ReadyPlanet.com


ซื้อที่ดินมาแต่ไม่สามารถปักหมุดที่ดินได้เนื่องจากที่ดินข้างเคียงไม่ยอม


 คืนทำการซื้อที่ดินจากต่างจังหวัดตอนซื้อที่ดินยังไม่ได้ทำการวัดที่ดินจากเจ้าหน้ากรมที่ดินก่อน แต่พอจ่ายเงินโอนที่ดินเป็นของเราทางเจ้าของที่ดินเดิมก็ให้เจ้าหน้าที่มาวัดที่ดิน แต่พอที่ดินข้างเคียงบอกว่าไม่สามารถปักหมุดได้เนื่องจากที่ดินดังกล่าวเขาได้ถือสิทธิครองทำมาหากิน แล้วเขากกล่าวว่าที่ดินต้องที่เขาถือสิทธิเป็นของเขา แต่ในโฉนดนั้นเป็นของเรา อย่างนี้ควรทำอย่างไรดีค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ เจนนี่ (Hahijenny-at-yahoo-dot-co-dot-th) :: วันที่ลงประกาศ 2015-12-19 14:08:56 IP : 1.0.235.53


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3916533)

เจ้าของที่ดินข้างเคียง   อาจมีการบุกรุกแย่งครอบครองที่ดิน เข้ามาถือสิทธิในบางส่วน ของที่ดิน  ถ้าข้อเท็จจริง เขาแย่งการครอบครองมา  เกิน 10 ปี  เขาย่อมได้กรรมสิทธิ์  โดยการครอบครองปรปักษ์   แต่....การที่คุณซึ่งเป็นบุคคลภายนอก  ซื้อที่ดินมาโดยสุจริต  และเสียค่าตอบแทน (ค่าที่ดิน)  คุณย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่สมบูรณ์ทั้งแปลง   อำนาจการครอบครองปรปักษ์ของเจ้าของที่ดินข้างเคียงที่บุกรุกเข้ามาแย่งการครอบครอง  จะถูกตัดตอนลง นับตั้งแต่วันที่คุณรับโอนที่ดินมา  ตาม ปพพ. ม.1299วรรคสอง  เพราะผู้แย่งการครอบครอง  ยังไม่ได้ร้องศาลให้ได้กรรมสิทธิ์  โดยการครอบครองปรปักษ์   สิทธิของเขาจึงไม่สมบูรณ์ (กฎหมายใช้คำว่าไม่บริบูรณ์)  คุณผู้ซื้อ จึงเรียกร้องที่ดินที่ถูกรุกล้ำคืนได้ ...  อำนาจการครอบครองปรปักษ์ของเขาจะเกิดขึ้นอีกครั้ง   ต่อเมื่อคุณในฐานะเจ้าของ  ปล่อยให้เขาแย่งการครอบครอง  โดยไม่ฟ้องร้องหรือโต้แย้ง  ภายใน 10 ปี  ดังนั้นคุณยังมีเวลามากพอจะเรียกร้องที่ดินคืน  ภายใน 10 ปี นับแต่วันรับโอน  ขอแนะนำแนวทางปฏิบัติ  ในการเรียกร้องที่ดินคืน  ดังนี้ คือ

1.  ใช้การเจรจา  ให้เขาย้ายออกไป โดยไม่มีเงื่อนไข  ควรใช้การเจรจาผ่านคนกลาง เช่นเจ้าหน้าที่ที่ดิน ในสถานที่ที่เป็นกลาง   อย่าเจรจากันบริเวณที่พิพาท  หรือที่บ้านของผู้บุกรุก   เพราะอาจมีปัญหาตามมาเช่น การ โต้เถียงกัน   และก่อคดีเกิดขึ้น   ถ้าอยู่ในบ้านของเขา คุณย่อมเสียเปรียบ    ซึ่งแนวทางนี้ คงค่อนข้างเป็นได้ลำบาก   เพราะเขามีจิตที่โลภะ  คืออยากได้ของ ของผู้อื่น  จึงบุกรุกเข้ามาแย่งชิงการครอบครอง ครับ   หรือ

