ReadyPlanet.com


พร้อม


ส่งข้อความไปด่าว่าตักเตือนผู้หญิงที่ชอบแยกสามีชาวบ้านทาง sms โดยใช้โทรศัพท์คนอื่นอยากทราบว่าจะมีความผิดทาง ก.ม. คดีอะไร เพราะทนพฤติกรรมเลวทรามมาเป็นเวลานานแล้วไม่เคยลุกสู่เลยทนเพื่อลูกมาโดยตลอดขอความกรุณาช่วยแนะนำด้วยคะขอบพระคุณอยางยิ่ง



ผู้ตั้งกระทู้ กานต์ :: วันที่ลงประกาศ 2012-09-22 09:56:17 IP : 183.89.120.76


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3299182)

 การที่ส่งข้อความไป  แม้ข้อความเป็นการดูหมิ่น    เขาคงไม่ได้อ่านข้อความนั้น ในทันที  จึงไม่เป็นความหมิ่นฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า....  หรือถ้ามีความผิด  ก็เพียงความผิดลหุโทษ  ตาม ปอ. ม.393  มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท   ส่วนมากตำรวจมักเปรียบเทียบปรับ100-200 บาท ครับ

 
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  110/2516
 
 
นายวินัย ศรีวิโรจน์              โจทก์
 
 
หม่อมหลวงจิตติ นพวงศ์     จำเลย
 
 
ป.อ. มาตรา 326, 328, 393
 
          จำเลยมีจดหมายซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาทส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงโจทก์โดยตรงไปยังสำนักงานโจทก์ แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะให้โจทก์เท่านั้นทราบข้อความในจดหมาย มิใช่เจตนาเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม แม้เสมียนของโจทก์ทราบข้อความจากจดหมายที่จำเลยส่งไปถึงตัวโจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328
          จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ แม้ข้อความในจดหมายเป็นการดูหมิ่นแต่การที่จำเลยส่งจดหมายไปกว่าจะถึงโจทก์ก็ต่างวันเวลากัน จึงไม่มีลักษณะเป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามความหมายในมาตรา 393 ทั้งไม่ใช่เป็นการดูหมิ่นด้วยการโฆษณา
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาด้วยเอกสารโดยจำเลยได้มีจดหมายส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนมาถึงโจทก์ ณ สำนักงานของโจทก์เป็นข้อความหมิ่นประมาทด้วยเจตนาจะให้โจทก์ได้รับความดูถูกดูหมิ่น เกลียดชัง เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศจากเสมียนผู้มีหน้าที่รับส่งโต้ตอบหนังสือประจำสำนักงาน ซึ่งได้ทราบข้อความจากเอกสารที่จำเลยส่งไปนั้น ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59, 326, 328, 332(2) และมาตรา 393
           ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วประทับฟ้อง
           จำเลยให้การปฏิเสธ
           ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยยังไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ไม่มีทางเป็นผิดตามมาตรา 328 และไม่เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า ตามมาตรา 393 พิพากษายกฟ้อง
           โจทก์อุทธรณ์
           ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
           โจทก์ฎีกาต่อมา
           ศาลฎีกาเห็นว่า การที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 326 นั้น จะต้องได้ความว่าจำเลยได้ใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม แต่ตามฟ้องของโจทก์กล่าวว่า จำเลยมีจดหมายส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาทถึงโจทก์ หาใช่จำเลยใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามไม่ ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ที่กล่าวหาจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องข้อ 4 ว่า จำเลยเจตนาจะให้โจทก์ได้รับความดูถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และได้รับความอับอายเสื่อมเสียชื่อเสียง และโจทก์ก็ได้รับความอับอาย ถูกดูถูก ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง เสื่อมเสียชื่อเสียง เกียรติยศ จากเสมียนทนาย ซึ่งได้ทราบข้อความจากเอกสารที่จำเลยส่งไปยังสำนักงานทนายความถึงตัวโจทก์นั้น เห็นว่าการที่จำเลยมีจดหมายลงทะเบียนถึงตัวโจทก์โดยตรง แสดงเจตนาของจำเลยว่าจะให้โจทก์เท่านั้นทราบข้อความในจดหมาย มิใช่เจตนาเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามการที่โจทก์บรรยายมาว่า เสมียนทนายทราบข้อความจากจดหมายที่จำเลยส่งไปถึงตัวโจทก์นั้น เป็นเรื่องนอกเหนือเจตนาของจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 ดังที่โจทก์ฎีกา
           ข้อที่โจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานดูหมิ่นโจทก์ซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 นั้น ปรากฏตามฟ้องโจทก์ว่า เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2513 จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ โจทก์ได้รับเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2513 ศาลฎีกาเห็นว่า แม้จะฟังว่าข้อความในจดหมายเป็นการดูหมิ่นโจทก์ แต่การที่จำเลยส่งจดหมายไปกว่าจะถึงโจทก์ก็ต่างวันเวลากัน ไม่มีลักษณะเป็นการดูหมิ่นโจทก์ซึ่งหน้าตามความหมายในมาตรา 393 ทั้งไม่ใช่เป็นการดูหมิ่นด้วยการโฆษณาดังที่โจทก์ฎีกา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาชอบแล้ว
           พิพากษายืน
 
 
( สุธรรม วรรณแสง - พิชัย รชตะนันทน์ - ชลอ จามรมาน )
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-09-22 14:03:48 IP : 101.51.165.112



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.