ReadyPlanet.com


คุณสมบัติสอบผู้ช่วยฯ


เคยเสพกัญชาเมื่อตอนอายุ 18 ปี (2542) ไม่เคยถูกจับกุมดำเนินคดี จะถือว่าขาดคุณสมบัติในการสอบผู้ช่วยหรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ 123 (aa--at-hot-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2012-11-16 13:36:21 IP : 125.26.134.217


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3303218)

 ไม่บอกรายละเอียดว่า ผู้ช่วยอะไร  ก็จึงคาดคะเนว่าน่าจะเป็น  อัยการผู้ช่วย  หรือผู้ช่วยผู้พิพากษา   ถ้าเป็นไปตามที่คาดไว้  ในเมื่อคุณศึกษาจนจบการศึกษา  ชั้น เนติบัณฑิต  หรือระดับปริญญาโท   ปัญหาแค่นี้  ก็สามารถค้นหาได้เองในกูเกิ้ลครับ.......และเรื่องนี้  ท่านปมุข ก็เคยตอบมาแล้ว  ไหนๆก็ถามแล้วจึงคัดลอกมาให้อ่าน   ซึ่งคุณคงไม่ขาดคุณสมบัติครับ....

 

 

คุณสมบัติของผู้สอบผู้ช่วยผู้พิพากษา
 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือก
 
 
ต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกพิเศษ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
3. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
4. เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตสภา
5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
6. ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว 
7. ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น 
8. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
9. ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
10. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการหรือ เป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบ ก.ต. และ
11. เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดยคณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.ต. กำหนด และ ก.ต. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการแพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้
หลักฐานในการสมัครสอบ
1. ภาพถ่ายปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต (แสดงต้นฉบับด้วย)
2. ภาพถ่ายประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมาย ฯ (แสดงต้นฉบับด้วย)
3. สำเนาทะเบียบบ้าน หรือ บัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารทั้งสองหน้าในแผ่นเดียวกัน)(แสดงต้นฉบับด้วย)
4. หนังสือรับรองการประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย (กรณีเป็นทนายความ ให้นำหนังสือรับรองการเป็นทนายความจากสภาทนายความมายื่นด้วย)
5. ใบรับรองสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน)
6. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 4 รูป (เขียนชื่อ-สกุลด้านหลัง)
7. เงินค่าธรรมเนียมการสอบ 100 บาท
8. เงินค่าตรวจร่างกาย 600 บาท (จ่ายวันไปตรวจร่างกาย)
กรณีเคยสมัครแล้วและมีสิทธิสอบใช้หลักฐานเฉพาะใบสมัครและข้อ 5, 6, 7 และ 8
การสอบคัดเลือก มีการสอบข้อเขียน 3 วัน
วันที่หนึ่ง สอบวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา จำนวน 10 ข้อ เวลา 4 ชม. คะแนนเต็ม 100 คะแนน
วันที่สอง สอบวิชากฎหมายลักษณะพยาน จำนวน 3 ข้อ วิชากฎหมายพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรมกับกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวง จำนวน 1 ข้อ และให้เลือกสอบในลักษณะวิชา กฎหมายล้มละลาย กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว กฎหมายปกครอง กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา หรือกฎหมายการค้าระหว่างประเทศวิชาใดวิชาหนึ่ง จำนวน 2 ข้อ รวมจำนวนข้อสอบทั้งหมด 6 ข้อ เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 60 คะแนน และวิชาภาษาอังกฤษ เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง คะแนนเต็ม 10 คะแนน สำหรับลักษณะวิชาที่ให้เลือกสอบ ผู้สมัครต้องแสดงความจำนงว่าจะสอบลักษณะ วิชาใดในวันสมัครสอบ
วันที่สาม สอบวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำนวน10 ข้อ เวลา 4 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 100 คะแนน 
การสอบปากเปล่า เนื้อหาครอบคลุมลักษณะวิชาที่สอบข้อเขียน ตามแต่คณะ อนุกรรมการสอบฯจะเห็นสมควรกำหนดเวลาประมาณคนละ 15 นาที คะแนนเต็ม 100 คะแนน
เกณฑ์ที่จะได้บรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ
ผู้สมัครต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนสอบข้อเขียนทั้งหมด จึงมีสิทธิเข้าสอบปากเปล่าและต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนกับสอบปากเปล่ารวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของคะแนน ทั้งสองอย่างรวมกัน
 
 
 
......คุณสมบัติผู้สอบ  อัยการผู้ช่วย....
 มาตรา ๓๓ ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วย ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
        (๑)    (ก) สอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตรบัณฑิต หรือนิติศาสตรบัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่ง ก.อ. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
                (ข) สอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และ
                (ค) ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมความประพฤติ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ หรือทนายความ หรือได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่ ก.อ. กำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และให้ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพนั้นๆ ด้วย
        (๒) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
        (๓) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี
        (๔) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
        (๕) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา
        (๖) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
        (๗) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
        (๘) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการหรือตามกฎหมายอื่น
        (๙) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
        (๑๐) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
        (๑๑) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง และ
        (๑๒) เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่ง ก.อ. จะได้กำหนดให้ตรวจร่างกายและจิตใจแล้ว และ ก.อ.ได้พิจารณารายงานของแพทย์เห็นว่าสมควรรับสมัครได้
        ให้ ก.อ. มีอำนาจวางระเบียบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสอบคัดเลือกก่อนที่จะรับสมัครได้
        มาตรา ๓๔ ให้ ก.อ. มีอำนาจกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกตามมาตรา ๓๓ ตลอดจนวางเงื่อนไขในการรับสมัคร
        เมื่อสมควรจะมีการสอบคัดเลือกเมื่อใด ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอต่อ ก.อ. ให้ ก.อ.จัดให้มีการสอบคัดเลือก เมื่อได้มีการสอบใหม่ และได้ประกาศผลของการสอบแล้วบัญชีสอบคัดเลือกคราวก่อนเป็นอันยกเลิก
        มาตรา ๓๕ ผู้สอบคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงให้ได้รับบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยก่อนผู้ที่ได้รับคะแนนต่ำลงมาตามลำดับแห่งบัญชีสอบคัดเลือก หากได้คะแนนเท่ากันให้ใช้วิธีจับสลากเพื่อจัดลำดับที่ระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น
        ผู้สอบคัดเลือกได้ผู้ใด หากขาดคุณสมบัติหรือลักษณะข้อใดข้อหนึ่งตามมาตรา ๓๓ หรือเป็นบุคคลที่ ก.อ.เห็นว่ามีชื่อเสียงหรือความประพฤติหรือเหตุอื่น ๆ ที่ไม่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการอัยการ ผู้นั้นเป็นอันหมดสิทธิเข้ารับราชการตามผลของการสอบคัดเลือกนั้น
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-11-16 15:30:13 IP : 101.51.187.126



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.