ReadyPlanet.com


สอบถามกรณีทำร้ายร่างกาย1เหตุการณ์2กรณี


 ขออนุญาติสอบถามกรณีต่อไปนี้ครับ....

ผมทำงานเป็นการ์ดในผับแห่งนึง ได้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทชกต่อยกันบริเวณหน้าผับ ผมและพรรคพวกได้เข้าไปแยกและห้ามปรามและแยกทั้งคู่ออกมา ขณะกำลังเจรจากับผู้ก่อเหตุ มีนายAอายุประมาณ 17-18ปีซึ่งรู้จักกับคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เดินเข้ามา เอาขวดเบียร์ขนาดเล็กตีมาที่หัวประมาณ5-6ครั้งจนผมล้มลงโดยไม่ได้โต้ตอบ และมีคนเข้ามาช่วยเหลือนำผมส่งโรงพยาบาลทันที

เบื้องต้นพบบาดแผลที่หัวต้องเย็บ4เข็ม แขน1เข็ม มีรอยฟกช้ำบริเวณต้นแขนซ้าย สามารถกลับบ้านได้โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

หลังเหตุการณ์ที่นายAทำร้ายผมจนผมต้องไปโรงพยสาบาล นายAก็โดนบุคคลบริเวณที่เกิดเหตุรุมทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บด้วยเช่นกัน โดยที่ผมก็ไม่ทราบว่าใครทำ เนื่องจากผมไปโรงพยาบาลทันทีหลังโดนทำร้ายร่างกาย โดยไม่ได้รับรู้ว่าว่ามีเหตุต่อเนื่องดังกล่าว

การแจ้งคดี

1 นายAแจ้งความว่าโดนทำร้ายร่างกาย โดยมีผมสมรู้ร่วมคิด

2.ผมแจ้งความว่าโดนนายAทำร้ายร่างกายเช่นกัน

สอบถาม

1.กรณีนายAโดนทำร้ายร่างการ ผมมีความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดหรือไม่ เนื่องจากผมไม่ได้อยู่ร่วมเหตุการณ์เพราะไปโรงพยาบาลทันทีหลังโดนนายAทำร้าย

2.ผมสามารถดำเนินคดีข้อหาพยายามฆ่าได้หรือไม่ หากไม่ได้ผมจะแจ้งข้อหาใดกับนายAได้บ้าง

3.กรณีผมถูกนายAทำร้ายร่างกาย กับกรณีนายAโดนบุคคลอื่นทำร้ายร่างกายหลังทำร้ายผม ถือเป็นกรณีเดียวกันหรือไม

4.บุคคลภายนอกที่เข้ามาช่วยเหลือผมหลังโดนนายAทำร้าย จะมีความผิดหรือไม่ หากมี จะมีความผิดข้อหาใด

5.กรณีดังกล่าวแนวทางการตัดสินจะเป็นเช่นไรครับ

"ขอขอบคุณสำหรับคำตอบครับ"

 



ผู้ตั้งกระทู้ ยุงบินชุม :: วันที่ลงประกาศ 2014-05-08 23:56:41 IP : 113.53.28.147


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3635823)

1.กรณีนายAโดนทำร้ายร่างกาย ผมมีความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดหรือไม่ เนื่องจากผมไม่ได้อยู่ร่วมเหตุการณ์เพราะไปโรงพยาบาลทันทีหลังโดนนายAทำร้าย

ตอบ...ก็ต้องหาพยานมายืนยันว่า คุณไม่ได้ ยุยงเสริม  หรือร่วมกระทำความผิดด้วย

2.ผมสามารถดำเนินคดีข้อหาพยายามฆ่าได้หรือไม่ หากไม่ได้ผมจะแจ้งข้อหาใดกับนายAได้บ้าง

ตอบ....ตามตามข้อเท็จจริง   คงเป็นการทำร้ายร่างกาย  ตาม ปอ. ม.295  ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี

3.กรณีผมถูกนายAทำร้ายร่างกาย กับกรณีนายAโดนบุคคลอื่นทำร้ายร่างกายหลังทำร้ายผม ถือเป็นกรณีเดียวกันหรือไม

ตอบ...ต้องฟังความเห็นของร้อยเวรเจ้าของคดีอีกที   เพราะไปที่เกิดเหตุ  และมีการสอบสวนพยานแวดล้อมอต่างๆ  อาจเป็นการสัมครใจทะเลาะวิวาท    หรือเข้าร่วมในเหตุชุลมุน  ตาม ปอ. ม.299...ผู้ที่เข้าไปห้าม  ไม่ต้องรับโทษ

4.บุคคลภายนอกที่เข้ามาช่วยเหลือผมหลังโดนนายAทำร้าย จะมีความผิดหรือไม่ หากมี จะมีความผิดข้อหาใด

