ReadyPlanet.com


ใบรับรองบุตร


บุตรอายุ 18 ปี แม่เสียชีวิต อาศัยอยู่กับพ่อ

การทำใบรับร้องบุตร พ่อต้องไปทำที่ศาล หรือที่เขตอำเภอคะ

พอดีว่าบางคนบอกให้ไปศาล บางคนบอกให้ไปเขตอำเภอค่ะ

แล้วต้องพาบุตรไปด้วยหรือเปล่าคะ

ถ้าต้องไปที่ศาลต้อวทำผ่านทนายหรือเปล่า

รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ณัฐมณฑ์ :: วันที่ลงประกาศ 2012-10-27 00:47:08 IP : 58.11.182.217


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3301963)

 การจดทะเบียนรับรองบุตร  ต้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร์ที่อำเภอที่มีภูมิลำเนา  ในเมื่อมารดาเสียชีวิต  เมื่อมีใบ มรณบัตรของมารดา   ใบสูติบัตรของบุตร ที่ระบุชื่อ บิดา   และบุตรให้ความยินยอม (บุตรต้องไปด้วย เมื่อมีการจดทะเบียนรับรองบุตร)   เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินเรื่องให้โดยไม่ต้องร้องศาล   เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะค่อนข้างมีปัญหา อาจให้ไปร้องศาลก่อน  ก็ขอแนะนำให้คัดลอกคำพิพากษาศาลฎีกา  ฉบับที่ยกมานี้ ให้เขาอ่านดูก็ได้...   เพราะระบุชัดเจนว่า  บิดาสามารถจดทะเบียนรับรองบุตรได้ โดยไม่ต้องร้องศาล  ที่มีปัญหา  เพราะน้าของเด็กอ้างว่าการรับรองบุตรไม่ถูกต้อง   แต่ศาลฎีกาท่านก็ยืนยันว่า การจดทะเบียนรับรองบุตรนั้น ถูกต้องแล้วครับ

