ReadyPlanet.com


ฟ้องเมียน้อยได้ไหม


ขอปรึกษาค่ะ ดิฉันสามีอยู่ด้วยกันมา 12 จะเข้า 13 ปี โดยไม่ได้แต่งงานและจดทะเบียนเป็นทางการ และยังไม่มีลูกด้วยกัน  ดิฉันมาทราบภายหลังว่าสามีไปมีภรรยาน้อย เมื่อต้นปี 55   และมารู้ว่ามีลูกด้วยกัน ตั้งแต่ปลายปี 53  เด็กอายุ 2 ขวบ เมื่อจับได้เขาก็ยอมรับและผิดพลาดไปแล้ว จะไม่ยุ่งกับผู้หญิงคนนี้อีก แต่จะขอรับผิดชอบส่งเสียดูแลเด็ก ครั้งแรกดิฉันก็เสียใจ เป็นทุกข์ใจมากเกือบจะเอาชีวิตตัวเองทิ้ง ปกติสามีก็จะอยู่กับดิฉันเป็นปกติ นอกจากต้องเดินทางเรื่องงาน ทำให้ดิฉันไว้ใจเขามาก และมากลางปี 55 สามีก็บอกว่า ผู้หญิงท้องลูกคนที่ 2 ทั่งๆที่บอกว่าไม่ยุ่งกับผู้หญิงแล้วและเลือกดิฉันบอกเลิกทางนั้น ดิฉันเสียใจมาก เกือบจะเสียอนาคต และเสียงาน เพราะรับไม่ได้  ทุกข์เป็นอย่างมาก และตอนนี้ตั้งสติได้ จึงได้ชวนสามีไปจดทะเบียนกัน เมื่อ 10 พฤษภาคม 2556 นี้

ดิฉันจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเมียน้อยได้ไหม

1.ภรรยาน้อยเป็นคนต่างด้าว วีซ่านักท่องเทียวต่ออายุ

2.สามีไปเช่าบ้านให้อยู่ข้างบ้านของญาตสามีตั้งแต่มีลูกคนแรก-ปัจุบัน

3.การจดทะเบียนจะมีผลย้อนหลังไป 12 ปีได้ไหม

4.เด็กใช้นามสกุลสามี และอยู่ในทะเบียนบ้านด้วย



ผู้ตั้งกระทู้ buuy :: วันที่ลงประกาศ 2013-05-19 18:31:43 IP : 14.207.193.144


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3310756)

  ดิฉันจะฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเมียน้อยได้ไหม

 
1.ภรรยาน้อยเป็นคนต่างด้าว วีซ่านักท่องเทียวต่ออายุ
 
ตอบ....ฟ้องเรียกค่าทดแทนได้  ภายในหนึ่งปี   แต่เหตุที่สามีมีเมียน้อย   เกิดขึ้นก่อนคุณจดทะเบียนสมรส    น่าจะฟ้องย้อนหลังไม้ได้  ถ้าเขามีพฤติการณ์มายุ่งเกียวกับสามีของคุณ  ภายหลังจดทะเบียนสมรสแล้ว   ก็ฟ้องได้   ขอแนะนำว่า  อย่าได้ไปฟ้องร้องเลย  เพราะสามีของคุณก็มีส่วนผิดด้วย   และเวรย่อมระงับด้งยการไม่จองเวร ครับ
 
2.สามีไปเช่าบ้านให้อยู่ข้างบ้านของญาติสามีตั้งแต่มีลูกคนแรก-ปัจุบัน
 
ตอบ...เมื่อเหตุการณ์ล่วงเลยมาถึงปานนี้   คุณต้องทำใจยอมรับสภาพ  ถ้าจะใช้กฎหมายแก้ปัญหา  น่าจะแก้ไขไม่ได้   ถ้าคุณไปฟ้องร้อง  สามีของคุณคงไม่พอใจ และครอบครัวอาจแตกแยก และเขาคงหาทางออกลำบาก  เพราะมีลูกถึงสองคน ครัึบ
 
