ReadyPlanet.com


สิทธ์ิในพื้นที่


เรื่องมีอยู่ว่า บ้านหลังหนึ่งพร้อมที่ดิน ได้กลายเป็นโฉนดแล้ว ชื่อ ภรรยาเป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ แล้วได้อาศัยอยู่กับครอบครัว สามี และ ลูกๆ  วันหนึ่ง ภรรยาได้นำ บ้านและที่ดิน ไปจำนองกับธนาคาร โดยมีส่วนตัวบ้านบางส่วน ไม่ได้อยู่ในโฉนด หรือว่าง่ายๆ ไปจำนองบ้านพร้อมที่ดินที่ไม่เต็มหลัง มีส่วนของบ้านเกินออกไปในพื้นที่ของตนเองอีกผืนหนึ่ง โดยผืนนั้นยังเป็นพื้นที่จับจอง ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ใดๆ  พอระยะเวลาผ่านไป สามีกับภรรยาได้เลิกกัน โดยภรรยา ไม่ได้แจ้งชื่อย้ายออกจากบ้านหลังนี้ ได้ไปอาศัยอยู่ที่อื่น และไม่ได้ส่งงวดบ้านหลังนี้ให้ธนาคาร จนระยะเวลาผ่านไป บ้านหลังนี้หลุดเป็นของธนาคาร ได้กลายเป็นสินทรัพย์ของธนาคาร และธนาคารได้ประกาศขายบ้านหลังนี้ ต่อมา 5 ปี ได้มี  นาย  ก มาซื้อบ้านหลังนี้ ได้โอนเรียบร้อย และได้ย้ายชื่อเข้ามาเป็นเจ้าของบ้านเรียบร้อยแล้ว และได้เข้าไปดูบ้าน ได้บอกกับ คนที่อาศัยอยู่ในบ้านว่าตนเป็น เจ้าของบ้านหลังนี้แล้ว แต่คนอาศัยอยู่ในบ้านเขาก็บอกว่า คุณซื้อบ้านหลังนี้ได้ยังไง เพราะว่าคุณจะได้บ้านไม่เต็มหลัง มีส่วนเกินออกไปยังพื้นที่ของเขาที่เข้าอ้าง นาย ก จึงกลับไปยังสำนักงานที่ดินใน เขตนั้น แล้วก็จะให้มาวัด แต่สำนักงานที่ดินในเขตนั้นได้บอกว่า พื้นที่ส่วนนั้น เป็นสิทธิ์ของเรา เป็นที่ดินได้ปล่าว อีกอย่างก็อยู่ในรั้วบ้านของเรา เราจึงมีสิทธิ์ในพื้นที่ตรงนั้นด้วย  นาย ก จึงกลับมาแจ้งคนอาศัยในบ้านให้ย้ายออก แต่เขาก็ไม่ย้ายออก เรื่องก็ยัง ค้างคามาถึงทุกวันนี้  เรื่องก็ค้างคามา 6 เดือนแล้ว หลังจากนาย ก เป็นเจ้าของกรรมสิทธ์ิในบ้านและที่ดินที่ซื้อจากธนาคาร

คำถาม 

1 พื้นที่ส่วนเกินนั้น นาย ก มีสิทธิ์หรือไม่  ตามที่สำนักงานที่ดินในเขตบอก 

2 นาย ก ควรดำเนินการอย่างไรให้ ผู้อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมย้ายออกไป

3 แล้วผู้อยู่อาศัยเดิมมีสิทธิ์ในพื้นที่ ส่วนเกินนั้นหรือไม่ 

4 แล้วผู้อยู่อาศัย มีสิทธิ์เรียกร้องอะไรกับนาย ก ได้บ้าง 

 



ผู้ตั้งกระทู้ สารนาถ :: วันที่ลงประกาศ 2013-01-24 15:50:06 IP : 223.206.36.124


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3306711)

