ReadyPlanet.com


แจ้กา


 อยากทราบว่ากรณีข่าวของภาวนา  ชนะจิต  สามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะมีสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนใดบ้าง และต้องดำเนินการอย่างไรบ้างถึงจะยุติธรรมทั้งหลาย ๆ ฝ่าย  ถ้าฟ้องร้องกันระยะเวลาจะนานประมาณไหน และถ้าแบ่งกันอย่างยุติธรรมจะต้องทำอย่างไรบ้างที่เรื่องจะได้ยุติได้เร็ว ใช้เวลามาทำมาหากินดีกว่าและทำให้เครียดกันไปทุกฝ่ายด้วย  ขอความกรุณาช่วยเสนอและแนะนำเพื่อเป็นความรู้ด้วยคะ



ผู้ตั้งกระทู้ กานต์ :: วันที่ลงประกาศ 2012-09-14 14:43:45 IP : 180.183.182.50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3298628)

 

สามีที่ไม่จดทะเบียนสมรส   ก็ขอแบ่งทรัพย์มรดกได้ในฐานะหุ้นส่วน   ทรัพย์สินที่หามาได้ในขณะอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา เขาก็มีสิทธิกึ่งหนึ่ง...ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ตาย และทรัพย์สินที่แบ่งจากหุ้นส่วน(สามี)แล้ว ก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ตาม ปพพ.ม.1629  ที่ยกมาข้างล่าง   แต่ไม่ได้หมายความว่า ทุกลำดับจะได้รับมรดกเหมือนกันหมด   คือ ถ้ามีทายาท ลำดับ 1-2 แล้ว ลำดับ 3-6  ก็ไม่มีสิทธิรับทรัพย์มรดก เป็นต้น....การแบ่งปันมรดกที่เป็นธรรม และรวดเร็ว ก็ยึดตาม   ม.1629  คือทายาทในลำดับเดียวกันจะได้ส่วนแบ่งเท่าๆกัน...   ก็ควรหาโอกาสเรียกประชุม ทายาท ช่วยการรวบรวมทรัพย์มรดก และจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกไว้ให้ชัดเจน ให้ทายาททุกคนลงลายมือชื่อรับรองไว้ทุกแผ่น    และตกลงแบ่งปันมรดกกัน โดยยึดหลักถ้อยทีถ้อยอาศัย ยอมลดทิฐิของทายาททุกคนลงบ้าง   การแบ่งปันมรดกก็คงลงตัวได้ไม่ยากเย็นอะไร   ทรัพย์สินที่หารไม่ลงตัว อาจขายแบ่งเงินกัน หรือยอมเสียเปรียบกันบ้าง เพื่อให้การแบ่งปันยุติไปด้วยดี   เมื่อสามารถตกลงกันได้     ก็ควรทำสัญญาประนีประนอมยอมความ(ดาวน์โหลแบบได้ในกูเกิ้ล) โดยระบุไว้ให้ชัดเจนว่า ใครได้รับส่วนแบ่งอะไรบ้าง ทำสัญญาให้ครบจำนวนทายาท สั่งพิมพ์จากเครื่องคอมฯ ทายาททุกคนลงลายมือชื่อไว้ เก็บสัญญาไว้คนละฉบับ....การโอนบ้านและที่ดิน แทนผู้ตาย ควรมีผู้จัดการมรดกจะสะดวกกว่า ก็มอบให้ทายาทที่ทุกคนไว้วางใจ ร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก   และแบ่งปันทรัพย์มรดกตามสัญญาที่ทำไว้ได้    ถ้าไม่ไว้วางใจกัน   จะขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันก็ได้ ขั้นตอนต่างๆ น่าจะใช้เวลาในการแบ่งปันมรดกไม่เกิน 3 เดือน    แต่ถ้าทายาทไม่มีความปรองดองกัน   ก็คงมีการฟ้องร้องกันไปมา   กว่าคดีจะถึงที่สุด อาจเป็นสิบปี เพราะมีตัวอย่างมาแล้วมากมาย ถ้าทุกคนยอมลดทิฐิลงปัญหาการแบ่งปันมรดกคงไม่มีครับ...กฎหมายที่เกี่ยวข้อง   ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์...
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย 
(6) ลุง ป้า น้า อา 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-09-14 17:23:45 IP : 101.51.171.137



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.