3.การจดทะเบียนจะมีผลย้อนหลังไป 12 ปีได้ไหม
 
ตอบ....น่าจะมีผลย้อนหลังเฉพาะเรื่องบุตร    คือถ้าคุณและสามี  มีบุตรด้วยกัน   เมื่อจดทะเบียนสมรส   บุตรก็จะเป็นที่ชอบด้วยกฎหมาย  เมื่อยังไม่มีบุตร   ก็คงไม่มีผลย้อนหลัง จะมีผล ย้อนหลังหรือไม่  คุณไม่ต้องไปคิดกังวล   เพราะเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว   คุณก็คือภรรยที่ชอบด้วยกฎหมาย  แต่ปัญหาเรื่องเมียหลวง เมียน้อย  คงแก้ไขไม่ได้ง่ายๆ   คุณต้องใช้ความอดทนขั้นสูงสุด  เพื่อให้สามารถผ่านเหตุการณ์นี้ไปให้ได้ครับ  
 
4.เด็กใช้นามสกุลสามี และอยู่ในทะเบียนบ้านด้วย
 
 
ตอบ....ถือว่า สามีให้การรับรองบุตร   ที่ทำให้บุตรกลายเป็นทายาท  ที่รับมรดกของสามีได้  เมื่อสามีถึงแก่กรรม.....ถ้าคุณจะแก้ไขปัญหานี้   ก็ให้สามีทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินให้คุณผู้เดียวก็ได้ (ถ้าสามียินยอม) แต่ในเมื่อคุณไม่มีบุตร    เด็กก็คือบุตรของสามี   ถ้าคุณมีเมตตา  กุศลผลบุญย่อมส่งผลให้คุณได้พบกับความสุข อย่างแน่นอน ครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-05-20 13:52:52 IP : 101.51.167.187


ความคิดเห็นที่ 2 (3310770)

ขอบคุณที่ให้คำแนะนำค่ะ ขอปรึกษาต่อดังนี้ค่ะ

1.ปัญหาเมียหลวง เมียน้อย จะมีทางจบได้ไหมคะ เพราะเมียน้อยก็ไม่ยอมไปไหน ไม่เลิกยุ่ง ที่สำคัญ บ้านที่เช่าอยู่ติดกับ บ้านดิฉันที่สามีโอนให้ดิฉันมีกรรมสิทธิ์และเป็นเจ้าของบ้าน หลังจากที่ดิฉันทราบเรื่องเมียน้อย  และสามีเอาชื่อลูกเข้ามาอยู่ทะเบียนบ้านก่อนโอนให้ดิฉัน เมียน้อยจะตามทวนให้สามีเอาบ้านคืนจากดิฉัน เขาจะทำได้ไหมคะ (ปกติบ้านนี้ให้แม่ของสามีอยู่ จนปัจจุบันดิฉันก็ให้แม่สามีอยู่ ส่วนดิฉันมีบ้านเป็นของตัวเองและอยู่กับสามีอีกหลัง ต่างอำเภอกัน ) ดิฉันจึงไม่ทราบว่า เขาแอบมีเมียน้อยเพราะไว้ใจเขาบอกไปเยี่ยมแม่ทุกอาทิตย์ จึงไม่สงสัยอะไร 

2.ถ้าเขาไม่เลิกยุ่งเกี่ยวกัน ดิฉันจะฟ้องได้ไหม เพราะดิฉันอดทนมานาน  พร้อมจะยอมเสียสามี เพราะเขาทำให้ทุกข์ใจไม่สิ้นสุด เขาแอบไปหาเมียน้อย เสมอ อ้างว่าเป็นห่วงลูก  สภาพอย่างนี้ก็คงไม่จบ  ดิฉันจะเสียอะไรไหม เมียน้อยร้ายกับดิฉัน เคยโทรมาเย้ย และเปิดโทรศัพย์เมื่อเวลาอยู่กับสามีให้รู้ว่าอยู่ด้วยกัน ทำอะไร พูดอะไร (สามีไม่รู้) จะยุแย่สามี หากดิฉันไปวุ่นวาย หรือต่อว่าเขา(เมียน้อย)สามีก็จะมาต่อว่าดิฉัน

