ReadyPlanet.com


สอบถามเรื่องไฟแนนท์


 เรื่องมีอยู่ว่าผมค้างชำระค่างวดรถจักรยานยนต์ มาตั้งแต่ปี 2551 จนมาถึงปัจจุบันเพิ่งได้รับการติดต่อจากทางไฟแนนท์ (ทางโทรศัทพ์) อาจเป็นเพราะผมย้ายงานบ่อย ทำให้ที่อยู่ไม่แน่นอนจึงไม่เคยได้รับเอกสาร แล้วผ่านไป 5 ปีแล้วทำไมเพิ่งมาตามครับ ส่วนรถจักรยานยนต์ตอนนี้ยังอยู่กับผม ผมควรเฉยไว้ก่อนรอทางไฟแนนท์ฟ้อง หรือ ติดต่อขอคืนรถดีครับ แต่ถ้าฟ้องที่อยู่ในการส่งเอกสารผม ผมก็ไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้วด้วย เหตุการณ์แบบนี้อายุความกี่ปีครับ จะโดนคดีอะไรมั้งครับ ผมควรหาทางออกอย่างไรดี



ผู้ตั้งกระทู้ ชัยวัฒน์ :: วันที่ลงประกาศ 2013-08-13 11:53:31 IP : 101.109.23.234


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3312589)

เมื่อผิดนัด   ไฟแนนซ์คงตามยึดรถ    ถ้ายึดไม่ได้  ก็คงแจ้งข้อหายักยอกทรัพย์.....และถ้ายึดรถขายได้เงินไม่พอใช้หนี้  ยังเหลือส่วนต่าง   ก็ต้องรับผิดภายในอายุความ 10 ปี   ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-08-13 17:46:17 IP : 101.51.187.89


ความคิดเห็นที่ 2 (3312593)

 รับทราบครับ  แต่ยังสงสัยว่าอายุความเนี่ยเริ่มนับตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ  แล้วถ้าติดต่อทางไฟแนนท์ให้มายึดรถไป จะมีการเรียกเก็บเงินอะไรเพิ่มเติมมั๊ยครับ เอกสารเราต้องเตรียมอะไรมั้งครับ ไฟแนนท์อยู่ที่ กทม. ส่วนผมอยู่ ตจว. ครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ชัยวัฒน์ วันที่ตอบ 2013-08-13 19:49:50 IP : 101.109.33.19


ความคิดเห็นที่ 3 (3312594)

ถ้าติดต่อให้ไฟแนนซ์ยึดรถไป  ก็คงนำไปขายทอดตลาด  และอ้างว่าใช้หนี้ไม่พอ  ยังมีส่วนต่าง  ที่คุณต้องรับผิด    อายุความ 10 ปี  เริ่มนับตั้งแต่  ขายแล้วนำมาหักลบลบหนี้  และเหลือส่วนต่าง....กรณีตัวอย่าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  5032/2547
 
บริษัทวิริยะลีสซิ่ง จำกัด                      โจทก์
 
นายคมกฤช โกวรรธนะกุล กับพวก      จำเลย
 
ป.พ.พ. มาตรา 193/30, 563
 
          แม้ ป.พ.พ. มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ ป.พ.พ. มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ในราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะทราบได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นการเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
 
________________________________
 
          โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อจำนวน 1,405,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
          จำเลยทั้งสองให้การ ขอให้ยกฟ้อง
          ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 821,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 13 ตุลาคม 2542) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
          จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
          จำเลยทั้งสองฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระขาดอายุความหรือไม่ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจึงต้องฟังว่าเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 ก็มิได้บัญญัติว่าการฟ้องคดีอันเกี่ยวแก่สัญญาเช่าซื้อมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าจะต้องเป็นค่าเสียหายเฉพาะที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้บังคับอยู่เท่านั้น ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อก็มีอายุความ 6 เดือนด้วยนั้น เห็นว่า โจทก์นำสืบว่า หลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแล้วนำออกขายได้ราคา 409,090.91 บาท เมื่อหักออกจากค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเงินยังขาดอยู่ 798,946.83 บาท แต่โจทก์ขอคิดเพียง 600,000 บาท จึงเป็นการนำสืบว่า ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเกิดขึ้นหลังจากสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 มิได้บัญญัติไว้โดยตรงว่า การใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า จะต้องเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสัญญาเช่าซื้อมีผลใช้อยู่ แต่การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์ที่เช่า แสดงว่าสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องเกิดขึ้นแล้วในวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า โดยอาจเกิดขึ้นในระหว่างสัญญาเช่าซื้อยังมีผลใช้อยู่ หรือระหว่างที่ผู้เช่าซื้อยังครอบครองทรัพย์สินอยู่ แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซือ้ได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะทราบได้ต่อเมื่อโจทก์ได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนและขายไปแล้ว จึงเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากวันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อไปเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2541 แล้วฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2542 ภายในกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาน้อยกว่าค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจึงไม่ขาดอายุความ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีมานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น”
          พิพากษายืน
 
 
( มนตรี ยอดปัญญา - สายันต์ สุรสมภพ - สุพัฒน์ บุญยุบล )
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2013-08-13 20:55:50 IP : 101.51.187.89


ความคิดเห็นที่ 4 (3639761)

 ทำไมไม่ยอมให้เงินผมเพิ่มล่ะครับเหลือไม่กี่เดือนแล้วน่ะผมเดือดร้อนน่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น วิศิษฎ์ วันที่ตอบ 2014-05-15 20:55:54 IP : 118.173.244.238



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.