ReadyPlanet.com


ทีดินที่ได้มาผิดกฎหมายมั้ยคะ


 เรื่องมีอยู่ว่าเหตุการณเกิดขึ้นเมื่อสามปีก่อน นาง Bได้นำโฉนดที่ดินมาจำนองกู้เงินกับนาง A จำนวนหกหมื่นบาทโดยนาง Aไม่คิดดอกเบี้ย กับนางB  และนางAก็ได้ไปขอเงินจากสามีมาให้นาง Bกู้  โดยในสัญญามีระยะเวลา1ปี   ซึ่งนางB จะต้องโอนเงินคืนนางA ทุกเดือน  จนครบตามจำนวนที่กู้ไปแล้วและนางB จึงจะสามารถไถ่โฉนดคืนได้  

และได้มีการตกลงกันเป็นคำพูดว่าถ้านาง B ไม่จ่ายเงินคืนให้ครบภายในเวลาที่กำหนด  นางAจะสามารถไม่คืนทีดินดังกล่าวได้ทั้งสิ้น  
(เนื่องจากที่ดินนางB นี้มีจำนวน7ไร่และเป็นที่ดินเพื่อการเกษตร และมีการเช่าทีีปลูกพืชทางการเกษตรและเป็นที่ดินที่ติดกับญาติอีกสองแปลงแปลงละ7ไร่เช่นกัน )
  
เวลาผ่านไปจนครบ12 เดือน   นาง B ได้โอนเงินคืนนาง Aเพียงเดือนเดียว เป็นจำนวนหนึ่งพันกว่าบาทเท่านั้น    และได้มาเจรจาขอเลื่อนระยะเวลาออกไปอีก1ปี      ซึ่งนางAก็ตกลงตามนั้น  เพราะต้องการให้โอกาสนางBหาเงินมาคืน    แต่ไม่ได้มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เพียงแต่ว่านางAขอให้ นางB ทำการโอนที่ดินมาเป็นชื่อนางAก่อน     และเมื่อจ่ายเงินคืนครบหกหมื่นบาทนางAก็จะโอนที่ดินคืนให้      แต่ถ้าครบกำหนดและนางฺBไม่นำเงินมาคืน  ที่ดินผืนนี้นางAจะนำไปบริจากให้วัด     นางBก็ตกลงทำตามนั้น  และได้ไปทำการโอนที่ดินที่สำนักงานที่ดินในเขตที่ดินของจังหวัด  โดยมีการทำสัญญาซื้อขายตามจำนวนเงินที่นางBกู้ไป คือหกหมื่นบาท  แต่ทางเจ้าหน้าที่กรมที่ดินแจ้งว่านางBว่าราคาประเมินที่ดินอยู่ที่สองแสนบาทนะ  จะทำการซื้อขายและโอนในราคาหกหมื่อนบาทใช่มั้ย   นางBก็ตกลงกับเจ้าหน้าที่ตามนั้น     และทำการโอนเรียบร้อยอย่างถูกต้องตามกฏหมาย
 
เวลาผ่านไปประมาณครึ่งปีนับจากวันที่โอนที่ดิน   มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น   นั่นคือสามีของนางAเริ่มป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ     และอาการก็ค่อยๆหนักมากขึ้น   นางAเห็นท่าจะไม่ดีจึงได้โทรศัพท์แจ้ง นางB ให้รีบนำเงินมาไถ่คืน   เพราะเงินที่ให้ยืมไปนั้นเป็นเงินของสามี   และนางBก็รับปากอีกสองอาทิตย์จะรีบนำเงินมาไถ่คืนเป็นเงินก้อน     รอจนครบกำหนดสองอาทิตย์นาง B ก็ไม่นำเงินมาคืนตามที่รับปาก   ดังนั้นนางAจึงโทรไปทวงถาม  ส่วนนางBก็พูดเช่นเดิมว่าจะนำเงินมาคืนเดือนหน้า  รอจนครบกำหนดนางB ก็ไม่นำเงินมาคืนตามที่รับปากเช่นเคย  เป็นอย่างนี้หลายครั้ง  หนักๆเข้าถึงขั้นไม่สามารถโทรติดต่อนางB ได้เนื่องจากไม่รับสายโทรศัพท์    
 
