ReadyPlanet.com


เป็น ผจก มรดกตามพินัยกรรม ยังต้องรอให้ศาลแต่งตั้งด้วยหรือไม่


 คุณอาเขียนพินัยกรรม(แบบมีพยาน 2คน)ระบุให้ผมเป็น ผจก มรดก ทำหน้่าที่ขายที่ดินหนึ่งแปลงและหุ้นส่วนในกิจการโรงแรมแห่งหนึ่งแล้วนำเงินมาแบ่งให้ลูกๆของคุณอาซึ่งอยู่ ตปท เมื่อคุณอาเสียชีวิต ผมได้ทำเรื่องโดยตรงที่สำนักงานที่ดินท้องที่เพื่อปรับปรุงชื่อในโฉนดที่ดินเป็นชื่อของผมในฐานะเป็น ผจก มรดก (โดยไม่ต้องใช้คำสั่งแต่งตั้งของศาลแต่ใช้หลักฐานทางพินัยกรรมและเอกสารอื่นๆ) และเรื่องก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ผมไม่ทราบว่าในกรณีของหุ้นส่วนกิจการโรงแรมนั้นผมต้องใช้คำสั่งศาลหรือไม่หรือสามารถนำพินัยกรรมไปแสดงให้กรรมการของกิจการโรงแรมทราบและให้เขาปรับปรุงทะเบียนชื่อคุณอาเป็นชื่อของผมได้เลยหรือไม่ อนึ่งการปรับปรุงชื่อให้เรียบร้อยก็เพื่อความสะดวกในการขายเมื่อโอกาสนั้นมาถึง

ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ เอนก :: วันที่ลงประกาศ 2012-10-02 20:33:34 IP : 113.53.61.70


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3300082)

 การได้รับแต่งตั้ง  เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม   อาจสามารถจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ทันที   ถ้าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องไม่โต้แย้งคัดค้าน  เช่นคุณสามารถไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดินได้โดยไม่มีปัญหาอะไร   สำหรับเรื่องหุ้นต่างๆ   ถ้ามีการโต้แย้งว่า พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ขึ้นมา    คุณก็มีความจำเป็นต้องร้องศาลขอ ให้ตั้งคุณเป็นผู้จัดการมรดกอีกชั้นหนึ่ง   ถ้าไม่ร้องศาล  คงเกิดความขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกได้ครับ....แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง...

 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1840/2551
 
นายกิตติ บุญสัมฤทธิ์ ในฐานะผู้ปกครอง     
สถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี     
(หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์)     ผู้ร้อง
 
พันโทจเร อรัณยภูติ              ผู้คัดค้าน
 
 
ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง
 
          คดีนี้ผู้ตายทำพินัยกรรมโดยระบุให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก แต่การตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมกรณีนี้หามีผลสมบูรณ์โดยเด็ดขาดไม่ เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านไว้ว่า ผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรม ลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตาย จึงเป็นพินัยกรรมปลอม กรณีจึงถือว่ามีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย จึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง
 
________________________________
 
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอและแก้ไขคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นผู้ปกครองสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) สังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครปฐม ซึ่งนางสาวไพบูลย์ผู้ตายได้เข้ารับการสงเคราะห์นางสาวไพบูลย์ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2547 ด้วยสาเหตุหัวใจล้มเหลว ก่อนถึงแก่ความตายผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือเงินฝากที่สถานสงเคราะห์คนชรา 674,616.29 บาท และผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกมีพินัยกรรมของผู้ตาย
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย โดยบิดามารดาและพี่น้องคนอื่นถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมตามคำร้องเพราะมิใช่ลายมือชื่อของผู้ตายจึงเป็นพินัยกรรมปลอม ผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตายและไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามกฎหมาย ขอให้ยกคำร้องและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
            ระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นสอบถามผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องแถลงว่า สถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
          ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดไต่สวนแล้วสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ค่าคำร้องให้เป็นพับ
          ผู้ร้องอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องและผู้คัดค้านต่อไปแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำสั่งใหม่
          ผู้คัดค้านฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมหรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1712 บัญญัติว่า ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมอาจตั้งขึ้นได้ (1) โดยผู้ทำพินัยกรรมเอง (2) โดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ตั้ง คดีนี้ผู้ตายทำพินัยกรรมระบุไว้ว่า เมื่อข้าพเจ้านางสาวไพบูลย์เสียชีวิตลงข้าพเจ้าขอมอบให้ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้า แม้ผู้ร้องจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ในภายหลังผู้ตายทำพินัยกรรมแต่ผู้ตายก็ถึงแก่ความตายหลังจากผู้ร้องได้รับการแต่งตั้งแล้ว และเป็นการแต่งตั้งผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา มีตำแหน่งเป็นผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยพินัยกรรม ไม่ใช่เป็นการแต่งตั้งสถานสงเคราะห์ซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลให้เป็นผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด และการตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมกรณีนี้หามีผลสมบูรณ์โดยเด็ดขาดไม่เพราะผู้คัดค้านได้คัดค้านไว้ว่า ผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรม ลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตาย จึงเป็นพินัยกรรมปลอม กรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตาย จึงต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคสอง นอกจากนี้ผู้คัดค้านยังขอให้ยกคำร้องของผู้ร้องและขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ด้วย ประเด็นเรื่องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คำคัดค้านของผู้คัดค้านหาตกไปไม่ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนต่อไป แล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามานั้นศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาของผู้คัดค้านฟังไม่ขึ้น
          พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้ศาลชั้นต้นรวมสั่งเมื่อมีคำสั่งใหม่.
 
