ReadyPlanet.com


การฟ้องหมิ่นประมาท


การฟ้องหมิ่นประมาทต้องระบุวัน เวลา สถานที่ ให้ชัดเจนหรือเปล่าครับ ถ้าการหมิ่นประมาทเป็นเพียงแค่คำพูด แล้วมีบุคคลที่ 3 นำไปพูดต่อจนถึงผู้เสียหาย แล้วถ้าผู้พูดคนแรกที่ถูกฟ้องไม่ยอมรับโดยอ้างว่าผู้พูดคนที่ 2-3 ได้แต่งเติมลงไป แบบนี้จะพิสูจน์หลักฐานยังไงหรอครับ แล้วใครจะถูกฟ้อง ระหว่างคนแรก กับคนที่ 2-3



ผู้ตั้งกระทู้ แนะนำหน่อยนะครับ :: วันที่ลงประกาศ 2012-11-11 17:31:45 IP : 101.109.4.248


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3302915)

 การฟ้องความผิดฐานหมิ่นประมาท  ต้องระบุวันเวลา สถานที่  ผู้กระทำความผิด เนื้อความอันเป็นการหมิ่นประมาท   การที่จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท   ต้องเป็นการใส่ความคุณต่อบุคคลที่สาม  โดยประการที่จะทำให้  คุณเสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น  ถูกเกลียดชัง  และต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือน  ที่ทราบการกระทำความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิด.....กรณีที่ถาม   ถ้า  บุคคลที่ 1-2-3  ได้ใส่ความคุณต่อบุคคลที่สาม  ก็ย่อมมีความผิดกันทุกคน    ปัญหาก็คือพยานหลักฐาน  ที่จะมายืนยันในเรื่องนี้ คงหาได้ค่อนข้างลำบาก   เพราะเป็นเพียงคำพูดต่อๆกันไป  ถ้าพยานอ้างว่า ไม่รู้  ไม่เห็น ไม่ทราบ  ก็คงลงโทษผู้กระทำความผิดไม่ได้   และการหมิ่นประมาทมีข้อยกเว้นความผิด  และค่อนข้างเป็นปัญหาข้อกฎหมาย  เช่นการวิพากษ์วิจารณ์  หรือติชมด้วยความเป็นธรรม  หรือเป็นเพียงคำหยาบคายอันไม่สมควร หรือถ้าเขาพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง(ยกเว้นเรื่องส่วนตัว) ก็ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท  เป็นต้น ดังนั้นก่อนจะคิดฟ้องร้องความผิดฐานหมิ่นประมาท  ด้วยพิจารณาดูให้รอบคอบก่อน เพราะอาจเสียเลาเปล่าครับ.......

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-11-12 04:12:22 IP : 101.51.169.221


ความคิดเห็นที่ 2 (3302916)

ขอบคุณครับ ถ้าเรากันบุคคลที่ 2-3 ไว้เป็นพยานบุคคล เพื่อฟ้องร้องคนที่ 1 คนเดียว พอจะเป็นหลักฐานให้ชนะไหมครับ เพราะหลักฐานมีเพียงแค่พยานบุคคลครับ (บุคคลที่ 1 ก็อ้างตลอดว่า 2-3 แต่งเติมจากวาจาตอนพูด)

ผู้แสดงความคิดเห็น ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ วันที่ตอบ 2012-11-12 07:20:15 IP : 136.2.1.105


ความคิดเห็นที่ 3 (3302923)

ในเมื่อ คนที่ 1-2  ได้รู้   ได้เห็น  ได้ยิน  คำพูดที่เป็นการใส่ความคุณ   ก็อ้างเขาเป็นพยานได้   เพราะถือเป็นประจักษ์พยาน  ส่วนข้ออ้างของผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลย  ว่าเป็นการต่อเติมคำพูดในภายหลังนั้น  เป็นรายละเอียดในการพิจารณาคดี    คือบุคคลที่ถูกอ้างเป็นพยาน เมื่อสาบานตนแล้ว  จะถูกฝ่ายอ้างพยาน (ทนายความ)ซักถาม เพื่อให้เล่าข้อเท็จจริง  ที่ได้ยินได้ฟังมา  ทุกขั้นตอน  เมื่อจบคำให้การ  พยานจะถูกซักค้าน   จากทนายความฝ่ายตรงกันข้าม  ซึ่งขั้นตอนนี้มีความสำคัญ  ถ้าพยานได้รู้ได้เห็น  และเบิกความไปตามข้อเท็จจริง  และตอบข้อซักค้านได้ทุกประเด็น ไม่สับสนหลงทางหรือหลงประเด็น  ก็คงไม่มีปัญหา    แต่...ถ้าพยานเบิกความไม่อยู่กับร่องกับรอย   หรือสับสนเมื่อถูกซักค้าน  จนเป็นที่สงสัย  ศาลคงยกประโยชน์ให้จำเลย  คือจำเลยไม่มีความผิด   เว้นแต่ ทนายฝ่ายโจทก์จะสามารถกู้สถานการณ์ให้กลับคืนมา โดยการ ถามติง  ซึ่งบางที  ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะทำให้หมดข้อสงสัยว่า จำเลยกระทำความผิดจริงหรือไม่  พยานหนึ่งคนจะต้องเบิกความถึงสามรอบ  ดังนั้น พยานต้องยืนยันมั่นคง หนักแน่น มีความอดทน  และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี     แต่....คดีหมิ่นประมาท   สามารถยอมความกันได้   ก่อนพิจารณาคดี   ศาลมักให้คู่ความเจรจาไกล่เกลี่ยประนีประนอมก่อน    ถ้าสามารถเจรจากันได้ คดีก็ยุติ  ดังนั้นจะให้สรุปว่า   คุณจะชนะคดีหรือไม่  คงไม่สามารถตอบได้ เพราะมีขั้นตอนวิธีการและรายละเอียดมากมาย   และการตัดสินคดี เป็นดุลยพินิจของศาลเท่านั้นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-11-12 10:17:43 IP : 101.51.177.125



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.