยปรปักษ์ ก็มีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครอง (อ้างฎีกาที่ 1015/2485)

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-01-18 06:54:12 IP : 125.26.111.170


ความคิดเห็นที่ 2 (3273697)

 หรืออีกแนวทงหนึ่ง   ให้พ่อร้องคัดค้านต่อศาลในฐานะผู้ครอบครองปรปักษ์  โดยอ้างว่า ก.  ผู้ซื้อไม่สุจริต  บางทีในการไกล่เกลี่ยประนีประนอม  อาจมีการเจรจาขอซื้อที่ดินได้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-01-18 06:58:51 IP : 125.26.111.170


ความคิดเห็นที่ 3 (3273705)

 

ขอบคุณมาก ๆ ครับที่ให้คำแนะนำดี ๆ

 

กรณีปัญหานี้ ไม่ใช่ว่าเราประสงค์จะเอาที่ดินเขาด้วยการครอบครองปรปักษ์หรอกครับ

 

เพียงแต่เกิดเหตุขัดข้องในการสื่อสารเจรจากัน  เพราะก่อนที่หลานคุณพ่อผมเขาจะขายให้นาย ก นั้น   เขามาบอกขายใ้ห้คุณพ่อผมแล้ว  แต่คุณพ่อผมก็ท้วงไปว่า  สมบัติมรดกของพ่อแม่ปู่ย่าตายายจะขายไปทำไม  และอีกอย่างหนึ่งก็คือ เขาโก่งเอาราคาสูงเกินความเป็นจริง  ครั้นเมือไปตกลงขายให้ นาย  ก  เขากลับตกลงในราคาที่ถูกกว่าที่เสนอขายให้คุณพ่อผมมาก    ถ้าเขาบอกขายให้คุณพ่อผมในราคาที่ขายให้นาย  ก  คุณพ่อผมก็รับได้  แต่เขาไม่ติดต่อกลับมา ไม่แจ้งความคืบหน้าใด ๆ คุณพ่อผมก็คิดว่า เขาคงไม่ขาย เพราะหายเงียบไปเลย   สุดท้ายที่ดินก็เลยตกไปเป็นของคนอื่น

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ชาญวิทย์ วันที่ตอบ 2012-01-18 08:38:39 IP : 125.27.199.51


ความคิดเห็นที่ 4 (4031528)

 ที่ดินมรดกเป็นชื่อของน้องพ่อแต่พ่อทำนาเลี้ยงพ่อแม่พี่น้องมา30กว่าปีแล้ว เคยบอกว่าจะแบ่งที่ส่วนหนึ่งให้พ่อ แต่แล้ว วันนี้น้องพ่อจะขายที่นาทั้งหมดโดยไม่แบ่งให้พ่อเลย  อทางเราถามว่าไหนบอกว่าจะแบ่งที่นาให้เขากับบอกว่านั้นเคยพูดมานานเเล้วไม่มีปีะโยชน์เพราะว่าที่นาเป็นชื่อเขา แต่เขาไม่เคยมาดูแลเป็นเวลา30กว่าปีแล้วค่ะ อยากถามว่าเราสามารถเรียกร้องสิทธิครองที่ดินได้ไหมค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น กชพร วันที่ตอบ 2016-06-17 11:11:40 IP : 49.237.157.194



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.