ReadyPlanet.com


เรื่องทำร้ายร่างกาย


 

เรื่องหลานชายโดนตีนะค่ะ ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ประมาณบ่ายสามโมงหลานชายนั่งรอรถรับส่งนักเรียนในโรงเรียนและมีนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่ง(นักเรียนโรงเรียนเดียวกัน)เดินมาหาเรื่องหลานก็ไม่ได้เล่นด้วยแล้วเด็กกลุ่มนั้นก็เข้ามาทำร้ายหลานกับเพื่อนแต่หลานก็ได้เตะเขาไปครั้งหนึ่งจะอ้างป้องกันได้ไหมค่ะและหลานก็ได้รับบาดเจ็บด้วยอย่างนี้เป็นทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายร่างกายค่ะและได้แจ้งความที่โรงพักไว้แล้วตำรวจนัดไปโรงพักวันที่17นี้เราต้องทำอย่างไรบางค่ะถ้าจะเรียกค่าสินไหมทดแทนแล้วเราต้องเรียกค่าอะไรบ้างค่ะแต่ครูที่โรงเรียนพาหลานไปหาหมอแล้วบอกกับทางโรงบาลว่าล้มมาแล้วต้องทำอย่างไรบางค่ะเพราะเด็กบ้านนี้ทำร้ายหลนสองครั้งแรก ครั้งแรกไม่ได้เอาเรื่องเพราะคุยกันที่โรงเรียนกับครูฝ่ายปกครองเฉยๆแต่ครั้งนี้หลานบาดเจ็บไปโรงเรียนไม่ได้แต่ครูที่โรงเรียนอยากไห้คุยกันแค่ในโรงเรียนค่ะแต่ถ้าเราอยากเอาเรื่องเด็กที่มาทำร้ายให้ถึงที่สุดทั้งเรื่องอาญาและค่าสินไหมทดแทนต้องทำอย่างไรค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ กาญจนา (kanjana4552-at-hotmail-dot-co-dot-th) :: วันที่ลงประกาศ 2011-11-15 14:51:41 IP : 223.206.222.65


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3268863)

 

อาจเป็นการทะเลาะวิวาท....เรื่องป้องกันตัว    ก็อ้างได้   แต่ก็ต้องมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักพอสมควร   ถ้าพยานหลักฐานไม่เพียงพอ  อาจกลายเป็นเรื่องทำเลาะวิวาทได้   คดีทำร้ายร่างกายส่วนมากตำรวจก็ให้เจรจากัน   จะไม่ยอมความก็ได้   คือให้เรื่องไปจบที่ศาล  แต่ผู้กระทำความผิดมีอายุน้อย(น่าจะไม่เกิน 18ปี) ก็คงถูกลงโทษไม่มาก   หรืออาจไม่มีการลงโทษ  ตาม ประมวลกฎหมายอาญา  มาตรา 74-75  ค่าเสียหายทางแพ่ง  ก็คงเรียกได้ไม่มากมายอะไรนัก.ส่วนใหญ่จึงใช้การตกลงเจรจากัน..ตอบจากประสบการณ์ที่ผ่านมาครับ
มาตรา 74 เด็กอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
(2) ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนดซึ่งต้องไม่เกินสามปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควรซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละหนึ่งหมื่นบาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น
ถ้าเด็กนั้นอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และศาลเห็นว่าไม่สมควรจะเรียกบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาวางข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น ศาลจะเรียกตัวบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาสอบถามว่า จะยอมรับข้อกำหนดทำนองที่บัญญัติไว้สำหรับบิดา มารดา หรือผู้ปกครองดังกล่าวมาข้างต้นหรือไม่ก็ได้ ถ้าบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ยอมรับข้อกำหนดเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลมีคำสั่งมอบตัวเด็กให้แก่บุคคลนั้น ไปโดยวางข้อกำหนดดังกล่าว
(3) ในกรณีที่ศาลมอบตัวเด็กให้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่ตาม (2) ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้นเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 56 ด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ศาลแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอื่นใดเพื่อคุมความประพฤติเด็กนั้น
(4) ถ้าเด็กนั้นไม่มีบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ศาลเห็นว่าไม่สามารถดูแลเด็กนั้นได้ หรือถ้าเด็กอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นนอกจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และบุคคลนั้นไม่ยอมรับข้อกำหนดดังกล่าวใน (2) ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้อยู่กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควรเพื่อดูแลอบรม และสั่งสอนตามระยะเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม ในกรณีเช่นว่านี้ให้บุคคลหรือองค์การนั้นมีอำนาจเช่นผู้ปกครองเฉพาะเพื่อดูแล อบรม และสั่งสอน รวมตลอดถึงการกำหนดที่อยู่และการจัดให้เด็กมีงานทำตามสมควร หรือให้ดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นก็ได้ หรือ
(5) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็ก ตลอดระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่อย่าให้เกินกว่าที่เด็กนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปี"
คำสั่งของศาลดังกล่าวใน (2) (3) (4) และ (5) นั้น ถ้าใน ขณะใดภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ความปรากฏแก่ศาลโดย ศาลรู้เอง หรือตามคำเสนอของผู้มีส่วนได้เสีย พนักงานอัยการ หรือ บุคคลหรือองค์การที่ศาลมอบตัวเด็กเพื่อดูแล อบรมและสั่งสอนหรือ เจ้าพนักงานว่า พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปก็ให้ ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งนั้น หรือมีคำสั่งใหม่ตามอำนาจ ใน มาตรานี้
มาตรา 75 ผู้ใดอายุกว่าสิบห้าปีแต่ต่ำกว่าสิบแปดปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้น ในอันที่จะควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าไม่สมควรพิพากษาลงโทษก็ให้จัดการตาม มาตรา 74 หรือถ้าศาลเห็นว่าสมควรพิพากษาลงโทษ ก็ให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดลงกึ่งหนึ่ง
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2011-11-15 18:35:03 IP : 125.26.110.92



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.