ReadyPlanet.com


โอนที่ดินมีพินัยกรรม


 อยากทราบว่าเมื่อไปโอนที่ดินตามที่พินัยกรรมระบุไว้ ต้องนำตัวพยานและทนายความที่มีชื่อในพินัยกรรมไปยืนยันที่สำนักงานที่ดินด้วยรึเปล่า แล้วต้องนำเอกสารไปให้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน, กำนันประจำตำบล, นายกองค์การบริหารส่วนตำบล, นายกเทศบาล และ นาอำเภอเมืองเซ็นเพื่อติดประกาศด้วยหรือไม่คะ 

รายละเอียด:

คุณพ่อได้ทำพินัยกรรมก่อนเสียชีวิตต่อหน้าทนาย โดยไม่ได้มีการตั้งผู้จัดการมรดก และระบุเลขโฉนดที่ดินไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นที่ดินแปลงใด ซึ่งตัวดิฉันมีพินัยกรรมตัวจริงอยู่กับตัว คุณพ่อได้เสียชีวิตไปแล้ว 3 ปี ตั้งแต่ปี 2555 และดิฉันเพิ่งสะดวกมีดำเนินการโอนที่ดินใน เดือน ธันวาคม ปีนี้ 2558 ซึ่งทิ้งระยะเวลามาแล้วถึง 3 ปี 

วันที่ดิฉันไปดำเนินเรื่อง ได้นำเอกสารทุกอย่างไปครบถ้วน มีดังนี้ สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, ใบมรณะบัตรของคุณพ่อ, พินัยกรรมฉบับจริง (ในพินัยกรรม มีระบุชื่อผู้รับมรดก 3 คน คือ พี่ชาย, ตัวดิฉัน และ ภรรยาใหม่ของคุณพ่อ ซึ่งแต่ล่ะคนได้รับมรดกคนล่ะที่กัน และได้ระบุไว้อย่างชัดเจน) และโฉนดที่ดินฉบับจริง 

ทางสำนักงานที่ดินแจ้งว่าต้องการให้ดิฉัน พาทนายความผู้ร่างพินัยกรรม พร้อมกับ พยานคนใดคนหนึ่งที่มีชื่ออยู่ในพินัยกรรมไปเซ็นยืนยันด้วย ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องพาทนายและพยานไปด้วยเหรอคะ ทั้งๆที่มีพินัยกรรมตัวจริง, โฉนดที่ดินตัวจริง และ หลักฐานยืนยันชัดเจนว่าดิฉันเป็นบุตร ชื่อในทะเบียนบ้านของดิฉันก็มีชื่อคุณพ่อแสดงชัดอยู่แล้วว่าดิฉันเป็นผู้ได้รับมรดกตามพินัยกรรม เพราะจากที่อ่านบทความต่างๆ ได้แจ้งไว้ว่าการโอนมรดกตามพินัยกรรมจะสะดวกและไม่วุ่นวาย ดังนี้ค่ะ:

กรณีเจ้ามรดกทำพินัยกรรม

  ถ้าหากว่ามีการทำพินัยกรรม ระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกพ.ศ. 2548 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2557 ข้อ 11 กำหนดว่าไม่ต้องจัดทำบัญชีเครือญาติของเจ้ามรดก ผู้รับมรดกก็เพียงนำพินัยกรรมไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ก็จะดูว่าพินัยกรรมทำถูกต้องหรือไม่ ถ้าเห็นว่าถูกต้องเป็นทายาทตามพินัยกรรมแล้ว(โดยดูบัตรประชาชนทะเบียนบ้านว่ามีชื่อตรงกับคนที่เจ้ามรดกระบุชื่อให้รับมรดก) ไม่ต้องมีการสอบสวนเพื่อทำบัญชีเครือญาติ ไม่ต้องหาที่อยู่ และไม่ต้องตามให้ญาติพี่น้องมาเซ็นชื่อยินยอมให้รับมรดกแต่อย่างใด (เว้นแต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกก็ต้องขอให้มาดำเนินการด้วยซึ่งตามกฎหมายจะตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ก็ได้ และจะตั้งให้คนรับมรดกเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกทั้งหมด หรือจะตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะแปลงที่เขารับมรดกนั้นก็ได้ ปกติการจะตั้งหรือไม่ตั้งผู้จัดการมรดกนั้นจะดูจากความจำเป็น เพราะบางครั้งการตั้งผู้จัดการมรดกก็มีประโยชน์มาก) และไม่ต้องนำใบมรณบัตรของพ่อแม่หรือลูกเจ้ามรดกที่ตายไปก่อนแล้วมาแสดงเลย เพราะเหตุว่าถ้าพินัยกรรมไม่ได้กำหนดให้คนเหล่านั้นเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกแล้ว ก็ไม่มีเรื่องต้องดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับพวกเขาอีกต่อไป ซึ่งในการดำเนินการขอประกาศรับมรดกนั้นจะสะดวกรวดเร็วกว่ากรณีไม่ทำพินัยกรรมมาก เพราะมีเรื่องที่เจ้าหน้าที่และผู้ขอรับมรดกต้องมีภาระต้องเตรียมการน้อยกว่ากันมาก

