ReadyPlanet.com


การตีความประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 44 และ 46


ขอเรียนถามค่ะ

                    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 44  บัญญัติว่า "ห้ามเข้าเขตกำหนด  คือ การห้ามมิให้เข้าไปในท้องที่  หรือสถานที่ที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา" 

                    และมาตรา  46  บัญญัติว่า "ถ้าความปรากฎแก่ศาลตามข้อเสนอของพนักงานอัยการว่าผู้ใดจะก่อเหตุร้อยให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นก็ดี  ในการพิจารณาคดีความผิดใด  ถ้าศาลไม่ลงโทษผู้ถูกฟ้อง แต่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตราย แก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นก็ดี  ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งผู้นั้น ให้ ทำทัณฑ์บน  โดยกำหนดจำนวนเงินไม่เกินกว่าห้าพันบาท  ว่าผู้นั้นจะไม่ก่อเหตุดังกล่าวแล้วตลอดเวลาที่ศาลกำหนด  แต่ไม่เกินสองปี  และจะสั่งให้มีประกันด้วยหรือไม่ก็ได้

จึงถามว่า        1. มาตรา  44  คำว่า  "การห้ามมิให้เข้าไปในท้องที่"   คำว่า "ท้องที่"  หมายความว่าอย่างไรค่ะ  จำเป็นไหมว่าจะต้องเป็นท้องที่ที่กำหนดในคำพิพากษา

                       2. มาตรา 46  ถ้าหน่วยงานราชการจะห้ามมิให้เอกชนหรือบุคคลใดเข้าไปทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ ในพื้นที่สาธารณะซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ และมีอบต. เป็นผู้ดูแล ได้หรือไม่                     



ผู้ตั้งกระทู้ deer (ladland2015-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2012-10-03 15:36:42 IP : 172.16.14.131


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3300161)

 

 
  1. มาตรา  44  คำว่า  "การห้ามมิให้เข้าไปในท้องที่"   คำว่า "ท้องที่"  หมายความว่าอย่างไรค่ะ  จำเป็นไหมว่าจะต้องเป็นท้องที่ที่กำหนดในคำพิพากษา
 
ตอบ...ก็คือท้องที่ที่กำหนดในคำพิพากษา  ครับ
                       2. มาตรา 46  ถ้าหน่วยงานราชการจะห้ามมิให้เอกชนหรือบุคคลใดเข้าไปทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ ในพื้นที่สาธารณะซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ และมีอบต. เป็นผู้ดูแล ได้หรือไม่        
 
ตอบ....ผมว่าคุณน่าจะเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อน บางอย่าง        ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา  44  และ มาตรา 46  ที่คุณยกมา   เป็นเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัย  ตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นวิธีการควบคุมบุคคลบางกลุ่ม  ที่กระทำความผิด  จนติดเป็นนิสัย  ศาลอาจสั่งให้ควบคุมพฤติกรรมเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลเหล่านั้นไปกระทำความผิดซ้ำอีกในภายหลัง ทำนองการคุมประพฤติที่รู้จักกันได้ดีในปัจจุบัน  ซึ่งมีวิธีการควบคุม  5  กรณี  ตาม ปอ. ม. 39 คือ
มาตรา 39 วิธีการเพื่อความปลอดภัยมีดังนี้
 (1) กักกัน
 (2) ห้ามเข้าเขตกำหนด
 (3) เรียกประกันทัณฑ์บน
 (4) คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
 (5) ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่าง
…ที่ถามว่า ..หน่วยงานราชการจะห้ามมิให้เอกชนหรือบุคคลใดเข้าไปทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ ในพื้นที่สาธารณะซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ และมีอบต. เป็นผู้ดูแล ได้หรือไม่    ….จึงเป็นคนละประเด็นกับเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัย......โดยหลักแล้วคงห้ามได้  แต่ต้องใช้ พรบ.อื่นมาบังคับใช้  เช่น  พรบ.  ควบคุมสิ่งแวดล้อม  หรือ พรบ.ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะครับ    
 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-10-04 15:07:55 IP : 101.51.187.163



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.