ReadyPlanet.com


ขอปรึกษาเรื่องคดียกเลิกสัญญาเช่าซื้อรถยนต์


ผมชื่ออนุชา ขอปรึกษาเกี่ยวกับไฟแนนซ์ฟ้องหลังจากยึดรถไปแล้ว โดยมีหนังสือแจ้งว่าได้ขายรถทอดตลาดไปแล้วแต่ยังขาดทุนอีก 205,296.86 บาท โดยก่อนหน้านี้ผมได้ไปค้ำประกันให้น้องชายซื้อรถยนต์ เมื่อปี พ.ศ. 2550  โดยดาวน์ไป  60,000.00 บาท และส่งไปแล้วประมาณ 7 งวด ๆ ละ เจ็ดพันกว่าบาท แต่ค้างส่งค่างวด 3 เดือนกว่า แต่ยังไม่ถึง 4 เดือน ไฟแนนซก็ส่งคนมายึดรถ โดยน้องชายผมถามพนักงานที่มายึดรถว่าถ้ายึดไปแล้วทุกอย่างจะจบไหม พนักงานก็บอกว่าจะไม่เป็นไรแค่คืนรถอย่างเดียวหนี้ก็หมด และก็ได้ให้น้องชายผมเซ็นหนังสือ เรื่องก็ผ่านมา 5 ปีแล้วครับ อยู่ๆ ก็มีหนังสือมาที่บ้านเป็นบริษัทรับทวงหนี้ ลงวันที่ 30 พ.ย. 55 ชื่อบริษัท ยุทธนอม จำกัด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ว่าได้รับโอนสิทธิ์ให้ทวงหนี้เป็นจำนวนเงินดังกล่าว และให้ผมและน้องชายติดต่อเพื่อขอชำระหนี้ด่วน แต่ผมคิดว่าเงินจำนวนดังกล่าวมันสูงกว่าความเป็นจริงมากจึงอยากจะปรึกษาว่าจะมีทางสู้คดี และประนีประนมวิธีไหนบ้างครับ และคดีความของผมนี้หมดอายุแล้วหรือยังครับ จึงเรียนมาเพื่อปรึกษา



ผู้ตั้งกระทู้ อนุชา :: วันที่ลงประกาศ 2012-12-26 22:33:37 IP : 49.48.169.81


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3305151)

 เมื่อยึดรถไปขายทอดตลาด   เมื่อหักกลบลบหนี้แล้ว ยังมีหนี้เหลืออยู่  ที่เรียกกันว่า ส่วนต่าง ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน  ยังต้องรับผิดเงินค่าส่วนต่างภายในอายุความ 10 ปี.....แนวทางเจรจาประนีประนอม ก็มีทางทำได้   แต่กฎหมายก็เขียนไว้เพื่อประโยชน์ของนายทุนโดยเฉพาะ   สุดท้ายก็ต้องก้มหน้ารับผิดค่าส่วนต่าง  อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง  ถ้าเพิกเฉยไม่ชำระหนี้   ก็คงถูกบังคับคดี  โดยการยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาด  ก็คงยิ่งเพิ่มความทุกข์อีกทับทวีคูณ   ลองให้ สคบ. ช่วยเจรจาขอลดค่าส่วนต่างลง   บางทีอาจช่วยได้พอสมควร   สายด่วน 1166  ครับ...แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง...

 

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย
 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5032/2547
 
บริษัทวิริยะลีสซิ่ง จำกัด                      โจทก์
 
นายคมกฤช โกวรรธนะกุล กับพวก      จำเลย
 
ป.พ.พ. มาตรา 193/30, 563
 
          แม้ ป.พ.พ. มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ ป.พ.พ. มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ในราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะทราบได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อจำนวน 1,405,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
          จำเลยทั้งสองให้การ ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 821,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 13 ตุลาคม 2542) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          จำเลยทั้งสองฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระขาดอายุความหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจึงต้องฟังว่าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 ก็มิได้บัญญัติว่าการฟ้องคดีอันเกี่ยวแก่สัญญาเช่าซื้อมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าจะต้องเป็นค่าเสียหายเฉพาะที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้บังคับอยู่เท่านั้น ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็มีอายุความ 6 เดือนด้วยนั้น เห็นว่า โจทก์นำสืบว่า หลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแล้วนำออกขายได้ราคา 409,090.91 บาท เมื่อหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเงินยังขาดอยู่ 798,946.83 บาท แต่โจทก์ขอคิดเพียง 600,000 บาท จึงเป็นการนำสืบว่า ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเกิดขึ้นหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์ที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซือ้ได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะทราบได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อไปเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2541 แล้วฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2542 ภายในกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจึงไม่ขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น”
          พิพากษายืน
 
 
( มนตรี ยอดปัญญา - สายันต์ สุรสมภพ - สุพัฒน์ บุญยุบล )
 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-12-27 13:07:54 IP : 101.51.179.122


ความคิดเห็นที่ 2 (4284845)

 กรณีไกล่เกลี่ยแล้วขาดส่งประมาณ5เดือนแต่ยังไม่ถึงกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้อยู่กรมบังคับคดีมายึดทรัพจากธกส.ควรทำอย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น อรญา ระวัง วันที่ตอบ 2018-12-14 13:18:38 IP : 171.6.234.164



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.