ReadyPlanet.com


ขอคำปรึกษาด้วยครับ


บังเอิญว่าอยากจะเครีย์คอนโดที่ขาดส่งมากว่า 4 ปี

โทรไปถามแบงค์ บอกว่าอยู่ในขั้นตอนขายทอดตลาด

แต่แบงค์แนะนำให้เขียนคำร้องเพื่อขอลดดอกเบี้ย 400000 เพื่อทำการจ่ายให้หมด ก่อนดำเนินการกู้ใหม่780000

เงินกู้ 780000 แต่ ดอกเบี้ยต้องจ่าย 400000

อยากถามว่า ปกติดอกเบี้ยที่ขอลดได้ประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ครับ

สอง กู้ใหม่ แล้วมันจะผ่านแน่นอนเหมือนกับที่แบงค์เขายืนยันเปล่าครับ มีเหตุผลอะไรบ้างที่จะทำให้ไม่ผ่านครับ

ถ้าไม่ผ่านแล้วเงินที่ค้างอยู่ 780000  ต้องทำอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ STT :: วันที่ลงประกาศ 2012-09-21 12:00:08 IP : 125.20.37.148


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3299065)

การขอลดดอกเบี้ย  ก็อยู่ที่การเจรจากัน  ก็เคยมี ที่เจ้าหนี้ยอมลดให้ทั้งหมด......เรื่องจะได้รับอนุมัติการกู้หรือไม่  เป็นเรื่องของธนาคารโดยเฉพาะ...ถ้าไม่ผ่าน ก็คงมีการขายทอดตลาดบ้าน เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-09-21 13:01:01 IP : 101.51.173.129


ความคิดเห็นที่ 2 (3299066)

ขอบคุณครับคุณมโนธรรม

ถ้าเราปล่อยให้ขายทอดตลาดไป

จะมีผลเสีย ผลดี อย่างไรบ้างครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น STT (streeklang-at-ti-dot-auto-dot-com)วันที่ตอบ 2012-09-21 13:10:37 IP : 125.20.37.148


ความคิดเห็นที่ 3 (3299123)

เมื่อขายทอดตลาด นำเงินมาใช้หนี้้แล้ว   ถ้ายังมีหนี้เหลือคงเหลือ  ที่เรียกกันว่าส่วนต่าง   เจ้าหนี้ก็ยังสามาถในส่วนนี้ได้...แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง..

 

 

 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2550

 
  การจำนองเป็นสัญญาเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นการประกันหนี้โดยมีหนี้ประธานและจำนองอันเป็นอุปกรณ์ของหนี้นั้น ซึ่งอาจแยกออกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ เจ้าหนี้จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องอย่างหนี้สามัญ คือ บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วไปของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 หรือจะบังคับจำนอง คือ ใช้บุริมสิทธิ์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองตามมาตรา 728 ก็ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่าในกรณีซึ่งเป็นหนี้จำนองแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้จะฟ้องร้องบังคับลูกหนี้อย่างหนี้สามัญตามมาตรา 214 ไม่ได้ เป็นแต่เพียงกฎหมายบังคับว่า ในกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิบังคับจำนองสิทธิของโจทก์ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 733 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินได้ เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ มิใช่โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้แต่เฉพาะที่ดินที่จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้เท่านั้น
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-09-21 18:46:25 IP : 101.51.181.210



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.