ReadyPlanet.com


รบกวนผู้รู้ ช่วยตอบหน่อยคะ เรื่องที่ดินกงสี


 น.ส. A เอาที่ดินไปไว้สหกรณ์ กู้มา 150,000 บาท

ตอนนั้น น.ส. A ทำได้แต่ส่งดอก ไม่ส่งต้น เพราะเงินไม่พอ 
 
นาย B เลยเข้าไปช่วยโดยการเอาที่นั้นไปโอนกับธนาคารสีม่วง 550,000 บาท เพื่อปิดยอด 150,000 บาท และส่วนต่างเป็นก็เป็นของนาย B 
แต่พอคนอื่นๆรู้ว่าไปกู้มาได้เยอะ เลยมาขอเงินจากนาย B แต่นาย B ไม่ให้ 
 
โดยนาย B และน.ส. A ช่วยกันผ่อนในยอด 5,000 บาท 
แล้วก็เกิดผ่อนไม่ไหว เลยให้ นาง C และ นาย D (สามี-ภรรยา) มา refinance (กู้ร่วมกัน) ในชื่อของ  นาง C และ นาย D (สามี-ภรรยา)
แล้วให้ น.ส. A ก็ผ่อนคนเดียวก่อน หลังจากที่ นาย A โอเคแล้ว นาย B ก็มาผ่อนต่อเหมือนเดิม 
 
ทั้งนี้ บังเอิญว่า นาย B เสียชีวิตลง และนาง H (ภรรยาของนาย B) ขายสวนยางของตัวเองได้ ประมาณ 4-5 ล้าน 
เลยเอาเงินในส่วนที่ นาย B เอาไป และที่ติดไว้ทั้งหมด มาคืนให้แก่ น.ส. A เพื่อไปจ่ายให้กับธนาคาร 
แต่ น.ส. A กลับนำเงินนั้นไปทำอย่างอื่น จนตัวเองต้องหนีหนี้ก้อนโตไปอยู่ที่อื่น 
 
ทำให้ญาติพี่น้องคนอื่นๆที่อยากได้ที่ดินตรงนั้น มาช่วยกันผ่อน และมาขอให้ นาง H (ภรรยาของนาย B) ช่วยออกด้วย
แต่ นาง H (ภรรยาของนาย B) ได้จ่ายในส่วนที่เคยได้ค้างไว้หมดแล้ว จึงไม่จำเป็นจะต้องจ่ายอีก 
เลยทำให้เกิดความไม่พอใจในบรรดาญาติพี่น้องกัน 
 
และคนที่ชื่อนาง E และนาย F (สามี-ภรรยาอีกคู่) ได้มาข่มขู่ นาง H (ภรรยาของนาย B) ต่างๆนาๆ ว่าจะมาตบ มาตีนาง H (ภรรยาของนาย B)
ทำให้เกิดความหวาดกลัว [b](ตรงนี้เราสามารถฟ้องได้หรือเปล่า แต่เราไม่มีหลักฐาน พวกคลิปเสียงต่างๆ ?)[/b]
 
แต่เนื่องด้วยที่บ้านดังกล่าวเป็นบ้านกงสีของอาม่า ซึ่งทุกท่านมีสิทธิ์อาศัยอยู่ และสามารถแบ่งที่บ้านในสัดส่วนที่เท่าๆกัน
 
ที่นี้ คนที่ชื่อนาง E และนาย F (สามี-ภรรยาอีกคู่) ได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิบแปลงนั้นก่อนที่ นาง H (ภรรยาของนาย B) จะมาสร้างอยู่ และที่ๆนาง E และนาย F (สามี-ภรรยาคู่กรณี) สร้างมันเกินตามที่แต่ละคนจะได้รับ และทำให้ที่ๆนาง H (ภรรยาของนาย B) สร้างได้ไม่ครบ 
[b](ถ้านาง H (ภรรยาของนาย B) ต้องการที่ตรงนั้นคืน (ที่ๆนาง E และนาย F (สามี-ภรรยาคู่กรณี) สร้างเกินออกมา) สามารถทำได้หรือไม่)[/b]
 
และทางนาง E และนาย F (สามี-ภรรยา คู่กรณี) ได้มีการข่มขู่ในวันนี้ว่า ถ้าจะมาเอาที่และมารื้อในส่วนที่เขาได้สร้าง (ในที่ๆมันเกิน ที่เป็นของเรา) เขาจะแจ้งความให้ตำรวจมาจับ [b]แบบนี้ใครถูก หรือผิดกัน?[/b]
 
