ReadyPlanet.com


การชำระเงินของผู้ค้ำประกัน แต่......


ผมได้เคยตั้งกระทู้หัวข้อนี้ไปแล้ว คุณได้แนะนำ ผมได้ทำตามแนะนำ แต่ก็มีปัญหาที่น่าสงสัย

  - คือพี่ชายผมได้เช่าซื้อรถ และให้แฟนผม เป็นผู้ค้ำประกัน

  -ต่อมา พี่ชายผมไม่สามารถผ่อนรถได้ จนได้คืนรถไป ทางฝ่ายไฟแนนส์ได้ไปขายทอดตลาด มีเงินค่าเสียหายเหลืออีก 80000บาท พี่ชายได้ผ่อนไปประมาณ 20000บาท 

  - สุดท้ายพี่ชาย ถูกฟ้องและได้ล้มละลาย จึงหยุดการชำระดังกล่าว

 - ทางไฟแนนส์ ได้ให้ผู้ค้ำประกันคือแฟนผม เป็นผู้ชำระเงินแทน แฟนผมขอต่อรอง เหลือครึ่งหนึ่ง ไฟแนนส์ไยอม

 - และให้บริษัททวนหนี้มาทวนหนี้ ทางฝ่ายผมไม่พอใจ ก็เลยบอกไปเจอที่ศาลดีกว่า

 - เรื่องล่วงเลยมา 2 ปี มีจดหมายจากไฟแนนส์ มาบอกว่าจะลดให้เหลือ 20000 บาท หนี้ถือว่าสิ้นสุด

  ทางเราก็สนใจและทางสำนักทนายความคุณ ก็บอกว่าไปชำระ ต้องดูหลักฐานให้ชัดเจน

 1. เมื่อเราไปติดต่อแล้ว ขอให้ทางไฟแนนส์ ออกหนังสือยืนยังว่าหนี้สิ้นสุดแล้ว สำหรับผู้ค้ำประกัน

      - แต่ปรากฏว่า ทางไฟแนนส์ได้ชี้แจงว่า ออกหนังสือออกได้ แต่จะออกโดยบอกว่า ผู้เช่าซื้อคือพี่ีชายผมเป็นผู้ชำระ และหนี้เป็นสิ้นสุด ถือว่าผู้ค้ำฯก็หลุดไปด้วย

      - ทางเราบอกว่า พี่ชายได้ล้มละลายแล้ว ขอให้เป็นชื่อผู้ค้ำประกัน  เขาบอกว่าไม่ได้เป็นระเบียบกฎเกณฑ์ของทางไฟแนนส์

      ไม่ทราบมีลักษณะอย่างนี้เกิดขึ้นด้วยหรือ จะมีผลต่อผู้ล้มละลายอย่างไร

 2. ถ้าจ่ายในลักษณะนี้ โดยพี่ชายผม ที่เป็นผู้ล้มละลาย จะมีผลผูกพันธ์ต่อพี่ชายผมหรือไม่ หนี้อื่นต้องชำระหรือไม่

 

                                             ด้วยความเคารพครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ ปีเตอร์ :: วันที่ลงประกาศ 2013-11-25 13:51:40 IP : 101.109.240.4


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3314772)

 