แต่ทางสำนักงานที่ดินต้องการให้ดิฉันนำตัวทนายความผู้ร่างพินัยกรรม และ พยานที่เซ็นเป็นพยานในพินัยกรรมไปเซ็นรับรองการยื่นคำขอในการโอนที่ดินมรดกด้วย ข้อนี้ดิฉันต้องพาไปด้วยเหรอคะ ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมัขั้นตอนยุ่งยาก 

และต้องนำลายเซ็นของหน่วยราชการที่ดิฉันได่กล่าวในข้างจ้นถึง 5 หน่วยงายเลยเหรอคะ รู้สึกว่าการโอนที่ดินมรเกของดิฉันดูวุ่ยวายมาก เหมือนกับตัวดิฉันไม่ได้มีพินัยกรรมในการโอนมรดกเลยค่ะ 

 

รบกวนขอคำชี้แนะด้วยค่ะ 



ผู้ตั้งกระทู้ ped :: วันที่ลงประกาศ 2015-12-13 20:01:07 IP : 49.229.56.111


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3914080)

ตามที่เจ้าพนักงานที่ดินแนะนำนั้นถูกต้องแล้ว  ควรปฏิบัติตามที่เขาแนะนำ   เหตุผล    แม้คุณจะได้รับมรดกตามพินัยกรรมของพ่อจริง  แต่คนภายนอก  โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ที่ดิน  เขาจะทราบได้อย่างไรว่า พินัยกรรมนี้ เป็นฉบับจริงหรือไม่  เพราะด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การปลอมเอกสาร  สามารถทำได้อย่างง่ายดาย   แม้แต่ธนบัตรที่มีระบบการพิมพ์ที่เข้มงวดกว่าเอกสารทั่วไป  ยังมีการปลอมแปลงกันอยู่เสมอ  ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่มีการตรวจจสอบให้ชัดเจน  อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในภายหลังได้  ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง  นำบุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำพินัยกรรมมายืนยันอีกครั้ง  ซึ่งคุณคงมีความรู้สึกว่า  วุ่นวาย มากเรื่อง   แต่ถ้าลองไตร่ตรองดูด้วยเหตุและผลแล้ว  เจ้าหน้าที่ที่ดิน มีความจำเป็นต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนทุกขั้นตอน เพื่อป้องกันตนเอง  ถ้าถูกดำเนินคดี  หรือถูกลงโทษทางวินัย  คงไม่ใครจะช่วยพวกเขาได้....ดังนั้นในทางปฏิบัติ  แม้จะมีพินัยกรรม   ก็ควรร้องศาลเพื่อขอจัดการมรดกตามพินัยกรรม  เมื่อศาลมีการตรวจสอบข้อมูลจากพยานหลักฐานต่างๆ จนเป็นที่ชัดเจนแล้ว ว่า เป็นพินัยกรรมจริง   ก็ขอคัดสำเนาคำสั่งศาลมาให้เจ้าหน้าที่ดิน ดำเนินการได้  ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็สามารถดำเนินการได้  โดยไม่ต้องวิตกกังวล  เพราะดำเนินการตามคำสั่งศาล  บางคนอาจแย้งว่า  แล้วคำสั่งศาลปลอมแปลงไม่ได้หรือ   ขอตอบว่าปลอมแปลงได้   แต่เจ้าหน้าที่ที่ดินไม่ต้องรับผิด  เพราะคนผิดก็คือคนปลอมแปลงเอกสาร....การทำพินัยกรรมไว้   ฟังดูก็เท่และเก๋ดี  แต่จะมีปัญหาในทางปฏิบัติค่อนข้างมาก    ก็ยังดีที่ทายาทอื่นๆไม่มีการโต้แย้ง   ถ้าทายาทที่มีสิทธิรับมรดก  โต้แย้งว่า พินัยกรรมไม่สมบูรณ์  หรือพินัยกรรมปลอม  คงเป็นเรื่อง   เพราะมีภาระต้องพิสูจน์กันวุ่นวายยาวนาน   มีมรดกเป็นจำนวนมากไม่สามรถแบ่งปันกันได้  เพราะติดปัญหาเรื่องการพิสูจน์ความจริง  อาจใช้เวลา 5-10 ปี  ก็ได้  คงไม่เหมือนในนิยาย  ที่ทนายความเปิดพินัยกรรมแล้ว   นางเอกได้รับมรดกมหาศาล  คงดูก็พลอยแฮปปี้ไปด้วย   แต่ในชีวิตจริง  เป็นเรื่องตรงกันข้าม  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2015-12-14 08:50:46 IP : 101.51.173.189


ความคิดเห็นที่ 2 (4544929)

เป็นความจริงครับ ผมก็ทำแบบนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น โคอิจิ วันที่ตอบ 2023-12-05 01:30:45 IP : 49.230.187.20



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.