ReadyPlanet.com


นายจ้างย้ายบริษัท


เรียนท่านทนาย

 

ผมมีเรื่องอยากจะเรียนปรึกษาครับ เรื่องมีอยู่ว่า

ผมกับเพื่อนร่วมงานได้ทำงานอยู่บริษัทเอกชน แห่งหนึ่ง มาเป็นเวลาได้ 5 -6 ปี บริษัทมีสาขาอยู่ 4 สาขา

คือ 1. กรุงเทพ 2.อุดรธานี 3.ขอนแก่น 4.ชัยภูมิ ภายในปีนี้บริษัทจะปิดสาขาที่ 4 ไปรวมกับสาขาที่ 2 ซึ่งเป็นสาขาที่ปิดนั้นเป็นสาขาผมกับเพื่อนร่วมงานทำอยู่ปัจจุบันครับ โดยนายจ้างได้ประกาศการย้ายสถานประกอบการด้วยตนเองพร้อมทำเป็นหนังสือเรื่องการย้ายบริษัทปิดไว้ที่ทำการสาขาที่ 4 เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ

ผมกับเพื่อนร่วมงานมีข้อสงสัยเนื้อหาที่นายจ้างประกาศย้ายบริษัท โดยมีประเด็กหลักๆ ว่า

-การย้ายครั้งนี้พนักงานไม่สามารถเรียกร้องเงินชดเชยตามกฎหมายได้ ถ้าหากใครไม่มีความประสงค์จะย้ายไปทำงานสาขาที่ 2 ขอให้พนักงานลาออกจากการเป็นพนักงานของบริษัทภายใน 30 วัน นับจากวันที่บริษัทประกาศการย้าย

 

ผมกับเพื่อนร่วมงานประมาณ 150 คน สงสัยในข้อประเด็นข้างต้นว่า พนักงานไม่สามารถเรียกร้องเงินชดเชยตามที่นายจ้างประกาศไว้เลยหรือครับ เพราะการย้ายครั้งนี้ผมกับเพื่อนพนักงานไม่สามารถย้ายไปทำงานกับบริษัทได้จริง เพราะด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งดังนี้ครับ (บางกลุ่มมีทั้ง 2 หรือ 3 สาเหตุเลยครับ)

1.บางกลุ่มต้องเลี้ยงลูก+(ภรรยา หรือ สามี)

2.บางกลุ่มดูแลแม่ที่กำลังป่วย

3.บางกลุ่มต้องอยู่ดูแลบ้าน+ทรัพย์สิน

4.การเดินทางไปทำงานไกล จากที่อยู่อาศัยหลักครับ

 

จึงเรียนมาเพื่อขอคำปรึกษา และชี้แนะครับ

ขอบคุณมากครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ธนากร (kan_oasman-at-yahoo-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2013-01-19 11:59:45 IP : 183.88.100.59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3306488)

   เรื่องแบบนี้   พรบ.คุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  ได้มีทางออกไว้ให้แล้ว  ตาม มาตรา 120 คือ(สรุป)ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์ไปทำงาน  ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ภายใน 30 วัน  นับแต่นายจ้างแจ้งย้ายสถานประกอบการ   โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินชดเชยพิเศษ  ตาม ม.118(ไม่น้อยกว่า 50%ของค่าชดเชย  ถ้าทำงาน 6 ปี  ก็ต้องได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 120 วัน) ...ถ้านายจ้างฝ่าฝืน  จะมีโทษ ตาม ม.144  คือจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท....นายจ้างน่าจะไม่กล้าเสี่ยงทำผิดกฎหมาย  โดยไม่จ่ายเงินชดเชยพิเศษครับ

 