3. สามีเคยบอกดิฉันว่าจะเอาเด็กมาเลี้ยงเอง โดยให้เมียน้อยดูแลลูกคนเล็ก และลูกคนแรกจะให้มาอยู่กับสามีและดิฉัน เคยเอามาอยู่เป็นอาทิตย์ เมียน้อยไม่ทราบ เด็กก็ติดดิฉันมาก ไม่อยากกลับบ้านที่เมียน้อยอยู่ เมียน้อยทราบ ดุ ด่า หยิก ลูก ถ้าพูดถึงดิฉัน ดิฉันก็เขาใจ แต่สถานภาพความเป็นอยู่ของเมียน้อย ยังช่วยตัวเองไม่ได้เลย ต้องอาศัยสามี  บางช่วงสามีก็อาศัยดิฉัน  สามีมีสิทธิในตัวลูกไหม หรือต้องไปจดรับรองเด็ก แล้วเมียน้อยจะมีสิทธิในตัวลูกแค่ไหน  (ดิฉันหาทางออกช่วยสามี แต่สามีไม่ตัดสินใจอะไรสักอย่าง)

4.กรณีคนต่าวด้าว มาทำงานที่เมืองไทย โดยวีซ่านักท่องเที่ยว ไม่ได้ทำอะไรแต่มาเป็นเมียน้อย ทำให้ครอบครัวคนไทยแตกแยก โดยกฏหมายไม่สามารถทำอะไรได้เลยหรือคะ  มาท่องเที่ยว แต่มาเป็นเมียน้อย และหางานมาทำที่บ้านเช่า จะทำอะไรได้บ้าง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น buuy วันที่ตอบ 2013-05-20 15:44:36 IP : 14.207.193.144


ความคิดเห็นที่ 3 (3310777)

ขอปรึกษาอีกเรื่องค่ะ

1.สามีได้ย้ายเด็กเข้าทะเบียนบ้าน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน และตอนนี้ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้นแล้ว ซึ่งดิฉันเป็เจ้าของกรรมสิทธิและเจ้าบ้าน ส่วนสามีไม่ได้อยู่ในทะเบียนบ้านหลังนั้นแล้ว ถือว่า เป็นการรับรองบุตรได้หรือไม่ มีผลกับบ้านหลังนี้ไหม

2.เมียน้อยเอาเด็กไปแจ้งเกิดทำสัญชาตของแม่ อย่างนี้มีผลกับตัวเด็กอย่างไร(เป็นคน 2 สัญชาตหรือเปล่า)กรรมสิทธิในตัวเด็กคือใคร

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น buuy วันที่ตอบ 2013-05-20 19:17:25 IP : 14.207.193.144


ความคิดเห็นที่ 4 (3310791)

  1.ปัญหาเมียหลวง เมียน้อย จะมีทางจบได้ไหมคะ เพราะเมียน้อยก็ไม่ยอมไปไหน ไม่เลิกยุ่ง ที่สำคัญ บ้านที่เช่าอยู่ติดกับ บ้านดิฉันที่สามีโอนให้ดิฉันมีกรรมสิทธิ์และเป็นเจ้าของบ้าน หลังจากที่ดิฉันทราบเรื่องเมียน้อย  และสามีเอาชื่อลูกเข้ามาอยู่ทะเบียนบ้านก่อนโอนให้ดิฉัน เมียน้อยจะตามทวนให้สามีเอาบ้านคืนจากดิฉัน เขาจะทำได้ไหมคะ (ปกติบ้านนี้ให้แม่ของสามีอยู่ จนปัจจุบันดิฉันก็ให้แม่สามีอยู่ ส่วนดิฉันมีบ้านเป็นของตัวเองและอยู่กับสามีอีกหลัง ต่างอำเภอกัน ) ดิฉันจึงไม่ทราบว่า เขาแอบมีเมียน้อยเพราะไว้ใจเขาบอกไปเยี่ยมแม่ทุกอาทิตย์ จึงไม่สงสัยอะไร 

 
 
 
ตอบ....ในเมื่อสามีโอนที่ดินและบ้านให้คุณแล้ว   การจะเรียกร้องกลับคืน  ก็มีทางเป็นไปได้  โดยใช้สิทธิตาม ปพพ. ม.1469  สรุปก็คือ  สามีสามารถบอกล้างการให้ได้ทุกเมื่อ  หรือบอกล้างภายในหนึ่งปี  นับแต่หย่าขาดจากกัน    ถ้าสามีใช้สิทธิบอกล้าง การให้  ผลก็คือ  บ้านที่ดินก็กลับมาเป็นสินสมรสดังเดิม   ที่สามีและคุณต้องแบ่งกันคนละครึ่ง   แต่ต้องฟ้องศาล   ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ    ในขณะนี้คุณอยู่ในฐานะได้เปรียบ   เพราะสามีโอนให้คุณแล้ว....ถ้าคุณแก้เกมโดยการโอนที่ดินให้บุคคลอื่น  สามีก็เรียกคืนไม่ได้ ครับ
 
