ReadyPlanet.com


ข้อสังสัยมาตรา 137 กับมาตรา 267 พอดีศึกษาอ่านกฎหมายแล้วงงครับ


คือสงสัยว่า มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน โทษคือ จำคุก หกเดือน มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จเพื่อใช้แสดงเป้นหลักฐาน ทำให้ผู้อื่นเสียหาย โทษคือ จำคุกสองปีขึ้นไปรึป่าวจำไมได้ ทีนี้มีกรณีการทำความผิดเกิดขึ้นอย่าง case แรก กรณีที่ 1 นะครับ เมื่อใบขับขี่ถูกยึดไม่ไปเสียค่าปรับจราจรอีกทั้งผู้กระทำความผิดได้ไปแจ้ง เจ้าหน้าทีตำรวจว่า ใบขับขี่หาย พร้อมเอาสำเนาบันทึกประจำวันที่แจ้งหายไปยื่นที่สำนักงานขนส่งเพื่ออกบัตรใหม่ ตัวนี้คือกระทำผิดกรรมเดียวได้รับโทษ ทั้งมาตรา 137 หรือ 267 หรือไม่ ซึ่งผมก็ยังสงสัยอยู่ เห็นบางคนบอกว่า การกระทำดังกล่าวได้รับโทษเพียงมาตรา 137 เท่านั้น ไม่รวม มาตรา 267 จริงๆผมสังสัยถึงถามยังไงก็ตอบข้อสังสัยนี้อย่างละเอียดด้วยครับ กรณีที่ 2 นะครับ มีการมัดจำซื้อขายบ้าน โดยเจ้าของที่ดินได้นำโฉนดที่ดินไปมัดจำไว้ แล้วไปแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าโฉนดที่ดินหายพร้อมเอาสำเนาบันทึกประจำวัน เพื่อมาขอออกใบแทนที่อำเภอ แล้ว กรณีผู้กระทำผิดได้รับโทษ มาตรา 267 ใช่หรือไม่ครับ คือแจ้งความเท็จเพื่อให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จทำให้ผู้อื่นเสียหาย และก็โดนทั้งมาตรา 137 ด้วยใช้ไหมครับ ยังไงก็ตอบให้กระจ่างด้วยครับสงสัยมาก เมื่อนำกรณีที่ 1 กับ กรณีที่ 2 มาวิเคราห์แล้วมันมีความต่างกันอย่างไร กรณีที่หนึ่งกับกรณีที่สองเหมือนกันไหม ได้รับโทษเหมือนกันไหม ยังไงก็ช่วยตอบให้ละเอียดด้วยครับ


ผู้ตั้งกระทู้ แมน :: วันที่ลงประกาศ 2015-12-15 19:24:29 IP : 49.229.33.169


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3914856)

ตาม ปอ. ม.137...1.แจ้งข้อความอันเป็นเท็จ   2.  แก่เจ้าพนักงาน  3. ซึ่งทำให้ผู้อื่นเสียหาย 4. โดยเจตนา ตัวอย่าง...

คำพิพากษาฎีกาที่ 919/2504 จำเลยไปแจ้งความต่อตำรวจว่า รถจักรยานถูกลักไป ไม่รู้ว่าใครเป็นคนร้าย ต่อมาจำเลยให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์เป็นคนร้าย โดยตนเห็น และได้ไล่ติดตามโจทก์ในคืนเกิดเกิดเหตุด้วย ซึ่งความจริงจำเลย มิได้รู้ว่าใครเป็นคนร้าย ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

คำพิพากษาฎีกาที่ 1566/2525 จำเลยเป็นพนักงานปกครอง ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าเขต ให้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานหมวดนิติกรรม และที่ดิน เมื่อโจทก์มิได้มาพบและขอให้จำเลยรับรองใบมอบอำนาจให้ขายที่ดิน แต่จำเลยได้ให้การยืนยันต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์เป็นผู้มาขอให้รับรองหนังสือมอบอำนาจด้วยตนเอง ทั้งที่ได้รู้จักตัวโจทก์แล้วก่อนให้การ ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยต้องมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

คำพิพากษาฎีกาที่ 2141/2532 จำเลยทั้งสี่รับรองบัญชีเครือญาติ ต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินว่าผู้ตายมีทายาทเพียง 4 คน คือจำเลยทั้งสี่อันเป็นเท็จ จำเลยทั้งสี่ทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ตายยังมีบุตรสาวอีก 2 คน เจ้าพนักงานโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำให้กรมที่ดินและบุตรสาวอีก 2 คน ของผู้ตายเสียหาย จำเลยทั้งสี่ผิดตาม ป.อ.มาตรา 137 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่กระทำความผิด

 

ตาม ปอ. ม.267....1.แจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จ 2.ลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึงมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน  3. โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นและประชาชน  4. โดยเจตนา  ตัวอย่าง

คำพิพากษาฎีกาที่ 4048/2528 จำเลยเป็นคนสัญชาติญวน ไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังหนึ่งเลย แล้วไปแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียนจดข้อความเท็จลงในทะเบียนบ้านอีกหลังหนึ่ง ว่าจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย ย้ายมาจากบ้านที่จำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่นั้น การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ.ม.267 / โจทก์ฟ้องจำเลยแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ขอให้ออกบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทยลงไว้ กรณีจึงไม่เข้าองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.267 คงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ม.137 เท่านั้น

คำพิพากษาฎีกาที่ 1217/2518 แจ้งความเท็จขอรับบัตรประจำตัว และใบแทนใบสำคัญทหารกองเกินอัตรา เจ้าพนักงานออกให้โดยหลงเชื่อว่าเป็นคนไทยและใบสำคัญทหารกองเกินอัตราหาย ความจริงไม่ใช่คนไทย แล้วนำบัตรไปใช้ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 267 ไม่ใช่เอกสารปลอมตามมาตรา 265 โจทก์บรรยายฟ้องถูกต้องแต่อ้างมาตรา 265,268 ผิด ศาลลงโทษตามมาตรา 267 ,268 ได้

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2015-12-16 02:24:39 IP : 101.51.175.126



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.