ReadyPlanet.com


มีปัญหาเรื่องที่ดิน สปก ครับ


 คือว่า ที่นา สปก เป็นชื่อแม่ผม แต่ขายให้ญาติกันโดยทำสัญญาซื้อขาย และมีสัญญาเงินกู้ด้วย โดยไม่ได้ระบุวันมาไถ่คืน แต่คุยกันว่าจะมาไถ่คืนกัน ทางญาติที่ซื้อก็ตอบโอเคว่ามาไถ่คืนได้ 

แต่สองปีต่อมาแม่ผมมีเงินจะไปไถ่คืน เค้าก็บ่ายเบี่ยง บอกว่าจะขอค่าเจาะบ่อเพิ่มอีกสองแสนบาท คือเหมือนยกมาอ้างที่จะไม่ให้ไถ่มากกว่า

อยากทราบว่า ผมจะฟ้องร้องได้มั้ย แล้วรูปดคีจะออกมาแนวไหนครับ ร้อนใจจริงๆ



ผู้ตั้งกระทู้ tanwa :: วันที่ลงประกาศ 2014-04-13 23:02:16 IP : 119.42.122.174


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3616962)

ที่ดิน   สปก.  มีจุดมุ่งหมายให้เกษตรกรได้ใช้เป็นที่ทำกิน  จึงโอน  หรือนำไปจำนอง ไม่ได้   นอกจากจะตกทอดแก่ทายาทที่เป็นเกษตรกร....ตามข้อเท็จจริงที่บอกมา    ญาติจึงไม่มีสิทธิยึดที่ดินไว้ได้  ก็ใช้วิธีเจรจาตกลงกัน   ถ้าญาติไม่ยอมรับการใช้หนี้   ก็ใช้วิธีวางทรัพย์เพื่อใช้หนี้  ที่สำนักงานบังคับคดี  ในเขตจังหวัดนั้นๆ(ไปติดต่อสอบถามวิธีการวางทรัพย์ได้) เมื่อวางเงินชำระหนี้ไว้   หนี้ก็เป็นอันระงับ    แม่จึงเข้าครอบครองที่ดิน สปก.ได้   ถ้าญาติยังมีการบ่ายเบี่ยง   ใช้วิธี แจ้ง เจ้าหน้าที่ สปก.  ให้ช่วยเหลือแก้ไข.....กรณีนี้ตามกฎหมาย  แม่ต้องได้ที่ดินคืน ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2014-04-14 03:17:20 IP : 101.51.175.211


ความคิดเห็นที่ 2 (3617256)

 ลืมบอกไปว่า ตอนนี้ญาติเป็นคนถือโฉนดตัวจริงครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น tanwa วันที่ตอบ 2014-04-14 08:43:36 IP : 202.129.40.246


ความคิดเห็นที่ 3 (3617464)

ใครจะถือเอกสารสิทธิ์ไง้  ไม่ใช่สาระคัญ   แต่มีผุ้สิทธิ์ทำกิน  ในที่ดิน สปก.  เป็นเรื่องสำคัญกว่า   ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2014-04-14 17:30:09 IP : 101.51.180.180


ความคิดเห็นที่ 4 (3617469)

ใครจะถือเอกสารสิทธิ์ไง้  ไม่ใช่สาระคัญ   แต่มีผุ้สิทธิ์ทำกิน  ในที่ดิน สปก.  เป็นเรื่องสำคัญกว่า   ครับ .... แก้ไข....

ใครจะถือเอกสารสิทธิ์ไว้  ไม่ใช่สาระคัญ   แต่ผู้มีสิทธิ์ทำกิน  ในที่ดิน สปก.  เป็นเรื่องสำคัญกว่า   คือแม่มีสิทธิ์ทำกินในที่ สปก.  ย่อมมีสิทธิเหนือกว่าญาตที่ถือเอกสารสิทธิ์  ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2014-04-14 17:33:02 IP : 101.51.180.180


ความคิดเห็นที่ 5 (3617506)

