ReadyPlanet.com


ความหมายของหมายเรียกและหมายจับ และปัญหาบางอย่างซึ่งผมศึกษาแล้วไม่เข้าใจ


หมายเรียก คือเรียกให้ไปพบเจ้าพนักงานสอบสวนพบ ภายใน15 วันใช่รึป่าวครับ แล้วทีนี้ผมอ่านข่าวอ่านกระทู้มาผมเกิความสงสัยมาก ว่าบางคนไม่ได้รับหมายเรียกจาก สน.นั้นที่ส่งไป ผมเลยอยากรู้ว่าเขามีขั้นตอนการส่งไปยังท้งที่ภูมิลำเนาที่อยู่ยังไง เขาส่งไปยังไปรษณีย์หรือป่าวครับ หมายเรียกนี้ไม่จำเป็นต้องอนุมัติจากศาลใช่ไหมครับ ถ้าหากมีที่อยู่อย่างชัดเจน เขาก็น่าจะส่งถึงบ้านหรือตัวผุ้รับสิครับ มีสาเหตุอะไรที่ผู้รับไม่ได้รับหมายเรียก บางคนกว่าจะรู้ตัวโดนหมายจับซะแล้วซึ่งผมอ่านตามกระทู้ข่าว ซึ่งก่อนจะรับหมายเรียกนี้ต้องเซ็นรับรองว่าได้รับหมายเรียกแล้ว แล้วลงชื่อผู้สงหมายเรียก แล้วกรณีผุ้ที่จะเซ็นรับทราบหมายเรียกนั้นได้จะต้องเปนเจ้าของบ้านหรือผุ้รับหมายเรียก ก่อนผุ้รับทราบจะเซ็นเขาต้องดูก่อนไหมว่าเปนเจ้าของบ้านหรือผู้รับจริงๆ ตามบัตรประชาชน ผมเลยอยากรู้ว่าปกติแล้วเขาให้ไปรษณียส่งไปหรือว่าให้เจ้าหน้าที่ตำรวจส.น.ท้องที่ที่ผู้รับอาศัยอยู่ไปส่งหมายเรียกตามภูิมลำเนา ถ้าสงสัยก้ลองดูรูปแบบหมายเรียกต่างๆที่ยุในอินเตอรเนตได้เลยครับมันจะมีรูปแบบบอกอยู่ แล้วมาตอบข้อสงสัยผมที บางครั้ง เขาส่งหมายเรียกไปสอง สามครั้ง เลยกว่านั้นก้ออกกหมายจับ มีความเป็นไปได้ไหมที่ส่งหมายเรียกไปสองสามครั้ง แล้วตัวผู้ต้องหาไม่รับทราบเลย ต่อไปหมายจับ คือเปนใบที่ศาลอนุมัติจับเท่านั้น ซึ่งการอนุมัติหรือไม่ขึ้นยุกับดุลยพินิจของศาล ปกติแล้วหมายจับ จะถูกส่งไปพื้นที่ลำเนาของผู้ต้องหาเหมือนหมายเรียกไหมครับ ยังไงก็บอกรายละเอียดให้กระจ่างด้วยนะครับ


ผู้ตั้งกระทู้ เเคมป์ :: วันที่ลงประกาศ 2015-12-16 23:55:39 IP : 49.229.96.140


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3915573)

ขอคัดลอก ป.วิอาญา มาให้อ่านเลย  คงช่วยให้คลายสงสัยได้ ( ม.52-ม.56)  ส่วนหมายจับ ก็เป็นไปตาม  ม.66 ถึง ม.68  ครับ

 

มาตรา ๕๒ การที่จะให้บุคคลใดมาที่พนักงานสอบสวนหรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่หรือมาศาล เนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้องการพิจารณาคดี หรือการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ จักต้องมีหมายเรียกของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่หรือของศาล แล้วแต่กรณี
แต่ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ไปทำการสอบสวนด้วยตนเอง ย่อมมีอำนาจที่จะเรียกผู้ต้องหาหรือพยานมาได้โดยไม่ต้องออกหมายเรียก
 
มาตรา ๕๓ หมายเรียกต้องทำเป็นหนังสือและมีข้อความ ดังต่อไปนี้
(๑) สถานที่ที่ออกหมาย
(๒) วันเดือนปีที่ออกหมาย
(๓) ชื่อและตำบลที่อยู่ของบุคคลที่ออกหมายเรียกให้มา
(๔) เหตุที่ต้องเรียกผู้นั้นมา
(๕) สถานที่ วันเดือนปีและเวลาที่จะให้ผู้นั้นไปถึง
(๖) ลายมือชื่อและประทับตราของศาล หรือลายมือชื่อและตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้ออกหมาย
 
มาตรา ๕๔ ในการกำหนดวันและเวลาที่จะให้มาตามหมายเรียกนั้น ให้พึงระลึกถึงระยะทางใกล้ไกล เพื่อให้ผู้ถูกเรียกมีโอกาสมาถึงตามวันเวลากำหนดในหมาย
 
มาตรา ๕๕ การส่งหมายเรียกแก่ผู้ต้องหา จะส่งให้แก่บุคคลผู้อื่นซึ่งมิใช่สามีภริยา ญาติหรือผู้ปกครองของผู้รับหมายรับแทนนั้นไม่ได้
 
มาตรา ๕๕/๑ ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้าศาลมีคำสั่งให้ออกหมายเรียกพยานโจทก์โดยมิได้กำหนดวิธีการส่งไว้ ให้พนักงานอัยการมีหน้าที่ดำเนินการให้หัวหน้าพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่เป็นผู้จัดส่งหมายเรียกแก่พยานและติดตามพยานโจทก์มาศาลตามกำหนดนัดแล้วแจ้งผลการส่งหมายเรียกไปยังศาลและพนักงานอัยการโดยเร็ว หากปรากฏว่าพยานโจทก์มีเหตุขัดข้องไม่อาจมาศาลได้หรือเกรงว่าจะเป็นการยากที่จะนำพยานนั้นมาสืบตามที่ศาลนัดไว้ ก็ให้พนักงานอัยการขอให้ศาลสืบพยานนั้นไว้ล่วงหน้าตามมาตรา ๑๗๓/๒ วรรคสอง
เจ้าพนักงานผู้ส่งหมายเรียกมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากระทรวงการคลัง
 
มาตรา ๕๖ เมื่อบุคคลที่รับหมายเรียกอยู่ต่างท้องที่กับท้องที่ซึ่งออกหมาย เป็นหมายศาลก็ให้ส่งไปศาล เป็นหมายพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจให้ส่งยังพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่มีอำนาจออกหมายเรียกซึ่งผู้ถูกเรียกอยู่ในท้องที่ เมื่อศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้รับหมายเช่นนั้นแล้ว ก็ให้สลักหลังหมายแล้วจัดการส่งแก่ผู้รับต่อไป
มาตรา ๖๖ เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ
(๒) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี
 
มาตรา ๖๗ จะออกหมายจับบุคคลที่ยังไม่รู้จักชื่อก็ได้แต่ต้องบอกรูปพรรณของผู้นั้นให้ละเอียดเท่าที่จะทำได้
 
มาตรา ๖๘ หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2015-12-17 11:48:23 IP : 101.51.173.13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.