   มาตรา 120 ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ ไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตาม ปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วยให้ลูกจ้างมีสิทธิ บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่ น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ ตาม มาตรา 118
      ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถาน ประกอบกิจการล่วงหน้าตามวรรคหนึ่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย พิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย สามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ด้วย
       ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำขอให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน พิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบ กิจการว่า เป็นกรณีที่นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือลูกจ้าง มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตาม วรรคหนึ่งหรือไม่
       คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ในกรณีที่นายจ้างเป็น ฝ่ายดำเนินคดีไปสู่ศาลนายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างที่ยื่นคำขอตามวรรคสาม จึงจะฟ้องคดีได้
        การบอกเลิกสัญญาจ้างตาม มาตรา นี้ ลูกจ้างต้องใช้สิทธิภาย ในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ หรือ นับแต่วันที่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานหรือ คำพิพากษาของศาลเป็นที่สุด 
 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-01-20 15:56:16 IP : 101.51.178.255


ความคิดเห็นที่ 2 (3306521)

ขอบพระคุณท่านทนายเป็นอย่างสูงครับ ที่ช่วยให้คำปรึกษาและชี้แนะ ให้ความกระจ่างกับผม และเพื่อนร่วมงาน


ธนากร

ผู้แสดงความคิดเห็น ธนากร (kan_oasman-at-yahoo-dot-com)วันที่ตอบ 2013-01-21 09:48:25 IP : 183.88.100.59


ความคิดเห็นที่ 3 (3306547)

เรียนท่านทนาย

 

จากที่ได้รับคำปรึกษา และคำแนะนำจากท่าน ให้ไปปรึกษาพนักงานตรวจแรงงาน ณ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นั้น ทางกลุ่มตัวแทนพนักงานได้ไปยังสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิ เจ้าหน้าที่ แนะนำให้ กลุ่มตัวแทนพนักงานที่ไปสอบถาม-ปรึกษาว่า

  1. ให้พนักงานลาออกจากการเป็นพนักงานบริษัท ตามที่นายจ้างประกาศไว้ว่า ถ้าพนักงานย้ายไปทำงานกับบริษัทด้วยไม่ได้ให้ลาออกภายใน 30 วันเพราะเหตุผลตามข้อ 2 ด้านล่าง
  2. เจ้าหน้าที่บอกกับพนักงานว่า พนักงานทุกคนในบริษัทได้เซ็นยินยอมที่จะย้ายไปทำงานที่สาขาอุดรหมดทุกคนแล้ว แต่ความเป็นจริงตั้งแต่นายจ้างประกาศย้ายบริษัท พนักงานทุกคนยังไม่ได้เซ็นเอกสารใดๆ เลยทั้งสิ้นครับ

 

จึงเรียนมาปรึกษาอีกครั้งว่า ผมและเพื่อนร่วมงานจะทำอย่างไรดีต่อไปครับ เพราะการไปที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชัยภูมิ ครั้งนี้ ได้รับคำตอบเหมือนจะไม่มีประโยชน์ต่อพนักงานเสียเลย

 

จึงเรียนมาเพื่อขอบคำปรึกษา และชี้แนะต่อไปครับ

ขอบคุณมากครับ

ธนากร
ผู้แสดงความคิดเห็น ธนากร วันที่ตอบ 2013-01-21 14:03:35 IP : 183.88.101.37


ความคิดเห็นที่ 4 (3306593)

 ถ้ามั่นใจว่าไม่ได้ลงลายมืิอในหนังสือยินยอมจริง   แสดงว่านายจ้างปลอมแปลงเอกสาร   ก็แจ้งความดำเนินคดีได้....แต่ต้องมาทบทวนดูก่อนว่า  เคยไปลงลายมือชื่อในเอกสารใดๆโดยไม่เฉลียวใจหรือไม่  แต่อย่างไรก็ตาม  แม้ไปลงลายมือชื่อในเอกสารโดยสำคัญผิด  ก็ใช้บังคับไม่ได้    ถ้าเจรจาไม่เป็นผล   ก็ต้องฟ้องศาลแรงงาน....กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ  มักกระทำการแบบฝักใฝ่กับนายทุน  เป็นเรื่องไม่เหนือความคาดหมาย  เพราะข้าราชการส่วนใหญ่  ก็มักมองว่าคนทั่วไป  คือประชาชนชั้นสองมาแต่ไหนแต่ไร   ถ้าเป็นนายทุน  ก็จะยืนกุมเป้าเจรจาอย่างนอบน้อมครับ....

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-01-22 13:04:57 IP : 101.51.167.163



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.