 
2.ถ้าเขาไม่เลิกยุ่งเกี่ยวกัน ดิฉันจะฟ้องได้ไหม เพราะดิฉันอดทนมานาน  พร้อมจะยอมเสียสามี เพราะเขาทำให้ทุกข์ใจไม่สิ้นสุด เขาแอบไปหาเมียน้อย เสมอ อ้างว่าเป็นห่วงลูก  สภาพอย่างนี้ก็คงไม่จบ  ดิฉันจะเสียอะไรไหม เมียน้อยร้ายกับดิฉัน เคยโทรมาเย้ย และเปิดโทรศัพย์เมื่อเวลาอยู่กับสามีให้รู้ว่าอยู่ด้วยกัน ทำอะไร พูดอะไร (สามีไม่รู้) จะยุแย่สามี หากดิฉันไปวุ่นวาย หรือต่อว่าเขา(เมียน้อย)สามีก็จะมาต่อว่าดิฉัน
 
ตอบ....ให้คุณยื่นคำขาดกับสามี   ให้เขาเลิกยุ่งเกี่ยวกับเมียน้อย   ถ้าไม่เป็นผล   ก็ควรใช้สิทธิฟ้องหย่า  และเรียกค่าทดแทนจากสามีและเมียน้อยได้   ต้องฟ้องภายในหนึ่งปี  นับแต่คุณจดทะเบียนสมรส  ครับ
 
3. สามีเคยบอกดิฉันว่าจะเอาเด็กมาเลี้ยงเอง โดยให้เมียน้อยดูแลลูกคนเล็ก และลูกคนแรกจะให้มาอยู่กับสามีและดิฉัน เคยเอามาอยู่เป็นอาทิตย์ เมียน้อยไม่ทราบ เด็กก็ติดดิฉันมาก ไม่อยากกลับบ้านที่เมียน้อยอยู่ เมียน้อยทราบ ดุ ด่า หยิก ลูก ถ้าพูดถึงดิฉัน ดิฉันก็เขาใจ แต่สถานภาพความเป็นอยู่ของเมียน้อย ยังช่วยตัวเองไม่ได้เลย ต้องอาศัยสามี  บางช่วงสามีก็อาศัยดิฉัน  สามีมีสิทธิในตัวลูกไหม หรือต้องไปจดรับรองเด็ก แล้วเมียน้อยจะมีสิทธิในตัวลูกแค่ไหน  (ดิฉันหาทางออกช่วยสามี แต่สามีไม่ตัดสินใจอะไรสักอย่าง)
 
ตอบ....ในเมื่อไม่จดทะเบียนรับรองบุตร   อำนาจการปกครองบุตร  จึงเป็นของเมียน้อยเท่านั้น.....คุณอย่าไปหลงทาง  สามีใช้เรื่องลูกมาเป็นข้ออ้าง   เพื่อไม่ยอมเลิกกับเมียน้อยเท่านั้น  ดังนั้นคุณต้องตัดสินใจเลือกทางเดินอย่างเด็ดขาด   คือฟ้องหย่า และต่างคนต่างไป  หรือยอมทนทุกข์ปล่อยคาราคาซังไว้เช่นนี้   ซึ่งคุณคงต้องทนทุกข์ชั่วชีวิต  ครับ
 
4.กรณีคนต่าวด้าว มาทำงานที่เมืองไทย โดยวีซ่านักท่องเที่ยว ไม่ได้ทำอะไรแต่มาเป็นเมียน้อย ทำให้ครอบครัวคนไทยแตกแยก โดยกฏหมายไม่สามารถทำอะไรได้เลยหรือคะ  มาท่องเที่ยว แต่มาเป็นเมียน้อย และหางานมาทำที่บ้านเช่า จะทำอะไรได้บ้าง
 
ตอบ....ติดต่อสอบถาม ตม. (ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง)  ถ้าวีซ่าเขาขาด  หรือเข้ามาในประเทศโดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอน  นอกจากถูกดำเนินคดีแล้ว  ต้องถูกผลักดันออกนอกประเทศ  ถ้าคุณใช้ประเด็นนี้มาแก้เกม   น่าจะแก้ปัญหาได้ ครับ
 
