ReadyPlanet.com


อยากทราบว่าคดีนี้เข้าข่ายคดีอะไรค้ะ


คือ สามีของดิฉันได้ทะเลาะวิวาทกับคู่อริ เรื่องมันเริ่มมาจากการมองหน้ากันแล้วถาม แต่ดิฉันได้ห้ามปามโดยยกมือไหว้ขอโทษอีกฝ่ายแล้วให้แฟนขับรถกลับบ้าน แต่อีกฝ่ายดันใม่ยอมหยุด โดยการตะโกนออกมาว่า "กุชื่อเดย์ น้องเจ้าเอ มึคงใปพาพวกมึงมาเลย กูไม่กลัวแล้วกูจะรอมึงอยู่ตรงนี้"  แฟนพาดิฉันมาส่งที่บ้านแล้วได้ออกไปกับเพื่อน เอาไม้ไปอันหนึ่ง  แล้วไปไล่ตีกันข้างนอก อีกฝ่ายดยนจักยานใส่แฟนดิแันก่อน เขาจึงตีเข้าที่กกหูของอีกฝ่าย แล้วเดินออกมา แต่อีกฝ่ายได้ชักมีดจะวิ่งเข้าแทงแฟนดิฉัน เพื่อนที่ไปด้วยกันเห้นก้เฃยหยิบมีดวิ่งเข้าไปแต่ใม่ได้มีการฟาดฟันกัน ทางพ่อแม่ของคู่อ ริ ได้แจ้งความข้อหาพยายามฆ่า เขาบอกว่าลูกชายเขาต้องนอนโรงพยาบาล 3 คืน แต่ดิแันไม่แน่ใจเพราะพี่ชายของฝ่ายนั่นบอกว่านอนแค่ 1 คืน แล้วไม่มีอะไร หมอให้กลับบ้าน ตำรวจได้นัดไปคุย และให้ปากคำ ฝ่ายดิฉันไปทุกครั้ง แต่อีกฝ่ายไม่ยอมไป  

** ดิฉันอยากทราบว่าคดีนี้เข้าข่ายคดีอะไร สมัครใจกันทะเลาะวิวาท  ทำร้ายร่างกาย หรือพยายามฆ่า ขอความกรุณา ตอบดิฉันด้วยน่ะค่ะ ดิฉันเครียดมากเพราะตัวเอ งก้ท้องอยู่ ดิฉันจะได้เตรียมตัวถุก

 ขอกราบขอบพระคุณอย่างค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ จริยา พิบูลย์ธัญญะ (noonthadan_-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2014-01-27 15:20:03 IP : 118.173.110.50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3315632)

ตามข้อเท็จจริง   น่าจะเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาท   ต่างฝ่าย ต่างไม่ใช่ผู้เสียหาย    แต่อัยการสามารถฟ้องให้ดำเนินคดี ฐานทำร้ายร่างกาย   ซึ่งกันและกันได้    ส่วนใหญ่คดีแบบนี้ ตำรวจมักให้ไกล่เกลี่ยเจรจากัน  เมื่อยอมชดใช้ตามควร  หรือตกลงกันได้   ตำรวจก็คงปิดคดี....แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้    ตำรวจก็คงสรุปสำนวนส่งอัยการเพื่อฟ้องศาลต่อไป  ถ้าถูกแจ้งข้อหาทำร้ายร่างกาย  ก็คงให้ลงโทษทั้งสองฝ่าย  ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี ...การที่สามีของคุณพาพวกกลับไปในที่เกิดเหตุอีก   ศาลอาจมองว่ามีเจตนาไปทำร้ายผู้อื่น  ....แนวคำพิพากษาศาลฎีกา เทียบเคียง...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2554
พนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี
     โจทก์
นายชาญวิทย์หรือประหยัดหรือหยัด ศรีหมาศ
     จำเลย

 
ป.วิ.อ. มาตรา 186(6)

 
          จำเลยอุทธรณ์เพียงประเด็นเดียวว่า พยานโจทก์เห็นและจำจำเลยได้ว่าเป็นคนร้ายที่ใช้ขวานฟันผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ มิได้อุทธรณ์ประเด็นที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์โดยให้เหตุผลในการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแล้วเชื่อว่าประจักษ์พยานโจทก์ทั้งห้าปากเห็นเหตุการณ์ขณะที่จำเลยใช้ขวานฟันผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จริงในขณะเกิดเหตุ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะวินิจฉัยไว้ด้วยว่า ที่จำเลยนำสืบว่า กลุ่มผู้เสียหายก่อเรื่องก่อน จำเลยจึงใช้ไม้ป้องกันตัวนั้น เห็นว่า เป็นเรื่องสมัครใจทะเลาะวิวาทกัน จำเลยจึงไม่สามารถอ้างเหตุป้องกันได้ ก็เป็นการวินิจฉัยตามข้อนำสืบต่อสู้ของจำเลยเท่านั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) แล้ว
 
________________________________
 

 

 

 
 
( ชุติมนต์ โพธิเดช - อร่าม แย้มสอาด - สิงห์พล ละอองมณี )

โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 295, 297, 371, 391
          จำเลยให้การปฏิเสธ
          ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 ปี ข้อหาอื่นให้ยก   จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน
          จำเลยฎีกา
            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ว่า เป็นเรื่องสมัครใจทะเลาะวิวาทกัน จึงไม่สามารถอ้างเหตุป้องกันได้นั้น ไม่ปรากฏเหตุผลที่แน่ชัดและการวินิจฉัยพยานหลักฐานสิ่งใดที่ชัดเจน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้กล่าวถึงเหตุผลที่ฟังข้อเท็จจริงว่าเป็นการทะเลาะวิวาทกัน จำเลยอุทธรณ์ประเด็นเรื่องการป้องกันตัวด้วย แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังไม่ได้วินิจฉัยนั้น ศาลฎีกาได้ตรวจอุทธรณ์ของจำเลยโดยตลอดแล้ว เห็นว่า จำเลยอุทธรณ์เพียงประเด็นเดียวว่าพยานโจทก์เห็นและจำจำเลยได้ว่าเป็นคนร้ายที่ใช้ขวานฟันผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ มิได้อุทธรณ์ประเด็นที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ด้วย ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์โดยให้เหตุผลในการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงแล้วเชื่อว่าประจักษ์พยานโจทก์ทั้งห้าปากเห็นเหตุการณ์ขณะที่จำเลยใช้ขวานฟันผู้เสียหายที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 จริงในขณะเกิดเหตุ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะวินิจฉัยไว้ด้วยว่า ที่จำเลยนำสืบว่า กลุ่มผู้เสียหายก่อเรื่องก่อน จำเลยจึงใช้ไม้ป้องกันตัวนั้น เห็นว่า เป็นเรื่องสมัครใจทะเลาะวิวาทกัน จำเลยจึงไม่สามารถอ้างเหตุป้องกันได้ ก็เป็นการวินิจฉัยตามข้อนำสืบต่อสู้ของจำเลยเท่านั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (6) แล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
          พิพากษายืน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2014-01-28 09:26:55 IP : 101.51.185.104



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.