 1 พื้นที่ส่วนเกินนั้น นาย ก มีสิทธิ์หรือไม่  ตามที่สำนักงานที่ดินในเขตบอก 

 
ตอบ....เรื่องนี้ค่อนข้างเป็นปัญหาข้อกฎหมาย   ตามความเห็น...ในเมื่อส่วนที่บ้านปลูกกินเนื้อที่เข้าไปในที่จับจอง  ผู้ปลูกบ้านย่อมเป็นเจ้าของที่ดิน  ที่ปลูกบ้านรุกล้ำด้วย   ถ้าเจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำ   ไม่ฟ้องร้องภายในหนึ่งปี   ผู้ปลูกบ้านย่อมมีสิทธิในที่ดิน ตรงจุดนี้(ที่รุกล้ำ)ดีกว่าบุคคลอื่น  ยิ่งมีการล้อมรั้ว   ก็ยิ่งเป็นการยืนยันสิทธิครอบครองที่ชัดเจน  เจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำจึงไม่สามารถอ้างสิทธิ์ใดๆได้อีก    ความเห็นของเจ้าพนักงานที่ดิน  ผมเห็นด้วยครับ
 
2 นาย ก ควรดำเนินการอย่างไรให้ ผู้อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมย้ายออกไป
 
ตอบ....ทำหลักฐานเป็นหนังสือ   ส่งจดหมายลงทะเบียน  แจ้งให้เขาย้ายออกภายในเวลาอันสมควร (15-30 วัน)  ถ้าเขาเพิกเฉยก็สามรถฟ้องขับไล่  และเรียกร้องค่าเสียหายได้ ครับ
 
3 แล้วผู้อยู่อาศัยเดิมมีสิทธิ์ในพื้นที่ ส่วนเกินนั้นหรือไม่ 
 
ตอบ...ไม่มีสิทธิ์ ตามข้อ 1 ครับ
 
4 แล้วผู้อยู่อาศัย มีสิทธิ์เรียกร้องอะไรกับนาย ก ได้บ้าง 
 
ตอบ...ไม่สามรถเรียกร้องใดๆได้ และถ้ามีเจตนาไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา  ก็อาจถูกกักขังได้ถึง หกเดือน ...  เรื่องค่าขนย้าย  หรือค่ารื้อถอน  เป็นความเข้าใจผิด  ที่เล่าต่อสืบๆกันมาว่า  ถ้าฟ้องขับไล่   ผู้ฟ้องต้องจ่ายค่ารื้อถอนหรือค่าขนย้าย   แท้จริงไม่ใช่เช่นนั้นแน่นอน ถ้ามีการฟ้องขับไล่  เมื่อมีการบังคับคดี  เจ้าพนักงานบังคับคดี  สามารถรื้อถอนหรือขนย้าย สิ่งของ  โดยผู้ที่ต้องรับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่าย  คือลูกหนี้ตามคำพิพากษา   ในทางปฏิบัติ  ผู้ฟ้องอาจเคยจ่ายค่าขนย้ายหรือค่ารื้อถอน ให้   ด้วยเหตุผลสองประการ คือ  อย่างแรก  ด้วยหลักมนุษยธรรม   และอีกกรณีหนึ่ง  เป็นไปตามสัญญาประนีประนอม   บางทีผู้ฟ้อง  ต้องการให้เรื่องจบลงโดยเร็ว   ก็เลยออกค่าใช้จ่ายให้  เพื่อให้คดีจบๆไป  จึงทำให้คนบางกลุ่ม  เข้าใจผิด  ครับ....  หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง...ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง....
 
มาตรา ๒๙๖ ตรี  ถ้าทรัพย์ที่ต้องจัดการตามคำสั่งศาลนั้นไม่มีบุคคลใดอยู่อาศัยเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจมอบทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือบางส่วนให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองได้ทันที และถ้ามีความจำเป็น ให้มีอำนาจทำลายสิ่งกีดขวางอันเป็นอุปสรรคในการที่จะจัดการให้เข้าครอบครองได้ตามสมควร.....ฯ
 