2. ใช้การเจรจา   ให้เขาซื้อที่ดิน  ส่วนที่บุกรุกในราคาที่เป็นธรรม   ก็ลองใช้การเจรจาดู  และเสนอแนวทางนี้ดู  ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่เป็นธรรมพอสมควร ครับ   หรือ

3.   คุณยอมชดใช้เงินให้เขา ตามสมควร  เพื่อให้เขาย้ายออกไป  แนวทางนี้ คือคุณย่อมอ่อนข้อ   เพื่อให้ได้ที่ดินเต็มตามโฉนดที่ดิน  ก็ต้องใช้วิจารณญาณเอาเองว่า คุณจะรับได้หรือไม่   หรือ

4. คุณยอมสละที่ดินส่วนที่ถูกรุกล้ำ  ถ้าเป็นเนื้อที่ไม่มากนัก   และยอมปักหมุดร่นเข้ามาในที่ดิน  และทำรั้วให้ชัดเจน   เพื่อรักษาที่ดินไว้  ไม่ให้ถูกบุกรุกอีก  แนวทางนี้จะยุติปัญหาได้   แต่อีกฝ่ายอาจย่ามใจก็ได้  หรือ

5.  คุณต้องแจ้งข้อหาบุกรุก และฟ้องขับไล่  ซึ่งถ้าคดีขึ้นสู่ศาล   ศาลก็คงให้ใช้การเจรจาตาม 1-2-3-4  ถ้าเจรจาไม่เป็นผล   ศาลก็จะพิพากษาคดีไปตามข้อเท็จจริง   ซึ่งในข้อกฎหมายคุณอยู่ในฐานะได้เปรียบ  แต่การมีคดีในศาล คงใช้เวลา 5-7 ปี  ต้องเสียเงินเสียเวลา และเสียความรู้สึกเป็นอย่างมาก   ถ้าเจ้าของที่ดินที่ขายให้คุณ ช่วยเหลือดำเนินการต่างๆ  เพราะที่ดินที่ขายให้คุณถูกรอนสิทธิ  คุณก็คงได้รับการแบ่งเบาภาระไปได้มาก   ด้วยความปรารถนาดี ครับ....ขอยกแนวคำพิพากษาเกี่ยวกับกรณีนี้ มาให้พิจารณา   ครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2512
นางเล็ก สุกมณี
     โจทก์
นางพิม เข้มแข็ง กับพวกรวม 8 คน
     จำเลย

 
ป.พ.พ. มาตรา 6, 1299, 1382

 

 

 

          ผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนดจนได้กรรมสิทธิ์แล้วนั้นเมื่อยังมิได้จดทะเบียนจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้รับโอนทางทะเบียนโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่

          เจ้าของโฉนดจดทะเบียนขายฝากที่ดินแก่บุคคลภายนอกจนหลุดเป็นสิทธิ ผู้ครอบครองปรปักษ์มิได้ต่อสู้ว่าผู้รับซื้อฝากไม่สุจริตย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่าผู้รับซื้อฝากนั้นเป็นผู้สุจริต

          ผู้รับโอนที่ดินมีโฉนดโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ซึ่งมีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองปรปักษ์นั้นถ้ามีผู้รับโอนทางทะเบียนต่อจากนั้นมาอีกภายใน 10 ปีนับแต่วันโอนครั้งแรก ผู้รับโอนต่อๆ มาจะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่ ผู้ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนขึ้นใช้ยันผู้รับโอนคนใหม่ได้เพราะสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่มีผู้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริตคนแรกแม้ผู้ครอบครองปรปักษ์จะยังคงครอบครองที่ดินตลอดมาเมื่อการครอบครองในช่วงหลังยังไม่ครบ 10 ปี ก็จะถือว่ามีการครอบครองปรปักษ์กับเจ้าของใหม่จนครบเวลาได้กรรมสิทธิ์แล้วหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1015/2485)

          หมายเหตุ คำพิพากษาฎีกาที่ 1087-1090/2501 ก็เดินตามแนวนี้
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2015-12-20 09:22:12 IP : 101.51.189.80



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.