ReadyPlanet.com


ปลดล้มลาย


 อยากสอบถามหน่อยครับ

พอดีพ่อกับแม่จะได้คืนเงินประกันสะสม แต่โดนอายัดไว้เพราะคดีล้มละลาย แต่ตอนนี้โดนตัดสินล้มละลายมาเกิน 3 ปีแล้วแต่ศาลยังยืดออกไปอีก 2 ปีเพราะไม่เคยไปศาลเลย อยากถามว่า

1.จะไปยื่นคำร้องขอปลดล๊อคล้มละลายต่อศาลได้มั๊ยครับ

2.ถ้าปลดล๊อคแล้ว เงินประกันที่โดนอายัดจะได้รับหรือเปล่าครับ หรือจะโดนยึด (เห็นประกันบอกถ้าศาลปลดให้ก็สั่งจ่ายให้ได้เลย)

ขอบคุณล่วงหน้าครับ



ผู้ตั้งกระทู้ ธเนศ :: วันที่ลงประกาศ 2014-06-13 20:32:44 IP : 125.27.64.245


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3655684)

 

1.จะไปยื่นคำร้องขอปลดล็อคล้มละลายต่อศาลได้มั๊ยครับ
ตอบ....ควรไปติดต่อสอบถาม  จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์  โดยตรง...  การไม่ไปรายงานตัวตาม พรบ.ล้มละลาย ม.30  อาจเป็นเหตุไม่ได้ปลดจากการล้มละลาย  ภายใน 3 ปี อาจจะขยายเวลาไปเป็น 10 ปี ได้ และมีโทษถึงจำคุก ตาม ม.163  ครับ
2.ถ้าปลดล็อคแล้ว เงินประกันที่โดนอายัดจะได้รับหรือเปล่าครับ หรือจะโดนยึด (เห็นประกันบอกถ้าศาลปลดให้ก็สั่งจ่ายให้ได้เลย
ตอบ..ถ้าได้รับการปลดจากล้มละลาย   ประกันคงจ่ายให้  แต่การไม่ไปรายงานตัว ย่อมมีปัญหา แน่นอน    ครับ
 
มาตรา 30 เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ลูกหนี้ต้องปฏิบัติ ดั่งต่อไปนี้
(1) ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ลูกหนี้ได้ทราบคำสั่งนั้นลูกหนี้ ต้องไปสาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และยื่นคำชี้แจงตามแบบพิมพ์ว่า ได้มีหุ้นส่วนกับผู้ใดหรือไม่ ถ้ามีให้การระบุชื่อและตำบลที่อยู่ของห้าง หุ้นส่วนและผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
(2) ภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้ทราบคำสั่งนั้น ลูกหนี้ต้องไป สาบานตัวต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์ สินของลูกหนี้ตามแบบพิมพ์ แสดงเหตุผลที่ทำให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว สินทรัพย์และ หนี้สิน ชื่อตำบลที่อยู่ และอาชีพของเจ้าหนี้ทรัพย์สินที่ได้ให้เป็นประกัน แก่เจ้าหนี้และวันที่ได้ให้ทรัพย์สินนั้น ๆ เป็นประกันรายละเอียดแห่งทรัพย์สิน อันจะตกได้แก่ตนในภายหน้าทรัพย์สินของคู่สมรส ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคล อื่นซึ่งอยู่ในความยึดถือของตน
ระยะเวลาตาม มาตรา นี้ เมื่อมีเหตุผลพิเศษ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อาจขยายให้ได้ตามสมควร
ถ้าลูกหนี้ไม่อยู่หรือไม่สามารถทำคำชี้แจงตาม มาตรา นี้ได้ ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ทำแทน หรือช่วยลูกหนี้ในการทำคำชี้แจงแล้วแต่กรณี และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจจ้างบุคคลอื่นเข้าช่วยตามที่เห็นจำเป็น โดยคิดหัก ค่าใช้จ่ายจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้
มาตรา 163 ลูกหนี้คนใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้มีความ ผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือจำคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งปรับ ทั้งจำ
(1) ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง มาตรา 23 มาตรา 30 หรือ มาตรา 67 (1) หรือ (2) โดยไม่มีข้อแก้ตัวอันสมควร

 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2014-06-15 10:29:15 IP : 101.51.174.194



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.