 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  1487/2525
 
 
เรือตรีทองเจือ ขวัญเจริญ ร.น     โจทก์
 
 
นายตุ๊ พานิช กับพวก                     จำเลย
 
 
ป.พ.พ. มาตรา 1548, 1557, 1566, 1567
 
          โดยสายโลหิตแล้วโจทก์เป็นบิดาที่แท้จริงของ จ. และโจทก์ยังได้จดทะเบียนรับรองว่า จ. เป็นบุตรของตนอีกขั้นหนึ่งด้วย โจทก์จึงเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ จ.นับตั้งแต่วันจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1557 และเป็นผู้ปกครองของ จ. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรของตนคืนจากน้าของบุตรคือจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ยอมคืนบุตรให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1567(4)
          ขณะโจทก์จดทะเบียน จ. เป็นบุตรนั้น มารดาของ จ.ถึงแก่กรรมไปแล้วและขณะนั้น จ. มีอายุเพียง 1 ปีเศษมารดา จ. และ จ. จึงไม่อาจคัดค้านหรือให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนได้ การจดทะเบียนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1548
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องว่า นางฉวีวรรณเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 และเป็นน้องสาวจำเลยที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2522 โจทก์กับนางฉวีวรรณได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผย เกิดบุตรด้วยกัน 1 คนคือเด็กชายเจริญวุฒิ โจทก์ให้การอุปการะเลี้ยงดู ให้การศึกษา ให้ใช้นามสกุลแก่เด็กชายเจริญวุฒิตลอดมา เป็นพฤติการณ์ที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กชายเจริญวุฒิเป็นบุตรโจทก์ และต่อมาโจทก์ได้จดทะเบียนรับรองเด็กชายเจริญวุฒิเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วส่วนนางฉวีวรรณได้ถึงแก่กรรมในวันเดียวกับที่เด็กชายเจริญวุฒิเกิด โจทก์ยินยอมให้เด็กชายเจริญวุฒิอาศัยอยู่กับจำเลยทั้งสองชั่วคราว เมื่อเดือนตุลาคม 2522 โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองคืนเด็กชายเจริญวุฒิแก่โจทก์เพื่อไปอยู่ร่วมกับโจทก์ที่กรุงเทพฯ จำเลยไม่ยอมคืน ขอให้ศาลพิพากษาบังคับ
          จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูเด็กชายเจริญวุฒิมาตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน โจทก์ไม่เคยไปมาหาสู่และส่งเสียให้การศึกษา โจทก์กับนางฉวีวรรณมิได้จดทะเบียนสมรส เด็กชายเจริญวุฒิจึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของนางฉวีวรรณแต่ฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์จดทะเบียนรับรองบุตร นางฉวีวรรณก็มิได้ให้ความยินยอมและไม่มีผู้ใดให้ความยินยอมแทนเด็กชายเจริญวุฒิ เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้แจ้งความการขอจดทะเบียนไปยังเด็กและมารดาเด็ก จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษายกฟ้อง
          หลังจากยื่นคำให้การจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรม โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลอนุญาต จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนหรือส่งมอบเด็กชายเจริญวุฒิให้แก่โจทก์
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          จำเลยที่ 2 ฎีกา
          ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นบิดาของเด็กชายเจริญวุฒิ ขวัญเจริญอันเกิดจากนางฉวีวรรณ พานิช หรือขวัญเจริญ ภริยาโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เด็กชายเจริญวุฒิเกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2513 และในวันเดียวกันนั้นนางฉวีวรรณได้ถึงแก่กรรม ต่อมาวันที่ 10 พฤษภาคม 2515 โจทก์ได้ขอจดทะเบียนรับรองเด็กชายเจริญวุฒิ ขวัญเจริญ เป็นบุตร และในวันเดียวกันเจ้าหน้าที่นายทะเบียนได้จดทะเบียนการรับรองบุตรดังกล่าวให้โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 เป็นน้องสาวของนางฉวีวรรณ เป็นน้าของเด็กชายเจริญวุฒิและเป็นผู้อุปการะเลี้ยงเด็กชายเจริญวุฒิมาตั้งแต่เกิด และวินิจฉัยว่าโดยสายโลหิตแล้ว โจทก์เป็นบิดาที่แท้จริงของเด็กชายเจริญวุฒิ ขวัญเจริญ และโจทก์ยังได้จดทะเบียนรับรองว่าเด็กชายเจริญวุฒิเป็นบุตรของตนอีกชั้นหนึ่งด้วย โจทก์จึงเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชายเจริญวุฒินับแต่วันจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557 และเป็นผู้ปกครองเด็กชายเจริญวุฒิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรของตนคืนจากน้าของบุตรคือจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ยอมคืนบุตรมาให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4)
          ข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์จดทะเบียนเด็กชายเจริญวุฒิ เป็นบุตรโจทก์ไม่ได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ทั้งเจ้าหน้าที่ก็มิได้แจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็กและมารดาเด็ก การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรของโจทก์จึงขัดต่อบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าขณะโจทก์จดทะเบียนเด็กชายเจริญวุฒิเป็นบุตรนั้น นางฉวีวรรณมารดาเด็กชายเจริญวุฒิได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว และขณะนั้นเด็กชายเจริญวุฒิก็มีอายุเพียง 1 ปีเศษ นางฉวีวรรณและเด็กชายเจริญวุฒิจึงไม่อาจคัดค้านหรือให้ความยินยอมในการขอจดทะเบียนนั้นได้ การจดทะเบียนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 จึงฟังได้ว่าการจดทะเบียนรับรองบุตรของโจทก์สมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายแล้ว
          พิพากษายืน
 
 
( สหัส สิงหวิริยะ - อัมพล สุวรรณภักดี - สมบูรณ์ บุญภินนท์ )
 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-10-27 08:42:16 IP : 101.51.182.64


ความคิดเห็นที่ 2 (3302103)

 ขอบคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ณัฐมณฑ์ วันที่ตอบ 2012-10-29 15:57:06 IP : 182.52.55.217



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.