ReadyPlanet.com


มรดกเจ้าปัญหา


ลุงมีที่ดิน น.ส.๓ ก. อยู่แปลงหนึ่ง มีลูก ๑ คน ต่อมา ตอนอายุ ๗๐ กว่าปี ลุงแยกไปมีเมียใหม่ แต่ไม่ได้จดทะเบียนกัน พอต้นปี ลุงเสียชีวิต  แต่ลูกของลุงหาต้นฉบับ น.ส. ๓ ก. ไม่เจอ จึงไปขอสำเนาจากสำนักงานที่ดิน นำไปร้องขอจัดการมรดก แล้วนำคำสั่งศาลไปขอรับมรดกใส่ชื่อใน น.ส.๓ ก. โดยสำนักงานที่ดินออกใบแทนให้

 

หลังจากนั้น เมียใหม่ของลุง นำพินัยกรรมไปขอโอนโฉนดที่ดิน ทั้งลูกของลุง และเมียใหม่ ต่างก็มีชื่อใน น.ส.๓ ก. และโฉนดที่ดิน

 

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ที่ดินตาม น.ส.๓ก. และโฉนดที่ดิน เป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ข้อผิดพลาดเกิดจาก ก่อนเสียชีวิต ช่วงที่ลุงไปอยู่กับเมียใหม่ ได้นำต้นฉบับ น.ส.๓ ก. ไปขอรังวัดออกโฉนดที่ดินโดยที่ลูกของลุงไม่ทราบ (นี่คือ สาเหตุที่ลูกของลุงหาต้นฉบับ น.ส.๓ ก.ไม่พบ) แล้วได้รับโฉนดที่ดินตั้งแต่ก่อนลุงเสียชีวิตแล้ว แต่ฝ่ายรังวัด ไม่ได้ขีดฆ่าต้นฉบับ น.ส.๓ ก. ทำให้แฟ้มในสารบบที่ดิน เป็นคนละแฟ้ม เมื่อลูกของลุง ไปขอถ่ายสำเนาเอาไปจัดการมรดก ต้นฉบับ น.ส.๓ ก. ยังคงมีอยู่

 

จึงขอปรึกษาว่า กรณีที่เกิดขึ้น หากลูกในฐานะผู้จัดการมรดกของลุงตามคำสั่งศาล ประสงค์จะรับมรดกที่ดินที่เป็น น.ส.๓ ก. จะต้องทำอย่างไร? ขอความกรุณาแนะนำด้วย ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ หลานลุง :: วันที่ลงประกาศ 2013-06-08 15:53:54 IP : 115.67.36.150


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3311300)

 ในเมื่อที่ดินได้ออกเอกสารสิทธิ์แล้ว  สภาพของ นส.3  ก็ย่อมสิ้นไปโดยปริยาย  ก็ต้องถือโฉนดที่ดินเป็นหลักในการจัดการที่ดินแปลงนี้   ก็ต้องมาดูข้อเท็จจริงว่า  ที่ดินแปลงนี้   ในขณะนี้ ใครครอบครองอยู่......ถ้าลูกของลุงครอบครองอยู่ เกิน 10 ปี  นับแต่ออกโแนดที่ดิน   ก็ร้องขอกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้ครอบครองปรปักษ์ได้   แต่อยากแนะนำให้   ลูกของลุง  และภรรยาใหม่ของลุง   ใช้การเจรจาแบ่งปันที่ดินกัน  ตามความเหมาะสม   คงดีกว่าต้องฟ้องร้องกัน  เพราะคงได้รับความสูญเสียทั้งคู่ ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-06-09 10:26:39 IP : 101.51.186.87



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.