ReadyPlanet.com


ทนายลงชื่อในคำให้การ (คดีอาญา)


-เรียนท่านผู้รู้ครับ คือผมกำลังเรียนวิชากฎหมายอยู่ครับ แต่ได้มีข้อถกเถียงกับเพื่อนว่าทนายความมีอำนาจ (ลงลายมือชื่อในคำให้การแทนลูกความในคดีอาญา) ได้หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ

-และถ้าลงแทนไปแล้วผลจะเป็นอย่างไรครับ

-มีทางแก้อย่างไรบ้างครับถ้าลงแทนจำเลยไปแล้ว

ขอบพระคุณมากครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ นักศึกษา :: วันที่ลงประกาศ 2013-01-30 16:29:36 IP : 58.8.102.118


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3306976)

 พิจารณาตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาแล้ว  คู่ความต้องลงลายมือเอง  และคำฟ้อง  ทนายความจะลงลายมือชื่อแทนไม่ได้...ตามความเห็น คำให้การโจทก์ก็ต้องลายมือชื่อเองด้วย ครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 651/2549

 

การพิจารณาและสืบพยานในศาลไม่ว่าชั้นสืบพยานโจทก์พยานโจทก์ร่วม หรือพยานจำเลยจะต้องทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และมาตรา 172 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2514

 

คำฟ้องคดีอาญาที่ทนายความของโจทก์ลงชื่อมาในคำฟ้องแทนโจทก์แม้ในใบแต่งทนายจะระบุอำนาจลงชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ไว้ด้วยก็เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 158(7) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-01-31 13:43:54 IP : 101.51.168.41


ความคิดเห็นที่ 2 (3643499)

 คดัอาญาทนายความลงนามในคำฟ้องแทนจำเลยไม่ได้ แต่ทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งจากจำเลย เซ้นต์ชื่อแทนในคำให้การได้ และเซ้นต์ชื่อในชั้นอุทธรณ์ และฎีกาได้ด้วย  เป็นไปตาม ปวิ.ญา มาตราข้อ 1. ป.วิอาญา 
มาตรา ๘ นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้ 

(๒) แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาในศาลชั้นต้น

 

 

ทนายชอบดริ้ง

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายแก่ วันที่ตอบ 2014-05-22 11:00:33 IP : 171.101.93.143



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.