 
มาตรา ๒๙๖ จัตวา  ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารยังไม่ออกไปตามคำบังคับของศาล ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติดังต่อไปนี้
(๑) รายงานต่อศาลเพื่อมีคำสั่งจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารดังกล่าวนั้น และศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังได้ทันที ในกรณีนี้ ให้นำมาตรา ๓๐๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(๒) เมื่อศาลมีคำสั่งให้จับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารตาม(๑) แล้ว หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบริวารหลบหนี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามมาตรา ๒๙๖ ตรี โดยอนุโลม
 
 
 
มาตรา ๒๙๖ เบญจ  ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทรัพย์นั้นด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และให้มีอำนาจขนย้ายสิ่งของออกจากสิ่งปลูกสร้างที่มีการรื้อถอนนั้นด้วย ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและขนย้ายสิ่งของ ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้เสีย
ในการรื้อถอน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณ บริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนนั้น.....ฯ
 
 
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-01-25 10:39:37 IP : 101.51.188.145


ความคิดเห็นที่ 2 (3306723)

 เช่น นั้น ผู้ที่มีสิทธิ์ในพื้นที่นั้นๆ ก็คือ

1 เจ้าของบ้านปัจจุบัน

2 ผู้ปลูกบ้านหรือว่าเรียกว่า เจ้าของโครงการซึ่งเป็นผู้ปลูกสินทรัพย์

3 เจ้าของบ้านเดิม

คำถาม

1 ผมเข้าใจถูกป่าวครับ

2 แล้วทั้ง 3 บุคคลนี้ บุคคลใดมีสิทธิ์ในพื้นที่มากที่สุด 

3 หากเจ้าของบ้านเดิมมีสิทธิ์ แล้วคนอาศัยเดิมในบ้านไปพาตัวเจ้าของบ้านมาเรียกสิทธิ์ในพื้นที่นั้นๆได้หรือไม่ 

ผู้แสดงความคิดเห็น สารนาถ วันที่ตอบ 2013-01-25 11:18:53 IP : 223.205.33.68


ความคิดเห็นที่ 3 (3306762)

 1 ผมเข้าใจถูกป่าวครับ

 

ตอบ...ดังที่แสดงความเห็นแต่แรกว่าเรื่องนี้   เป็นปัญหาข้อกฎหมาย  คือถ้าไม่สามารถเจรจากันได้  ต้องให้ศาลวินิจฉัยเท่านั้น    ตามความเห็น  ผู้มีสิทธิในที่ดินส่วนบ้านปลูกรุกล้ำเข้าไป คือ บุคคลตามข้อ 2  ตาม ปพพ. ม.1312 วรรคแรก เมื่อเจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำไม่โต้แย้งภายใน หนึ่งปีสิทธิครอบครองของเขาย่อมหมดไป  เจ้าของโครงการย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดีกว่า ตาม ปพพ. ม.1375....เมื่อคุณซื้อมา  คุณย่อมได้รับสิทธินั้นมาด้วยครับ

2 แล้วทั้ง 3 บุคคลนี้ บุคคลใดมีสิทธิ์ในพื้นที่มากที่สุด 

 

ตอบ   เจ้าของโครงการ  ครับ

3 หากเจ้าของบ้านเดิมมีสิทธิ์ แล้วคนอาศัยเดิมในบ้านไปพาตัวเจ้าของบ้านมาเรียกสิทธิ์ในพื้นที่นั้นๆได้หรือไม่ 

 

ตอบ...ตามความเห็นไม่น่าจะเรียกร้องได้    ขอแนะนำให้คุณฟ้องขับไล่ไว้ก่อน   ถ้าใครมีสิทธิอะไรที่ถูกโต้แย้ง   ก็เป็นหน้าที่ของเขาต้องยกขึ้นมาต่อสู้เอง   เมื่อศาลวินิจฉัยเรื่องก็คงจบครับ....ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์...

 

มาตรา 1312 บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดย สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดินนั้น และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม ต่อภายหลังถ้าโรงเรือนนั้นสลายไปทั้งหมด เจ้าของที่ดินจะเรียกให้เพิกถอน การจดทะเบียนเสียก็ได้

มาตรา 1375 ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วย กฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครองเว้นแต่อีก ฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครอง ได้
       การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปี หนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-01-27 09:13:01 IP : 101.51.184.192



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.