ถ้าพี่ชายเป็นบุคคลล้มละลาย    การบริหารจัดการเรื่องทรัพย์สินของพี่ชาย   ต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ทราบก่อน      ดังนั้นแฟนของคุณต้องใช้หนี้ในนามของตนเอง  (ผู้ค้ำประกัน)เท่านั้น หนี้จึงจะระงับ  แต่ถ้าไปใช้หนี้ในนามผู้ล้มละลาย  เงินจำนวนนี้คงถูกยึดไปเพื่อแบ่งเฉลี่ยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่ยื่นขอชำระหนี้   ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์   ภายในเวลาที่กำหนด (ภายในสองเดือน  นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด) เมื่อไปชำระหนี้ในลักษณะนี้  หนี้การค้ำประกัน  ย่อมไม่ระงับ  ถ้าไฟแนนซ์ ยังยืนยันจะให้จ่ายเงินชำระหนี้ ในฐานะผู้เช่าซื้อ(ผู้ล้มละลาย)  ไม่ควรเสี่ยงไปชำระหนี้ในลักษณะนี้.....ครับ
.....กรณีของพี่ชาย  เมื่อเป็นบุคคลล้มละลาย   ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ล้มละลาย  พ.ศ.2483 มาตรา 30 ดังที่ยกมาข้างล่าง    ถ้าพี่ชายปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์   อย่างเคร่งครัด   อาจได้รับการปลดจากบุคคลล้มละลาย ภายในสามปี   บรรดาหนี้ต่างๆของพี่ชายก็เป็นอันหลุดพ้นไปทั้งหมดตาม มาตรา 77  แต่ผู้ค้ำประกันจะไม่หลุดพ้นไปด้วย  ตาม ม.78  ดังนั้น  แฟนของคุณจะไปยินยอมชำระหนี้ในนามของพี่ชายที่ล้มละลายทำไม  ไม่ทราบว่าไฟแนนซ์โง่จริงหรือแกล้งโง่    แต่ตามความเห็นเขาไม่น่าจะโง่   แต่มีนัยแอบแฝงอยู่  คือให้คุณใช้หนี้ในนามของผู้ล้มละลาย   เขาก็จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมด ถ้ายื่นขอชำระหนี้ภายในสองเดือน  และยังสามารถมาไล่เบี้ยกับผู้ค้ำประกันได้อีกในรอบสอง  ดูจากเจตนาก็น่าจะพอทราบได้  คือหนี้จาก 80,000  บาท ยอมลดให้เหลือ  20,000  บาท เมื่อแฟนของคุณหลงกลยอมชำระหนี้ไป   เขาก็คงมาไล่เบี้ยจากผู้ค้ำประกันได้อีก  60,000  บาท ด้วยความปรารถนาดี ครับ
 
.....พรบ.ล้มละลาย  พ.ศ. 2483....

มาตรา 30 เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ลูกหนี้ต้องปฏิบัติ ดั่งต่อไปนี้
(1) ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ลูกหนี้ได้ทราบคำสั่งนั้นลูกหนี้ ต้องไปสาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และยื่นคำชี้แจงตามแบบพิมพ์ว่า ได้มีหุ้นส่วนกับผู้ใดหรือไม่ ถ้ามีให้การระบุชื่อและตำบลที่อยู่ของห้าง หุ้นส่วนและผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
(2) ภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้ทราบคำสั่งนั้น ลูกหนี้ต้องไป สาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์ สินของลูกหนี้ตามแบบพิมพ์ แสดงเหตุผลที่ทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว สินทรัพย์และ หนี้สิน ชื่อตำบลที่อยู่ และอาชีพของเจ้าหนี้ทรัพย์สินที่ได้ให้เป็นประกัน แก่เจ้าหนี้และวันที่ได้ให้ทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นประกันรายละเอียดแห่งทรัพย์สิน อันจะตกได้แก่ตนในภายหน้าทรัพย์สินของคู่สมรส ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคล อื่นซึ่งอยู่ในความยึดถือของตน
ระยะเวลาตาม มาตรา นี้ เมื่อมีเหตุผลพิเศษ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อาจขยายให้ได้ตามสมควร

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-11-25 14:53:46 IP : 101.51.177.29


ความคิดเห็นที่ 2 (3314773)

เพิ่มเติม....

 

มาตรา 77 คำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ เว้นแต่
(1) หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร หรือจังกอบของรัฐบาลหรือเทศบาล
(2) หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยความทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย หรือหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมีส่วน เกี่ยวข้องสมรู้

มาตรา 78 การที่ศาลได้มีคำสั่งปลดจากล้มละลายนั้นไม่ทำให้บุคคลซึ่ง เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลล้มละลาย หรือรับผิดร่วมกับบุคคลล้มละลายหรือ ค้ำประกันหรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของบุคคลล้มละลาย หลุด พ้นจากความรับผิดไปด้วย
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-11-25 14:55:46 IP : 101.51.177.29



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.