5..สามีได้ย้ายเด็กเข้าทะเบียนบ้าน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน และตอนนี้ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้นแล้ว ซึ่งดิฉันเป็เจ้าของกรรมสิทธิและเจ้าบ้าน ส่วนสามีไม่ได้อยู่ในทะเบียนบ้านหลังนั้นแล้ว ถือว่า เป็นการรับรองบุตรได้หรือไม่ มีผลกับบ้านหลังนี้ไหม
 
ตอบ...ก็อาจเป็นการรับบุตรโดยปริยาย....เรื่องบ้าน   การที่คุณให้ผู้อื่นอาศัยอยู่  ควรทำสัญญาเช่าไว้  เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อาศัยมาอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์  ให้ยุ่งยากในภายหลัง  แต่ถ้าเด็กเพียงมีชื่อในทะเบียนบ้าน  แต่ไม่ได้อาศัยในบ้านจริง  ก็อ้างสิทธิใดๆไม่ได้ ครับ
 
6.เมียน้อยเอาเด็กไปแจ้งเกิดทำสัญชาตของแม่ อย่างนี้มีผลกับตัวเด็กอย่างไร(เป็นคน 2 สัญชาตหรือเปล่า)กรรมสิทธิในตัวเด็กคือใคร
 
ตอบ...ในฐานะแม่เขาจะจัดการอย่างไรกับบุตรของเขาก็ปล่อยไป  จะมีกี่สัญชาติ  ก็ไม่มีผลอะไรกับคุณ  เรื่องอำนาจปกครองบุตร (พาเด็กไปอยู่ในที่ใดๆ   )เป็นอำนาจของเมียน้อยซึ่งเป็นแม่ของเด็กเท่านั้น ครับ
 
 
 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-05-21 10:28:55 IP : 101.51.169.105


ความคิดเห็นที่ 5 (3310794)

ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างและชัดเจน

ทำให้มีความมั่นใจ และเชื่อมั่นมากขึ้น ที่ผ่านมา เชื่อใจ และสงสารเด็ก จึงเป็นจุดอ่อนของเรา

ขอให้ท่านที่ให้คำแนะนำเจริญยิ่งๆขึ้นไป

ผู้แสดงความคิดเห็น buyy วันที่ตอบ 2013-05-21 13:13:45 IP : 202.80.245.75


ความคิดเห็นที่ 6 (3738443)

 ต้องมีระยะเวลามัยค่ะถ้าจะฟ้องภรรยาน้อย สามีพึ่งไปได้ หนึ่งอาทิตย์ ถ้ามีหลักฐานว่าไปอยู่ด้วยกัน ตอนนี้ยังไม่ได้หย่ากันคะ มีลูกสองคน ซึ่งลูกแม่สามีเป็นคนเลี้ยงให้ เคยขอลูกมาแต่แม่สามีไม่ให้เพราะเป็นคนเลี้ยงมา เลยตัดสินใจให้แม่สามีเลี้ยงต่อ ตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะปรึกษาใครแล้ว แล้วคำตอบจะตามได้ช่องทางไหนค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น aee (aee6545-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2014-11-22 16:00:27 IP : 125.25.141.103


ความคิดเห็นที่ 7 (4315266)

 แต่งงานกับสามี 8ปี มีบุตรด้วยกัน1คน สามีเคยส่งเงินให้สามปีแรกเดือนละ30000บาท แต่หลังจากนั้นปีที่4ถึงปีที่8ไม่ได้อยู่ด้วยกันเนื่องจากอาชีพต่างกันสามีทำงานต่างจังหวัดและไม่ได้ส่งเงินมาแต่จับได้ว่าไปมีภรรยาน้อยและขณะนี้มีบุตรสาวด้วยกัน1คนอายุ1ขวบ  อยากสอบถามค่ะว่าเราเป็นภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายจดทะเบียนสมรส มีสิทธิฟ้องอย่าได้ไหมค่ะเพราะตัวของสามีไม่ยอมอย่าร้างแต่บอกให้ไปฟ้องศาลเองค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น สา (Salee0205-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2019-06-27 02:54:43 IP : 49.230.2.44



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.