ReadyPlanet.com


ข้างบ้านทุบคานบ้านบันไดพื้น ดัดแปลงจนผิดโครงสร้างเดิม โยธาไม่เซ็น -และทำบ้านเราเดือดร้อนมาก ฟ้องได้ไ


 
รบกวนช่วยแนะนำด้วยคะ เรื่องมีอยู่ว่า บ้านเป็นทาวเฮ้าส์ที่มีรั้วและกำแพงติดกัน  ข้างบ้านได้ทำการทุบบ้านเขาเพื่อเปลี่ยนแปลงสไตล์ของบ้าน โดยทุบด้านหน้าออกเพื่อจะใส่กระจกหมดตั้งแต่ชั้นล่างยันชั้นสาม และมีการทุบคานด้านหน้าชั้น1-2 ออก และพื้นชั้นสองและสามออกแบบ ทุบออกไปเลยครึ่งนึงของพื้นที่ในแต่ละชั้น ซึ่งตอนเขาแจ้งเราซึ่งเป็นข้างบ้าน บอกแค่ว่าจะซ่อมแซมบ้าน แต่พอทำขึ้นมา คือ การทุบออกเปลี่ยนแปลงทั้งคานด้านหน้า พื้นและ ยังจะมีการทุบบันไดออกเพื่อเปลี่ยนมุมบันไดอีก 
หลังจากทราบเรื่อง ทางเราก้อวิตกกังวล กลัวบ้านเราจะถล่มไปด้วย จึงได้อีเมล์ไป. แผนกโยธา ที่เขตที่เราอยู่เพื่อสอบถามว่าให้มาช่วยดูบ้านหลังนี้หน่อย
ว่า เขามีการทำถูกต้องไหม และ การปรับเปลี่ยนของบ้านเขานี่จะทำให้เกิดความเสียหายกับบ้านหลังอื่นๆหรือไม่
แต่ก้อ ไม่ได้คำตอบกลับมา มีแต่เจ้าของบ้านที่ทำบ้านนั้นโทรมาสอบถามว่า ทางเราแจ้งไปเขตใช่ไหม เขาจะต้องหยุดทำจนกว่าเราจะอนุญาติ
ซึ่งทางเราก้อบอก ใช่เราแจ้งไปเพราะลงชื่อเบอร์โทรเราไว้ให้เห็นชัดเจน  แต่จุดสำคัญคือ เราสงสัยว่า ทำไมเขตไม่ตอบคำถามที่เราสอบถามว่ามันปลอดภัยไหม
มีการทำถูกต้องตามกฏหมายหรือยัง ---- ที่จะมาบอกว่าเขตไม่ให้ทำต่อ ยกเว้นข้างบ้านอนุญาติ นี่มีนเป็นคำตอบที่ไม่ตรงคำถามทีทสอบถามเขตไป
และ ยังบอกว่า ถ้าไปสอบถามเขตอีก เขาอาจจะต่องหยุดทำบ้านไปเลย (ซึ่งเราก้อไม่ได้อยากให้เป็นเช่นนั้น เพราะบ้านทิ้งค้างคาก้ออันตรายกับบ้านข้างๆด้วย) 
...., เลยทำให้เราไม่กล้าไปสอบถามเขตต่อ .... ทั้งที่ยังคาใจว่า ทำไมเขตไม่มีคำตอบ ไม่ยอมเซ็นตอนุญาติมาให้เห็น ว่าแบบแปลนของข้างบ้านที่จะทำเปลี่ยนแปลงบ้านเขานั้นมัน
ปลอดภัย ,,,, ทางเราได้จัดวิศวกรเข้าไปเพื่อดู และคุยกับวิศวกรของเขา แต่ก้อไม่ได้อะไร เพราะ ทางเขาไม่เตรียมเอกสารไรมาให้ดูให้คำนวนเลย จนต้องบอกว่า ให้ไปเตรียมมาให้ดูด้วย ซึ่ง มันก้อน่าแปลกอีก จะทุบเปลี่ยนแปลงบ้านไม่ได้คำนวนไม่ได้แพลนแบบไรไว้ก่อนเลยหรือ และก้อ ผ่านมา1อาทิตแล้วทางเราก้อยังไม่ได้แบบการคำนวนอาคารจากวิศวกรของข้างบ้านเลย ---- กลัวแต่อยู่ๆไปบ้านถล่ม หรือ ทรุดตัวลงๆๆ ใครจะรับผิดชอบ 