ตอบ...ถ้าเข้าไปห้าม  ก็ไม่ต้องรับโทษ

5.กรณีดังกล่าวแนวทางการตัดสินจะเป็นเช่นไรครับ

ตอบ.....ถ้าตำรวจลงความเห็นว่า  เป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาท   อัยการ คงฟ้องคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ในข้อหาทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน   ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน สองปี     หรือ ถ้า   ตำรวจและอัยการ ฟ้องในเหตุชุลมุน ก็มีโทษไม่เกินหนึ่งปี  แต่....คดีแบบนี้   ถือว่าเป็นคดีเล็กๆคดีหนึ่ง    ส่วนมากตำรวจมักให้ใช้วิธีไกล่เกลี่ยเจรจากัน  ถ้าตกลงกันได้ ก็ปิดคดีไปง่ายๆ     แต่ถ้าการเจรจาไม่ลงตัว   เรื่องก็คงไปถึงศาล   ซึ่งคงต้องใช้เวลาพอสมควร    สุดท้าย น่าจะไม่ถึงกับจำคุก   ถ้ามีเหตุอันควรปรานีตาม ปอ. ม.56 ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2014-05-09 08:20:30 IP : 101.51.190.154


ความคิดเห็นที่ 2 (3635844)

 สอบถามเพิ่มเติ่มอีกนิด จากคำตอบข้อ3ครับ

กรณีนี้ ผมได้เข้าไปเจรจาไม่ให้เขาทะเลาะกันโดยไม่ได้ใช้ความรุนแรงใดๆ ซึ่งในขณะเจรจาอยู่ นายAซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องต่อเหตุทะเลาะกัน เป็นเพียงคนรู้จักของบุคคลที่ทะเลาะกัน เดินเข้ามากระหน่ำตีหัวโดยที่ผมไม่ได้โต้ตอบ

แบบนี้ ถือว่าผมสมัครใจทะเลาะวิวาทกับนายAด้วยหรือครับ

ในข้อนี้ผมยังงงๆอยู่ครับ 

เพราะแนวทางในการดำเนินคดี ทางฝ่ายญาติๆนายA ก็ไม่ยอมเจรจาไกล่เกลี่ยครับ

ขอความกระจ่างด้วยครับ ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ยุงบินชุมk วันที่ตอบ 2014-05-09 08:59:27 IP : 171.5.109.110


ความคิดเห็นที่ 3 (3636304)

ในเมื่อเข้าไปห้ามปราม ก็ไม่มีโทษ  ตาม ปอ. ม.299...

มาตรา 299 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลแต่สามคนขึ้นไป และบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ รับ อันตรายสาหัส โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไปเพื่อห้ามการ ชุลมุนต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2014-05-10 11:56:10 IP : 101.51.185.53


ความคิดเห็นที่ 4 (3655652)

 ไม่น่าใช่ทั้ง 294 และ299 นะครับ เพราะ 294ต้องมีคนตายส่วน299ต้องมีคนรับอันตรายสาหัส หัวแตกไป รพ.แล้วกลับบ้านได้ แค่เป็นอันตรายแก่กายหรือใจครับตามข้อเท็จจริงคุณต้องสืบพยานให้ได้ว่าเข้าไปเพื่อห้ามโดยไม่ใช้กำลังแล้วถูกทำร้ายถือว่าคุณเป็นผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อลงโทษนายAครับ 

1.คุณเข้าไปเพื่อห้ามปรามและไม่มีเจตนาทำร้าย ไม่มีความผิดครับ

2.ดำเนินคดีข้อหาทำร้ายร่างกายได้ครับ ม.2953.หากนาย A สืบพยานไม่ได้ว่าคุณและพวกมีเจตนาเข้ามาทำร้าย ก็ไม่มีความผิดครับ

3.จะเป็นเรื่องเดียวกันก็ต่อเมื่อคุณและพวกมีเจตนาทำร้ายร่างกายนาย A ซึ่งต้องร่วมกันรับผิดตาม ม.295ประกอบม.83

4.หากคุณไม่มีเจตนาทำร้ายแล้วถูกนาย A ทำร้ายร่างกาย เมื่อคุณไม่ใช่ฝ่ายผิด บุคคลภายนอกผู้เข้ามาช่วยไม่ให้คุณโดนซ้ำในขณะนั้นก็อ้างป้องกัน ม.68ได้ครับถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบ เพราะโดนประทุษร้ายที่ละเมิด กม. และไม่สามารถเลี่ยงได้โดยวิธีอื่นใด หากเพียงทำร้ายร่างกายนาย A กลับไปก็พอสมควรแด่เหตุเขาจึงไม่มีความผิดครับ

5.แนวทางการตัดสินก็น่าจะประมาณนี้ แต่คุณต้องหาพยานสืบให้ได้ว่าคุณไม่ได้มีเจตนาทำร้ายนาย Aขอให้ความยุติธรรมอยู่เคียงข้างสังคมตลอดไป โชคดีครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Tui3ttt วันที่ตอบ 2014-06-15 09:28:28 IP : 27.55.40.169



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.