แล้วเราควรจะทำยังไงให้ได้ที่ในอัตราส่วนที่เท่าๆกันคะ


ผู้ตั้งกระทู้ ลูกสาวนาง H (r-dot-wilailak-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2016-05-09 13:16:14 IP : 171.7.250.88


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3997947)

ทรัพย์มรดก

    ในเมื่อที่ดินเป็นของอาม่า  ลูกๆทุกคนจึงมีส่วนแบ่งของมรดกเท่าๆกัน  ก็ให้ทายาทร้องศาลขอเป็นผู้จัดการมรดก  หรือเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน  เพื่อตกลงแบ่งปันที่ดินให้ลูกๆทุกคน   ลูกที่ตายไปก่อน  ก็ให้หลานรับมรดกแทนที่  อี และ เอฟ  สร้างบ้านเกินส่วนที่เขาควรจะได้  ก็ใช้วิธีเจรจาให้เขารื้ออก  หรือให้เขาชดใช้ค่าที่ดินในส่วนที่เกิน  ถ้าตกลงกันไม่ได้   ก็ต้องฟ้องศาล(แต่ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรฟ้อง  เพราะจะมีปัญหาอื่นๆตามมามากมาย) ถ้าไม่สามารถแบ่งเท่าๆกันได้  บางทียอมรับเพียงส่วนที่เหลือ และยอมรับเงินชดเชยตามควร  ก็เป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง  น่าจะดีกว่าการฟ้องร้องกัน... เรื่อง บี  ถูกข่มขู่ต้องพยายาม เก็บหลักฐานไว้   ถ้าไม่มีหลักฐานคงลงโทษไม่ได้  ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-05-09 14:26:46 IP : 101.51.185.139


ความคิดเห็นที่ 2 (3998006)

 ณ ปัจจุบัน ที่ดินผืนนี้ติดจำนองกับธนาคาร ตามที่ refinance ในชื่อ  นาง C และ นาย D (สามี-ภรรยา) 

อาม่า เคยกล่าวไว้ว่า ลูกๆทุกคนมีสิทธิ์อาศัยอยู่ และสามารถแบ่งที่บ้านในสัดส่วนที่เท่าๆกัน 

แบบนี้ยังคงทำได้ใช่มั้ยคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกสาวนาง H วันที่ตอบ 2016-05-09 16:33:06 IP : 171.7.251.39


ความคิดเห็นที่ 3 (3998703)

การแบ่งปันมรดก

    ขอเสนอทางออกสองทาง  ลองเลือกดูว่าว่าจะใช้แบบไหนดี...

ทางแรก...ให้ทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดก  เพิ่มชื่อในโฉนดที่ดิน   เพื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน  หรือ...แจ้งรังวัดขอแยกที่ดินเป็นแปลงๆ  และแยกกันถือกรรมสิทธิ์คนละแปลงก็ได้  แต่...การจะทำได้ต้องเจรจากับธนาคารให้ลงตัว  คือต้องทำสัญญาจำนองขึ้นมาใหม่  ทายาททุกคนต้องร่วมกันเป็นลูกหนี้ทุกๆคน ครับ

ทางที่สอง...ทายาททุกคนทำสัญญาประนีประนอม  แบ่งปันที่ดินแปลงนี้เป็นสัดส่วน และแยกกันถือครองเป็นสัดส่วน โดยแนบแผนผังสำเนาโฉนดที่ดิน  ที่แสดงการแบ่งปันกันเป็นแปลงๆ  ทายาททุกคนลงลายมือรับรองในสำเนาโฉนดที่มีการแบ่งปัน  ทำสัญญาให้ครบจำนวนทายาททุกคน  และควรแนบสำเนาบัตรฯของทายาททุกคนแนบท้ายสัญญาประนีประนอมด้วย   ทายาทต่างเก็บรักษาสัญญาไว้ทุกคน วิธีนี้ไม่ต้องยุ่งยากในการเจรจากับธนาคาร  เมื่อหมดหนี้จำนอง  ก็ไถ่จำนองอออกมา  แบ่งปันกันตามสัญญาฯ แบบสัญญาประนีประนอม  ดูแบบได้ในเน็ต   สามารถแก้ไข  เพิ่มเติมข้อความในสัญญาฯได้ ตามความเหมาะสม ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-05-10 11:41:21 IP : 101.51.183.251


ความคิดเห็นที่ 4 (4000654)

 ขอบคุณมากๆนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกสาวนาง H วันที่ตอบ 2016-05-12 21:56:17 IP : 49.49.100.232



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.