ReadyPlanet.com


การขอรังวัดสอบแนวเขตที่ดิน แต่ข้างเคียงไม่ไป


  การขอรังวัดสอบแนวเขตที่ดิน    ในกรณีที่ไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียง ให้มาระวังแนวเขต ได้ หรือในกรณีที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียง ได้รับการติดต่อจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ให้มาระวังแนวเขตแล้วแต่ไม่มา หรือมาแต่ไม่ยอม ลงชื่อรับรองแนวเขตโดยไม่ได้คัดค้านการรังวัด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้นั้นมาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือคัดค้านภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้ส่งหนังสือ ถ้าผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียง ไม่ ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในกำหนดดังกล่าว และผู้ขอได้ให้ คำรับรองว่ามิได้นำทำการรังวัดรุกล้ำที่ดินข้างเคียงและยินยอมให้ แก้ไขแผนที่หรือเนื้อที่ให้ตรงกับความเป็นจริง ให้เจ้าพนักงานที่ดิน ดำเนินการตามวรรคสองไปได้โดยไม่ต้องมีการรับรองแนวเขต
           จะขอถามในกรณี 1.) ในระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ แจ้งเป็นหนังสือให้ข้างเคียงมาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือคัดค้านภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้ส่งหนังสือ     แต่ข้างเคียงไม่ได้มาลงชื่อทำการใดๆทั้งสิ้น    และข้างเคียงก็ได้ทำการขายที่ดินในโฉนดให้กับคนใหม่ไป (โดยที่ยังอยู่ในระยะเวลา 30 วัน)   แบบนี้แล้วข้างเคียงสามารถทำการขายได้หรือไม่    และข้างเคียงจะมีความผิดไหมค่ะ   หรือต้องทำการอย่างไรก่อนถึงจะมีสิทธิขายได้

2.)  ถ้าข้างเคียงสามารถขายโฉนดที่ดินให้กับคนใหม่ไปแล้ว   และต่อมาเจ้าของคนใหม่ได้ทำการรังวัดสอบเขตเนื้อที่ดินใหม่ และพบว่าไม่ตรงตามกับเนื้อที่ในโฉนดที่ดินที่ซื้อมา  แบบนี้แล้วจะทำการแก้ไขอย่างไรได้บ้างค่ะ (เพราะก่อนที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่ได้ให้คนขายทำการรังวัดสอบเขตเนื้อที่ดินก่อนค่ะ)

ขอคำแนะนำด้วยค่ะ       ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ เอ :: วันที่ลงประกาศ 2014-03-08 09:58:41 IP : 61.91.4.2


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3317206)

1.) ในระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ แจ้งเป็นหนังสือให้ข้างเคียงมาลงชื่อรับรองแนวเขตหรือคัดค้านภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้ส่งหนังสือ     แต่ข้างเคียงไม่ได้มาลงชื่อทำการใดๆทั้งสิ้น    และข้างเคียงก็ได้ทำการขายที่ดินในโฉนดให้กับคนใหม่ไป (โดยที่ยังอยู่ในระยะเวลา 30 วัน)   แบบนี้แล้วข้างเคียงสามารถทำการขายได้หรือไม่    และข้างเคียงจะมีความผิดไหมค่ะ   หรือต้องทำการอย่างไรก่อนถึงจะมีสิทธิขายได้

ตอบ...ในเมื่อเขาเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน   ย่อมขาย  หรือจดทะเบียนโอนไปได้เสมอ  และเขาไม่มีความผิดใดๆทั้งสิ้น    เรื่องการรังวัดแนวเขตเป็นอีกกรณีหนึ่งต่างหาก   ในเมื่อคนซื้อเขายอมรับความเสี่ยงเอาเอง  คือซื้อที่ดินโดยไม่มีการรังวัด   ก็สามารถทำได้   ถ้าที่ดินขาดหายไป   ก็มีช่องทางของกฎหมายให้แก้ไขได้อยู่แล้ว ครับ

2.)  ถ้าข้างเคียงสามารถขายโฉนดที่ดินให้กับคนใหม่ไปแล้ว   และต่อมาเจ้าของคนใหม่ได้ทำการรังวัดสอบเขตเนื้อที่ดินใหม่ และพบว่าไม่ตรงตามกับเนื้อที่ในโฉนดที่ดินที่ซื้อมา  แบบนี้แล้วจะทำการแก้ไขอย่างไรได้บ้างค่ะ (เพราะก่อนที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินไม่ได้ให้คนขายทำการรังวัดสอบเขตเนื้อที่ดินก่อนค่ะ)

ตอบ...ต้องไปว่ากล่าวกับเจ้าของคนเดิม  ในเมื่อเขายอมเสี่ยงภัยแต่แรก   ก็ต้องยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น  ถ้าขาดตกบกพร่องไปไม่เกิน 5%   ตาม ปพพ. ม.466 หรือใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก็ได้ ครับ

 

ปพพ. มาตรา ๔๖๖
            ในการซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์นั้น หากว่า ได้ระบุจำนวนเนื้อที่ ทั้งหมดไว้ และ ผู้ขาย ส่งมอบ ทรัพย์สิน น้อย หรือ มากไปกว่า ที่ได้สัญญาไซร้ ท่านว่า ผู้ซื้อ จะปัดเสีย หรือ จะรับเอาไว้ และ ใช้ราคาตามส่วน ก็ได้ ตามแต่จะเลือก
            อนึ่ง ถ้า ขาดตกบกพร่อง หรือ ล้ำจำนวน ไม่เกินกว่า ร้อยละห้า แห่งเนื้อที่ทั้งหมด อันได้ระบุไว้นั้นไซร้ ท่านว่า ผู้ซื้อ จำต้องรับเอา และ ใช้ราคาตามส่วน แต่ว่า ผู้ซื้อ อาจจะเลิกสัญญาเสียได้ ในเมื่อ ขาดตกบกพร่อง หรือ ล้ำจำนวน ถึงขนาด ซึ่ง หาก ผู้ซื้อ ได้ทราบก่อนแล้ว คงจะมิได้ เข้าทำสัญญานั้น

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2014-03-08 11:11:26 IP : 101.51.186.206



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.