ReadyPlanet.com


สัญญาเช่าอาคารและการเสียอากรแสตมป์


     เนื่องจากบริษัทฯ ได้เช่าอาคาร 10 ปี มาเพื่อใช้งาน แต่บริษัทฯ ไม่ได้ไปจดทะเบียนยังกรมที่ดิน แต่ได้ไปชำระอากรแสตมป์มาแล้ว  หากเกินการฟ้องร้องเกิดขึ้นภายหลัง โดยข้อมูลที่ทราบมาจะสามารถฟ้องร้องได้ 3 ปีเท่านั้น  และอากรแสตมป์ที่ไปชำระมาแล้วใช้เป็นเอกสารในการฟ้องร้องต่อศาลแทนการจดทะเบียนได้หรือไม่ครับ

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ เจด :: วันที่ลงประกาศ 2017-03-22 14:44:57 IP : 101.108.132.247


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4163129)

 การเช่าอาคาร

  ถ้าเช่าเกิน สามปี  ต้องจดทะเบียน  ถ้าไม่จดทะเบียน  จะบังคับได้เพียงสามปี   ตาม ปพพ. ม.538  เรื่องอากรฯ  ไม่น่าจะใช้เป็นข้ออ้างว่า มีการเช่าเกินสามปีได้ เพราะไม่จดทะเบียน   อย่างไรก็ตาม   ถ้าเป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทน  ยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา  แม้จะไม่จดทะเบียนหรือไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ  ก็สามารถเช่าได้เกินสามปี  เช่น มีการสร้างอาคารในที่เช่า หรือการปรับปรุงอาคาร เป็นต้น   ก็แล้วแต่ข้อเท็จจริง เป็นกรณีๆไป...เมื่อยังไม่เกิดปัญหา ก็ควรหาทางโอกาส ไปจดทะเบียนการเช่า หรือถ้ามีการฟ้องขับไล่  ก็อ้างสัญญาต่างตอบแทนขึ้นต่อสู้ ครับ

กรณีตัวอย่าง.....

 ฎีกา 491/2540...

 ก่อนโจทก์เข้าอยู่ตามสัญญาเช่าจำเลยให้โจทก์ซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงตึกแถวพิพาทซึ่งมีสภาพทรุดโทรมมากโดยเสียค่าใช้จ่ายเองโจทก์ได้ดำเนินการซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงตึกแถวพิพาทแล้วเสร็จโดยใช้เวลา1ปีเศษสิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ2ล้านบาทจึงแสดงว่ามีการตกลงให้โจทก์ซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงตึกแถวพิพาทจริงและการซ่อมแซมดังกล่าวมิใช่เพียงเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์ของโจทก์เท่านั้นหากแต่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ทำให้ตึกแถวพิพาทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยสัญญาเช่าดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เอกสารสัญญาเช่าในคดีนี้เป็นสัญญาสำเร็จรูปของจำเลยที่ได้จัดพิมพ์เป็นแบบทั่วไปที่ใช้ในกิจการของจำเลยซึ่งข้อตกลงบางข้อที่ได้จัดพิมพ์ไว้สำเร็จรูปนี้โจทก์และจำเลยก็มิได้ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อกันเช่นข้อ19เรื่องทำการค้าในทรัพย์สินที่เช่าซึ่งตกลงกันใช้เป็นที่อยู่อาศัยต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยเป็นหนังสือและโจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มแต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งโจทก์ที่ทำการค้าในทรัพย์สินที่เช่าและเรียกเงินเพิ่มเติมแต่อย่างใดดังนั้นแม้สัญญาข้อ6จะระบุว่าทรัพย์สินที่เช่าอยู่ในสภาพปกติและข้อ24ที่ว่าไม่มีข้อตกลงอื่นนอกจากที่ปรากฎในสัญญาหากมีก็ต้องระบุในต้นฉบับสัญญาว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติมก็ตามก็เป็นการพิมพ์สำเร็จรูปไว้แล้วที่ไม่อาจถือเป็นข้อสาระสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อกันข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้มีข้อตกลงจะจดทะเบียนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2017-03-23 05:10:07 IP : 101.51.171.199



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.