ReadyPlanet.com


การขอครอบครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว


 ดิฉัน ได้หย่าขาดกับอดีตสามีมาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว มีบุตรด้วยกัน 1 คน (บุตรสาว) และทางพ่อแม่ของดิฉัน ก็เป็นคนเลี้ยงดูเด็กมาตลอดตั้งแต่คลอดได้เดือนกว่าๆ เนื่องจากดิฉันและอดีตสามี ทำงานอยู่ กทม. ไม่สะดวกที่จะดูแลกันเอง พ่อแม่ของดิฉันจึงได้พาลูกกลับไปอยู่ ตจว. ตั้งแต่ลูกเกิด อดีตสามีส่งเสียค่าใช้จ่ายให้ทุกเดือน จนกระทั่งวันหย่า หลังจากหย่าแล้ว เค้าไม่ส่งค่าใช้จ่ายให้อีกเลยค่ะ แม่ดิฉันโทรไปสอบถาม เค้าก็บอกว่า รายจ่ายเค้าไม่พอใช้ เลยไม่ให้ค่ะ แม่ดิฉันจึงได้ด่าอดีตสามีไป และพูดว่า ถ้าไม่ส่งเสีย ก็ไม่ได้มาเจอกับลูกอีก หลังจากนั้น 4 เดือน เค้าก็ส่งเงินมาให้ค่ะ แต่เหลือแค่ครึ่งนึงจากที่เคยส่ง และเค้าก้ไม่ติดต่อมาทางครอบครัวดิฉัน แต่กลับลักลอบไปพบลูกที่โรงเรียน และพยายามจะเอาลูกไป แม่ของดิฉันจึงได้โทรไปคุยกับเค้าดีๆว่า ถ้าอยากจะพบลูก ก็ให้ไปพบที่บ้าน หลังจากนั้น เค้าก็มาที่บ้านค่ะ 2-3 ครั้ง ครั้งสุดท้าย เค้าก็พยายามจะหลอกพาลูกดิฉันออกจากบ้านค่ะ แต่แม่ดิฉันไม่อนุญาต เค้าก็เลยขู่ว่า จะไม่ส่งค่าใช้จ่ายให้แล้ว และถ้าไม่ให้เค้าเอาลูกไป เค้าก็จะไปเอาลูกที่โรงเรียน ยังไงๆ เค้าก็จะเอาลูกไปให้ได้ค่ะ

 

รบกวนสอบถามค่ะว่า ดิฉัน จะเรียกร้องขอดูและบุตรแต่เพียงผุ้เดียว โดยที่ไม่ให้ทางฝั่งอดีตสามี มายุ่งวุ่นวายกับลูกได้รึป่าวคะ ดิฉันไม่ต้องการให้เค้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตของดิฉันและลูกอีกเลยค่ะ และต้องการเรียกร้องในส่วนของค่าเลี้ยงดูด้วยค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ แม่ผู้เข้มแข็ง :: วันที่ลงประกาศ 2015-04-24 16:02:15 IP : 49.48.234.3


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3802924)

ในการหย่า  ถ้าให้คุณปกครองบุตร   ก็เป็นไปตามที่ตกลงกัน   ถ้าสามีมานำบุตรไปก็เป็นการทำผิดข้อตกลง   ที่ฟ้องทางแพ่งได้   หรืออาจมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ได้  แต่ความเป็นพ่อลูกกัน   ตำรวจก็คงไม่รับทำคดีแบบนี้  เพราะฟ้องร้องกันไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร  เรื่องแบบนี้เป็นปัญหาครอบครัว   ต้องใช้การเจรจาเพื่อหาทางยุติปัญหา  ถ้ามุ่งเอาชนะกัน   สามีก็อาจฟ้องขออำนาจปกครองบุตร   ให้ต้องยุ่งยาก   ขอแนะนำให้ใช้ความสัมพันธ์อันดีแต่หนหลัง  เพื่อเจรจากันเรื่องอำนาจการปกครองบุตร  และการส่งค่าเลี้ยงดูที่เหมาะสม   แต่จะถึงขั้นไม่ให้เขามายุ่งเกี่ยวกับบุตรเลย  น่าจะไม่มีประโยชน์อะไร   ก็ควรให้เขามาเยี่ยมเยียนได้ตามสมควร ถ้าคิดในแง่บวก  บุตรสามารถรับมรดกของบิดาได้  ในอนาคค และบุตรมีความภาคภูมิใจ  ที่มีพ่อเป็นตัวตน ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2015-04-25 08:54:12 IP : 101.51.184.149



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.