ReadyPlanet.com


ปรึกษาเรื่องที่ดินภาระจำยอมครับ


 เรื่องมีอยู่ว่าที่ดินของโรงงานส่วนหนึ่งถูกฟ้องให้กลายเป็นทางผ่่านแบบภาระจำยอมครับ ซึ่งศาลได้พิพากษาให้คดีถึงที่สุดแล้ว และต้องเปิดทางภาระจำยอมครับ ทางผมก็ยินยอมเปิดทางให้แต่โดยดีเพียงแต่ว่าพิกัดที่ศาลได้มีคำสั่งมานั้นถ้าเปิดทางมันจะติดเสาไฟฟ้าและบางส่วนของเครื่องจักรหนัก ซึ่งจะเป็นการลำบากในการเปิดทางและทำให้การทำงานในโรงงานต้องสะดุด ทางผมเลยทำหนังสือบันทึกข้อตกลงว่าจะเปิดทางให้ แต่จะไม่ตรงกับแนวทางพิพาทโดนจะร่นมาทางด้านข้างประมาณหนึ่งเมตร โดยขนาดทางพิพาทจะมีขนาดเท่าเดิม โดนในหนังสือบันทึกข้อตกลงได้มีการลงนามโดยผมเป็นผู้ให้สัญญา มีพยานสามคน สองในสามคนเป็นฝ่ายโจทย์ อีกคนเป็นทนายของฝ่ายนั้น ซึ่งการที่ทำสัญญาร่นนี้ ทางผมต้องทำการย้ายศาลพระภูมิ กำแพง และอื่นๆเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมทำทางเข้าออกให้เรียบเสมอกัน โดยการเขียนบันทึกข้อตกลงนี้ มีเจ้าหน้าที่บังคับคดีอยู่ด้วยแต่ไม่ได้เซ็นเป็นพยานในข้อตกลง

คราวนี้กำลังจะนัดรังวัดเข้ามาแบ่งโฉนดเพื่อที่จะปิดคดี แต่ทนายของโจทย์กลับโทรมาบอกว่าโจทย์ต้องการจุดเดิมตามแนวพิพาท

ผมไม่เข้าใจว่าจุดประสงค์ของโจทย์คืออะไรกันแน่ครับ เพราะไม่ว่าจะเปิดทางตามแนวพิพาทหรือร่นมา1เมตรก็ไม่มีผลทำให้ความสะดวกในการเข้าออกของโจทย์ลดลงครับ แต่จะมีผลอย่างมากต่อโรงงานผมครับ และหลังจากที่ทำบันทึกข้อตกลงเรียบร้อย ผมก็เสียค่าใช้จ่ายไปไม่น้อยในการทำทาง ไม่ทราบว่าสถานการณ์อย่างนี้ผมควรทำอย่างไรดีครับ บันทึกข้อตกลงมีผลทางกฏหมายอย่างไรบ้างครับ

อีกคำถามนึงคือ คำพิพากษาให้ทางเป็นภาระจำยอมแก่บุคคลสามคน ในกรณีนี้ผมมีสิทธิ์ไม่ให้ผู้อื่นยกเว้นสามคนนี้ผ่านหรือไม่ครับ

ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ Ping :: วันที่ลงประกาศ 2013-03-20 00:02:13 IP : 171.97.17.72


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3308712)

บันทึกข้อตกลงกันภายหลังศาลมีคำพิพากษา  คือเปลี่ยนแปลงทางเพื่อความสะดวกแก่ทั้งสองฝ่าย  ใช้บังคับได้   เพราะเป็นสัญญาประนีประนอม  ทำให้ข้อพิพาทเดิมยุติไป   เกิดสิทธิขึ้นใหม่ตามสัญญาประนีประนอม     แต่ฝ่ายโจทก์อาจเกรงว่า  สัญญาประนีประนอมที่ทำขึ้นภายหลังมีคำพิพากษา   อาจใช้บังคับไม่ได้    เพราะไปขัดแย้งคำพิพากษา  คงมีทนายฝ่ายโจทก์แนะนำให้ยืนยันตามคำสั่งศาล   เพราะเกรงจะมีปัญหาในอนาคต  จะบังคับได้หรือไม่  เป็นปัญหาข้อกฎหมาย    คนที่เสียเปรียบย่อมเป็นตัวคุณ   ที่ต้องลงทุนลงแรงเปลี่ยนแปลงทางไปมากมายพอสมควร   อยู่ๆก็บอกให้ใช้ตามคำสั่งศาล    ถ้าคุณไม่ยินยอม   ก็ต้องให้ศาลวินิจฉัยว่า  สัญญาประนีประนอมหลังศาลมีคำพิพากษา  และขัดแย้งกับคำพิพากษา  สามารถใช้บังคับได้หรือไม่   ก็คงต้องสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายอีกไม่น้อย  ก็อยู่ที่คุณจะพิจารณาดูเองว่าจะเลือกแบบไหน....ที่จริงเรื่องนี้  เมื่อตกลงกันแล้ว  ถ้าไปแจ้งศาลให้มีการแก้ไขคำพิพาษาตามสัญญาประนีประนอม ที่ทำขึ้นในภายหลัง  ปัญหาคงไม่มี ครับ ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-03-20 12:29:25 IP : 101.51.161.66


ความคิดเห็นที่ 2 (3308713)

 ขอบคุณครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Ping วันที่ตอบ 2013-03-20 13:44:59 IP : 110.49.248.162



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.