ReadyPlanet.com


เปิดทางเดินเพื่อให้ผู้อื่นใช้เดินผ่านที่ดินของตัวเองเพื่อออกสู่ถนนใหญ่


เปิดทางเดินให้ผู้อื่นใช้เดินผ่านที่ดินตัวเองเพื่อออกสู่ถนนใหญ่โดยมีเรื่องฟ้องระบุความกว้างไว้ 2.70 เมตร ผู้เดินผ่านสามารถทำถนนคอนกรีตเดินได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ เปิดทางให้เดินผ่านที่ดินตัวเอง (sulak-dot-sook-dot-1234-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2013-05-06 12:14:32 IP : 192.168.177.108


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3310167)

 ก็อยู่ที่เจตนาของเจ้าของที่ดินเป็นหลักว่า   ให้ผู้อื่นผ่านที่ดิน  โดยสงวนสิทธิการเป็นเจ้าของ    หรืออุทิศให้เป็นทางสาธารณะ......ถ้าอนุญาตให้เพียงเดินผ่านที่ดิน  โดยสงวนสิทธิการเป็นเจ้าของ    จะสร้างทางคอนกรีตเจ้าของที่ดินต้องอนุญาตเท่านั้น   จึงจะสร้างได้    แต่ถ้ามอบให้เป็นทางสาธารณะ   สิทธิการเป็นเจ้าของย่อมหมดไป    ไม่สามารถเรียกคืนได้   แม้ยังไม่มีการจดทะเบียนการโอนให้เป็นที่สาธํารณะ  ก็เรียกร้องคืนไม่ได้  มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีนี้   วินิจฉัยไปในทำนองเดียวกัน  คือการมอบที่ดินให้เป็นที่สาธารณะ  ไม่ต้องจดทะเบียนโอน   เมื่อเป็นทางสาธารณะแล้ว    ก็ย่อมสร้างถนนคอนกรีตได้   เจ้าของที่ดินไม่สามารถหวงห้ามได้ ครับ

 
 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  3968/2541
 
นาย หลุย นะ วิจิตร     กับพวก  โจทก์
 
นาง จิต รา หนักแน่น                 จำเลย
 
ป.พ.พ. มาตรา 1304(2), 1305, 1374
ป.วิ.พ. มาตรา 142
 
          การสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ว่า จะเป็นการแสดงเจตนายกให้ด้วยวาจา ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันได้โดยทางนิติกรรม ช. เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนสามารถใช้ร่วมกันไปแล้วแม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินพิพาทจาก ช. เจ้าของเดิม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์และราษฎรคนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)ศาลจึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ ศาลจึงห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
 
________________________________
 
          โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินเนื้อที่ 1 งาน34 ตารางวา เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์ได้ดังเดิม กับห้ามจำเลยและบริวารเข้ามาเกี่ยวข้องหรือขัดขวางในการที่โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน
          จำเลยให้การต่อสู้คดีขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและห้ามมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ส่วนคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน
          จำเลยฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยเพียงข้อเดียวว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 1 งาน 34 ตารางวาเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกันหรือเป็นของจำเลยศาลฎีกาวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่านางชมได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนสามารถใช่ร่วมกันอันเป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแม้ว่าจะเป็นการแสดงเจตนายกให้ด้วยวาจา มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายและเมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วย่อมไม่สามารถโอนให้แก่กันโดยนิติกรรมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 ดังนั้น แม้จำเลยจะได้รับโอนที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และไม่มีสิทธิขัดขวางมิให้โจทก์ทั้งห้าและราษฎรคนอื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาท อย่างไรก็ตามเมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช่ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2)จึงไม่อาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปเกี่ยวข้องเสียทั้งหมดได้เพราะเป็นการขัดวัตถุประสงค์ของการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทนี้ จะห้ามได้เฉพาะกรณีที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่มิใช่เป็นไปเพื่อการใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น
          พิพากษาแก้เป็นว่า ห้ามมิให้จำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทเว้นแต่ที่เป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินตามวัตถุประสงค์ของสาธารณสมบัติของแผ่นดินแปลงพิพาท นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3
 
 
( สุทิน ปัทมราชวิเชียร - อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ - ศิริชัย สวัสดิ์มงคล )
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-05-06 14:07:05 IP : 101.51.186.229



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.