ในกรณีนี้ รบกวนสอบถามจากผู้รู้ด้วยคะ ถ้าเจอแบบนี้ ทางเขตก้อเงียบไม่มีคำตอบ ดันผลักมาให้เราว่าจะอนุญาติให้ทำต่อไหม ซึ่งมันไม่ใช่หน้าที่เรา เราต้องการความปลอดภัย
ถูกต้องควรทำเช่นไรดีคะ  

ขอบคุณคะ



ผู้ตั้งกระทู้ กวิน (Kawin9866-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2015-03-21 13:36:44 IP : 171.96.178.172


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3786988)

 อยากแนะนำให้คุณ  ดาวน์โหลด พรบ.  ควบคุมอาคาร   พ.ศ.2522  ในเว็บของกฤษฎีกา  มาไว้ศึกษารายละเอียด  จะทราบขั้นตอนการแก้ปัญหา ของเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน  ขอยกประเด็นสำคัญมาให้ทราบ เป็นแนวทาง... ได้แก่   การก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร  ต้องได้รับอนุญาตจากท้องถิ่น (เทศบาล/ อบต.)และดำเนินการตาม ม. 39 ทวิ ( ม.21  ) ถ้าฝ่าฝืน  จะมีแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่    ได้แก่ระงับการก่อสร้าง  ( ม.40)  หรือถ้าแก้ไขได้  ต้องแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 30 วัน( ม.41)  หรือถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องให้รื้อ  ( ม.42)    ถ้าไม่รื้อ  เจ้าหน้าที่ต้องร้องศาล  ให้มีคำสั่งจับกุมและขัง ได้( ตาม ป.วิแพ่ง ม.300) ซึ่งกักขังได้ไม่เกินหกเดือน ( ม.43)  และการฝ่าฝืน ตาม ม.21 จะมีโทษตาม  ม.65  คือจำคุกไม่เกินสามเดือน ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท    ถ้ายังฝ่าฝืนอยู่  ก็ปรับวันละไม่เกิน 10,000  บาท  ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนจนกว่าจะปฎิบัติให้ถูกต้อง....จะเห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมาย  ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น  เป็นผู้ดำเนินการ  ไม่ใช่ต้องรอให้คุณอนุญาต  แต่....ประเทศด้อยพัฒนาอย่างเรา   เจ้าหน้าที่ของรัฐมักไม่ใส่ในการปฏิบัติหน้าที่เท่าที่ควร  มักใช้วิธีดองเรื่องไว้   หรือโยนไป โยนมา   จนเรื่องเงียบไปเอง  ส่วนคุณสามารถแจ้งความดำเนินคดี ได้ ตาม ม.65  ดังกล่าวข้างต้น   แต่การเป็นคนบ้านข้างเคียง   ก็ไม่ต่างจากญาติสนิท  ก่อนดำเนินการใดๆ  ลองใช้การเจรจากันก่อน..... ที่จริง   ผู้ควรถูกดำเนินคดีมากที่สุด คือเจ้าพนักงานท้องถิ่น  ที่รู้ว่ามีการทำผิด พรบ.ควบคุมอาคารฯ  แต่ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ   จะมีความผิด  ตาม ปอ. ม.157   มีโทษจำคุก  1-10 ปี ถ้าคุณนำมาประเด็นนี้มาแจ้งความ โดยการร้องทุกข์อัยการให้ดำเนินคดี คงได้สะเทือนกันทั้งเขต ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2015-03-21 15:10:06 IP : 101.51.189.95


ความคิดเห็นที่ 2 (3911723)

 ตึกคุณอาจจะออกแบบมาแบบคานต่อเนื่องก็ได้  ซึ่งถ้าคานหนึ่งหายไป ความสามารถรับน้ำหนักของคานที่เหลือก็จะลดลง

ผู้แสดงความคิดเห็น ชัยมนตรี (nong_tititit-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2015-12-07 20:49:27 IP : 27.55.149.172



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.