 
( ชวลิต สุจริตกุล - สมศักดิ์ จันทรา - เอกชัย ชินณพงศ์ )
 
ศาลจังหวัดนครปฐม - นายชุมพล กาญจนะ
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 - นายชาติชาย อัครวิบูลย์
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-10-03 11:18:59 IP : 101.51.188.180


ความคิดเห็นที่ 2 (3976726)

 ศาลแต่งตั้งให้น้องชายผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแล้ว (โดยภรรยาผู้ตายไม่ได้รับหมายศาล

เพราะไปรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด รู้ตัวอีกทีเลยเวลานัดไต่สวนมาครึ่งเดือน) ต่อไปภรรยาผู้ตายจะทำ

อย่างไรได้บ้าง ถ้ากฎหมายเป็นแบบนี้ภรรยาผู้มีทะเบียนสมรสก็ไม่มีความหมายอะไรใช่หรือเปล่า

อยากรู้วิธีแก้ไขทำยังไงช่วยหน่อย

ผู้แสดงความคิดเห็น ราชินี วันที่ตอบ 2016-04-04 12:34:26 IP : 114.109.139.80


ความคิดเห็นที่ 3 (3976727)

 ศาลแต่งตั้งให้น้องชายผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแล้ว (โดยภรรยาผู้ตายไม่ได้รับหมายศาล

เพราะไปรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด รู้ตัวอีกทีเลยเวลานัดไต่สวนมาครึ่งเดือน) ต่อไปภรรยาผู้ตายจะทำ

อย่างไรได้บ้าง ถ้ากฎหมายเป็นแบบนี้ภรรยาผู้มีทะเบียนสมรสก็ไม่มีความหมายอะไรใช่หรือเปล่า

อยากรู้วิธีแก้ไขทำยังไงช่วยหน่อย

ผู้แสดงความคิดเห็น ราชินี วันที่ตอบ 2016-04-04 12:34:42 IP : 114.109.139.80


ความคิดเห็นที่ 4 (3976729)

 ศาลแต่งตั้งให้น้องชายผู้ตายเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมแล้ว (โดยภรรยาผู้ตายไม่ได้รับหมายศาล

เพราะไปรักษาตัวอยู่ที่ต่างจังหวัด รู้ตัวอีกทีเลยเวลานัดไต่สวนมาครึ่งเดือน) ต่อไปภรรยาผู้ตายจะทำ

อย่างไรได้บ้าง ถ้ากฎหมายเป็นแบบนี้ภรรยาผู้มีทะเบียนสมรสก็ไม่มีความหมายอะไรใช่หรือเปล่า

อยากรู้วิธีแก้ไขทำยังไงช่วยหน่อย

ผู้แสดงความคิดเห็น ราชินี วันที่ตอบ 2016-04-04 12:35:01 IP : 114.109.139.80


ความคิดเห็นที่ 5 (3977139)

 การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมไม่ได้หมายความว่าภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายจะไม่ได้อะไร ให้กลับไปดูพินัยกรรมว่าผู้ตายระบุยกทรัพย์มรดกให้ใครบ้าง ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แค่จัดการมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม ถ้าผู้จัดการมรดกไม่จัดการมรดกให่เป็นไปตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรมสามารถยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนผู้จัดการมรดกได้

ผู้แสดงความคิดเห็น yammee (yammee2006-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-04-04 21:25:59 IP : 27.55.226.92



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.