 คือประเด็นถ้าเค้าไม่ยอมให้เราไถ่คืน จะทำอย่างไรครับ เพราะผมอยากจะฉีกสัญญาที่ทำกันไว้ทั้งหมดทิ้ง เพราะมันจะทำให้ผมกับแม่เป็นหนี้ในอนาคต  เพราะถ้าเกิดวันดีคืนดีญาติไปฟ้องว่าผมเป็นหนี้มันผมแย่แน่ครับ เลยอยากจะไถ่คืนมาแล้วฉีกสัญญาทิ้งซะ

ผู้แสดงความคิดเห็น tanwa วันที่ตอบ 2014-04-14 18:57:19 IP : 202.129.40.246


ความคิดเห็นที่ 6 (3617567)

คุณไม่อ่านดูคำตอบให้ชัดเจน  ถ้าเขาไม่ยอมรับการชำระหนี้    ก็ไปวางเงินที่สำนักงานบังคับคดี   หนี้จะระงับ   ทำไมต้องมากังวลเรื่องสัญญากู้ยืมเงินอีก  การวางทรัพย์เพื่อชำระหนี้  กฎหมายเขียนไว้เพื่อแก้เกม เจ้าหนี้ ที่บิดพลิ้วที่ไม่ยอมรับการชำระหนี้   เมื่อวางเงินชำระหนี้ตามกฎหมายแล้ว จะไปหวั่นเรื่องสัญญาอีกทำไม  ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2014-04-14 20:00:34 IP : 101.51.184.172


ความคิดเห็นที่ 7 (3617595)

 ครับขอบคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น metalist วันที่ตอบ 2014-04-14 20:33:47 IP : 202.129.40.246


ความคิดเห็นที่ 8 (3617660)

ถามต่ออีกนิดครับ จากที่ท่าน นโนธรรมบอกว่าไปวางเงินที่สำนักงานบังคับคดี  ต้องจ้างทนายทำหรือผมสามารถทำได้เองครับ 

 

สรุปคือ ผมต้องจ้างทนายตั้งแต่ขั้นตอนไหนครับ หรือตั้งแต่แรกเลย

ผู้แสดงความคิดเห็น metalist วันที่ตอบ 2014-04-14 22:26:43 IP : 202.129.40.246


ความคิดเห็นที่ 9 (3617898)

 

การวางทรัพย์เพื่อชำระหนี้   ไม่มีอะไรซับซ้อน  จึงไม่ต้องจ้างทนายความ  เพียงมีเงินเพียงพอในการชำระหนี้  ก็ไปแจ้งรายละเอียดโดยการกรอกแบบฟอร์ม   เจ้าหน้าที่เขาจะดำเนินการให้ ครับ
การวางทรัพย์

            การวางทรัพย์เป็นกระบวนการที่อนุญาตให้ลูกหนี้หรือบุคคลที่สามที่ยินดีจะชำระหนี้แทนลูกหนี้มาวางทรัพย์ ณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งหากดำเนินการอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมส่งผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ ถึงแม้ว่าเจ้าหนี้ไม่ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้

 
เหตุของการวางทรัพย์

เหตุที่จะวางทรัพย์ได้มีดังนี้
            1) เจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้หรือปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ เช่น จ่ายค่าเช่าบ้านไม่ได้ เพราะผู้ให้เช่าบ่ายเบี่ยงเพื่อหาเหตุจะยกเลิกการเช่า
            2) เจ้าหนี้ไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะเจ้าหนี้ไม่อยู่หรือไปต่างประเทศไม่ทราบจะกลับมาเมื่อใด
            3) ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิของเจ้าหนี้ หรือรู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอนโดยมิใช่ความผิดของตน เช่น เจ้าหนี้ตาย ลูกหนี้ไม่ทราบว่าใครเป็นทายาท
            4) ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 232,302,631,679,754,772 และ 947
            5) ตามบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นให้มีการวางทรัพย์ เช่น กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
            6) ตามคำสั่งศาล

