ReadyPlanet.com


ทำความผิดคดีลักทรัพย์ลูกค้ามีโทษอย่างไรบ้าง


น้องชายเป็นคนขับรถตู้เจอเงินลูกค้าต่างชาติในรถเจ็ดพันบาทแล้วเอาไปให้ไกด์ ไกด์บอกว่าให้เก็บไว้ในลิ้นชักรถก่อนแล้วค่อยเอามาแบ่งกันทีหลัง พอลูกค้ารู้ตัวว่าเงินหายเลยไปบอกไกด์ ไกด์คุยอะไรกับแขกไม่รู้น้องพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลยฟังไม่เข้าใจ  ลูกค้าให้ไกด์แจ้งตำรวจแล้วตำรวจมาค้นรถจึงเจอเงิน พอถึงที่โรงพักตำรวจบอกว่าให้เซ็นยอมรับไปก่อนแล้วค่อยไปแก้สำนวนทีหลังเพราะเงินเจอในรถเจ้าของรถต้องรับผิดชอบ(รถเป็นชื่อแม่) น้องชายยอมเซ็นและตำรวจได้ปลอมลายเซ็นแม่ด้วย ตอนนี้น้องชายจ่ายค่าประกันรถไปหนึ่งหมื่นบาท ประกันตัวสองหมื่น และตำรวจเรียกค่าแก้สำนวนอีกสีี่หมื่นบาท น้องบอกว่าผู้พิพากษาแนะนำให้จ้างทนายฟ้องกลับตำรวจ

วันนี้น้องมารายงานตัวและโดนขังที่ศาลอยู่ครึ่งวัน แต่แม่เอาหลักทรัพย์ประกันตัวออกมาแล้ว

อยากทราบว่าถ้าฟ้องกลับไม่สำเร็จต้องเสียค่าปรับและติดคุกนานเท่าไหร่ เป็นความผิดครั้งแรก และน้องชายยอมรับสารภาพ (ตำรวจแนะนำ)

คือตอนนี้ยังไม่ค่อยรู้รายละเอียดอะไรมากนักเพราะฟังจากน้องฝ่ายเดียว คดีลักทรัพย์นี่ยังไงก็ต้องติดคุกใช่มั้ยคะ มีผ่อนปรนอย่างไรบ้าง

ขอบคุณค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ พี่สาว :: วันที่ลงประกาศ 2014-05-27 20:38:53 IP : 49.49.43.130


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3646634)

คงมีความฐานลักทรัพย์ในยวดยานสาธารณะ  ตาม ปอ. ม.335(9)  มีโทษจำคุก 1-5 ปี  ถ้าให้การรับสารภาพ  ศาลคงปรานีลงโทษสถานเบา  หรือรอการลงโทษไว้ ตาม ปอ. ม.56  ดังที่ยกมาข้างล่าง....ก็ไม่ทราบว่าทำไมต้องไปจ้างตำรวจแก้สำนวน 4 หมื่นบาท   ถ้าเป็นจริงตำรวจก็มีความผิด ฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ปอ. ม.157 ซึ่งมีโทษจำคุก 1-10 ปี....ที่น้องว่าผู้พิพากษาแนะนำให้ฟ้องตำรวจ   ไม่น่าจะเป็นไปได้  เพราะผู้พิพากษา   คงไม่ลงมาวุ่นวายเรื่องเหล่านี้แน่นอน   น่าจะมีการเข้าใจอะไรผิดมากกว่า.....ขอแนะนำว่า ไม่ต้องไปฟ้องกลับใคร  หาทางต่อสู้คดีให้พ้นผิดหรือได้รับการลงโทษสถานเบา และให้คดีจบๆไปดีกว่า    ถ้าจะคิดฟ้องร้องตำรวจ   สุดท้ายก็ย่อมเสียเปรียบ  เพราะตำรวจคงไม่ทิ้งร่องรอยไว้แน่นอน  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

..เหตุอันควรปรานี.....

มาตรา 56 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาล จะลงโทษจำคุกไม่เกินสองปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมา ก่อนหรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความ ผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึง ถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรมสุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัยอาชีพและสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว เห็นเป็นการสมควรศาลจะพิพากษาว่า ผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือกำหนดโทษแต่รอการ ลงโทษไว้ แล้วปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลา ที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดย จะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้
 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2014-05-28 10:25:58 IP : 101.51.184.62



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.