ReadyPlanet.com


ปรึกษาการทำสัญญา"คำมั่นว่าจะให้"


 ดิฉันขอเรียนสอบถามดังนี้ค่ะ.. เพื่อนชายของดิฉันต้องการจะให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นมรดกที่ได้รับจากบิดาของเขาที่มอบให้ตามพินัยกรรมแก่ดิฉัน  ซึ่งในพินัยกรรมดังกล่าวระบุไว้ว่าที่ดิน (มีโฉนด) ดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ให้แบ่งเป็น 5 ส่วน  ยกให้ลูกชาย 5 คนรวมถึงเพื่อนชายของดิฉันด้วย  (ปัจจุบันเป็นห้องแถวให้เช่า 5 ห้อง ทุกห้องมีบ้านเลขที่)  โดยในพินัยกรรมระบุว่าบ้านเลขที่ไหนให้ใครอย่างชัดเจน...  ดิฉันจึงขอเรียนสอบถามว่า..หากปัจจุบันที่ดินดังกล่าวยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เพื่อนชายของดิฉัน   เนื่องจากพี่น้องทั้ง 5 คนของเขาตกลงกันว่าจะแบ่งแยกและดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์หลังจากที่มารดาเสียชีวิตแล้ว (ปัจจุบันมารดายังมีชีวิตอยู่)    มีเพียงพินัยกรรมของบิดาเป็นหลักฐานการได้รับมรดก..หากเป็นกรณีนี้เพื่อนชายของดิฉันจะให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแก่ดิฉันในลักษณะการทำสัญญา “คำมั่นว่าจะให้”  ได้หรือไม่ (โดยระบุว่าจะให้ดิฉันเมื่อเขาได้รับโอนกรรมสิทธิ์ตามพินัยกรรมแล้ว) เพราะเขาต้องการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย..หรือหากทำสัญญาคำมั่นว่าจะให้ไม่ได้  จะมีวิธีการดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยวิธีการอื่นหรือไม่คะ..และมีเอกสารประกอบการดำเนินการอย่างไรบ้างคะ.. ขอเรียนถามและขอคำปรึกษาท่านด้วยค่ะ..ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ให้ความช่วยเหลือนะคะ..ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ นครพนม :: วันที่ลงประกาศ 2013-11-06 20:46:47 IP : 223.207.11.39


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3314471)

.........ก็ใช้รูปแบบสัญญาการให้  ดัดแปลงเป็นสัญญาจะให้  ดังตัวอย่าง    ถ้าเพื่อนชายของคุณ   ยินยอมทำสัญญาในลักษณะนี้  แสดงว่า เขาคงรักคุณจนหมดใจ   ครับ                    

 

                           สัญญาจะให้ที่ดิน(พร้อมสิ่งปลูกสร้าง)

 
ทำที่…….……………………………………………………………………………….
วันที่……………………..เดือน………………………พ.ศ……………………..
 
ข้าพเจ้า (นาย,นางสาว,นาง)…………อายุ……………………ปี อยู่บ้านเลขที่……………..ตำบล/แขวง…………………อำเภอ/เขต………………………จังหวัด………………………ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้จะให้”
ตกลงจะมอบที่ดินโฉนดที่…………เลขที่………………..ระวางที่……………ตำบล/แขวง…………………อำเภอ/เขต………………………จังหวัด……………………  พร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นการให้ โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทนใดๆทั้งสิ้น ให้แก่(นาย,นาง,นางสาว)………………………อายุ…………ปี อยู่บ้านเลขที่…………………ตำบล/แขวง…………อำเภอ/เขต……………จังหวัด………ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “ผู้รับ” เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวตลอดไปและผู้จะรับได้ยอมรับเอาที่ดินดังกล่าวแล้ว
           ในการนี้ผู้จะให้จะส่งมอบที่ดินนี้ให้แก่ผู้รับได้ครอบครองไว้ตั้งแต่วันที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ตามพินัยกรรมของบิดา โดยผู้จะให้จะไปจดทะเบียนการโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้รับในวันที่ ที่ได้รับโอนตามพินัยกรรมเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย   โดยผู้จะให้  เป็นผู้ออกค่าใช้ค่าธรรมเนียม  ภาษีเงินได้  และค่าใช้จ่ายอื่นๆในการจดทะเบียนโอนการให้ทั้งสิ้น
       สัญญาฉบับนี้  ไม่มีอายุความ  สามารถใช้บังคับได้ตลอดไป  จนกว่าผู้จะให้ได้จดทะเบียนที่ดินดังกล่าวข้างต้น ให้แก่ผู้รับ   ถ้าผู้จะให้ผิดสัญญาการจะให้  ต้องรับผิดชำระค่าปรับแก่ผู้จะรับ  วันละ 1,000  บาท (หนึ่งพันบาถ้วน) จนกว่าจะยอมปฏิบัติตามสัญญา    ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้สิทธิฟ้องร้องทางศาล  ให้ฟ้องที่ศาลจังหวัด..........โดยผู้จะให้  ต้องรับผิดชอบ ในค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความ  และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีทั้งหมด
       เอกสารแนบท้ายสัญญา  ได้แก่  สำเนาทะเบียนบ้าน  สำเนาบัตรประชาชน  ของผู้จะให้ ที่ผู้จะให้ลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร  พร้อมสำเนาโฉนดที่ดิน ที่จะให้  โดยระบุจุดที่จะให้ไว้ในสำเนาเอกสารอย่างชัดเจน  และผู้จะให้ลงลายมือชื่อรับรองไว้
       สัญญาให้ที่ดินฉบับนี้ได้รับความยินยอมจากสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นเป็นสองฉบับมีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาต่างได้อ่านและเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้วเห็นว่าถูกต้องตรงตามเจตนา จึงได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานเป็นสำคัญและต่างได้ยึดถือไว้ฝ่ายละฉบับ
                                               
ลงชื่อ………………..…………………………………ผู้จะให้
 (                                                     )
              ลงชื่อ…...……………………………..………………ผู้รับ
         (                                              )                                                         ลงชื่อ…………………..……………………พยาน

                                           (                                            )

           ลงชื่อ..............พยาน     

                (...............)                                   

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-11-07 13:13:47 IP : 101.51.177.28


ความคิดเห็นที่ 2 (3314472)

เพิ่มเติม....ในเมื่อบิดาผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตแล้ว  พินัยกรรมย่อมมีผลบังคับ  ลูกๆทั้ง 5 คน  สามารถแบ่งปันทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมได้  ทำไมต้องรอให้แม่เสียชีวิตก่อน ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-11-07 13:17:46 IP : 101.51.177.28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.