ทรัพย์ที่วางได้

ทรัพย์ที่วางได้ ได้แก่ เงินและทรัพย์สินอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่จะส่งมอบกันตามกฎหมาย
            1) ในกรณีที่เกี่ยวกับทรัพย์ที่วางเป็นเงิน
                  1.1 วางทรัพย์ด้วยเงินสด
                  1.2 วางด้วยเช็คทุกชนิดถ้าหากให้มีผลสมบูรณ์ในวันที่วาง ผู้วางทรัพย์ควรวางเป็นเงินสด
            2) ทรัพย์ที่ไม่ควรวาง ได้แก่
                  2.1 สภาพทรัพย์ไม่ควรแก่การวาง หรือเป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นต่อไปจะเสื่อมเสียหรือทำลาย หรือบุบสลายได้ เช่น น้ำแข็งที่สลักเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อความสวยงามในงานสมรส
                  2.2 ค่ารักษาทรัพย์แพงเกินควร
                  2.3 ตึกแถว โรงแรม คอนโดมิเนียม เครื่องจักร เป็นต้น
 ผู้ที่วางทรัพย์ได้

ผู้ที่วางทรัพย์ได้คือ
            1) ลูกหนี้
            2) ผู้รับมอบอำนาจลูกหนี้
            3) บุคคลภายนอกที่เต็มใจชำระหนี้แทนลูกหนี้ เว้นแต่สภาพของหนี้ที่จะชำระนั้นไม่อาจให้บุคคลภายนอกชำระแทนได้
  สถานที่ติดต่อ

สถานที่ติดต่อในการวางทรัพย์คือ
            1) ส่วนกลาง ติดต่อที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เลขที่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ โทรศัพท์ 02-881-4999
            2) ส่วนภูมิภาค ติดต่อที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดทั่วประเทศ
  วิธีปฏิบัติและหน้าที่ของผู้วางทรัพย์

ผู้วางทรัพย์ต้องปฏิบัติและมีหน้าที่ดังนี้
            1) เขียนคำขอวางทรัพย์ตามแบบ ว.1 หากมอบให้บุคคลอื่นวางทรัพย์แทนต้องทำใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4
            2) เตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวางทรัพย์ในเรื่องนั้น ๆ มาแสดง
                  2.1 ถ้าวางตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลให้มีคำพิพากษาตามยอมที่จ่าศาลรับรอง
                  2.2 ถ้าวางตามสัญญาเช่าให้มีสัญญาเช่าพร้อมถ่ายสำเนาสัญญาเช่าที่รับรอง
                  2.3 ถ้าวางตามสัญญาขายฝากให้มีสัญญาขายฝาก พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาขายฝากที่รับรอง
            3) ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายครั้งแรก 300 บาท
            4) ในกรณีทรัพย์ที่วางเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องนำเจ้าพนักงานไปตรวจทรัพย์ก่อน
            5) ผู้วางทรัพย์หรือผู้รับมอบอำนาจต้องมาให้เจ้าพนักงานสอบสวนถึงที่มาแห่งมูลหนี้
            6) ผู้วางทรัพย์ต้องแจ้งการวางทรัพย์ให้เจ้าหนี้ทราบโดยเร็ว
 ผลของการวางทรัพย์

            1) ทำให้ท่านหลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องชำระไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดและไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ เจ้าหนี้หลังจากวันที่ท่านวางทรัพย์
            2) เจ้าหนี้มีสิทธิมารับทรัพย์ที่วางภายใน 10 ปี นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวการวางทรัพย์ หากเจ้าหนี้ไม่มารับสิทธิของเจ้าหนี้เหนือทรัพย์ที่วางเป็นอันระงับไป
            3) เมื่อเจ้าหนี้มารับเงินแล้ว ผู้วางทรัพย์ ต้องมารับค่าใช้จ่ายที่วางประกันไว้คืน หากผู้วางทรัพย์ ไม่มารับคืนภายใน 1 เดือน เงินค่าใช้จ่ายวางประกันตกเป็นของแผ่นดิน
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2014-04-15 11:10:04 IP : 101.51.180.221


ความคิดเห็นที่ 10 (3617934)

 ขอบพระคุณมากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น metalist วันที่ตอบ 2014-04-15 12:27:57 IP : 202.129.40.246



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.