อาการสามีของนางAหนักมากขึ้น   ตรวจพบเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายถึงทำคีโมก็อยู่ได้ไมเกินสามเดือน   ดังนั้นสามีของนางAจึงต้องรีบทำพินัยกรรมเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องทรัพย์สินต่างๆของครอบครัวและญาติ    จึงได้ถามว่านางAว่า  นางB นำเงินมาคืนหรือยัง    ถ้านำมาคืนแล้วก็ให้รีบเซ็นโอนที่ดินคืนนางBไป    แต่นางBไม่นำเงินมาคืนและไม่รับโทรศัพท์หลังจากที่นางAพยายามโทรติดต่อหลายสิบครั้งภายในเดือนนั้น   จึงทำให้ไม่สามารถติดต่อได้    นางAและสามีจึงตกลงกันว่าที่ดินผืนนี้ไห้บริจาคอย่าเก็บไว้เอง     จากนั้นอีกไม่กี่อาทิตย์   สามีของนางAก็เสียชีวิต           
 
เวลาผ่านไปหลังจากนั้นเกือบปีคาดว่าญาตินางBคงไม่สามารถติดต่อนางBได้  เนื่องจากที่ดินต้องทำการต่อสัญญาเช่าทีใหม่  ญาติๆของนางBจึงได้ไปเช็คข้อมูลที่กรมที่ดินและทราบเรื่องที่ว่าที่ดินได้โอนเป็นชื่อนางAแล้ว   จึงไม่พอใจเป็นอย่างมาก       และพบว่าเอกสารการโอนที่ดินมีพิรุดเนื่องจากชื่อผู้ที่โอนที่ดินไม่ใช่ชื่อนางB     ดังนั้นญาติๆของนางBจึงได้ไปคุยและกล่าวหากับญาติของนางAและบุคคลอื่นๆว่า นางA โกงที่ดินนางB    ทำให้ญาตินางA เข้าใจผิด  และทำให้นางAเสียชื่อเสียงเป็นอย่างมาก  
 
 หลังจากนั้นไม่นาน ญาติๆๆของนางBคงสามารถติดต่อนางBได้แล้ว และมาทราบภายหลังว่าที่ดินได้ทำการโอนไปแล้วจริงๆ  และชื่อที่โอนก็เป็นชื่อนางB จริง  เพราะนางB ได้ทำการเปลี่ยนชื่อใหม่  โดยที่ไม่ได้บอกญาติพี่น้องในเรื่องนี้      
 
จากนั้นจึงเกิดกรณีพิพาทเนี่องจากญาติๆๆของนางB ได้พยายามติดต่อนางA เพื่อต้องการไถ่ที่ดินคืน    แต่ไม่สามารถติดต่อนางAได้  เนื่องจากทางญาติของนางA แจ้งว่า นางAป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอย่างหนักจากการสูญเสียสามี   และนางAต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่อง ทานยาต่อเนื่อง    เนื่องจากนางA พยายามทำร้ายร่างการตนเองหลายครั้ง     ญาตินางAพยายามไกล่เกลี่ยแทนนางA มาตลอด  จนได้แจ้งไปว่า   ที่ดินไม่สามมารถไถ่ถอนคืนได้   ทำได้อย่างเดียวคือต้องบริจากให้วัดเท่านั้น     เพราะนางA ไม่สามารถผิดคำพูดที่ได้รับปากกับสามีไว้   
 
คำถามคือ
-ที่ดินผืนนี้ถ้านางA ไม่ต่องการให้นางB และญาติๆนางไถ่คืน  จะผิดกฎหมายมั้ยคะ
-นางAสามารถฟ้องร้องญาตินางB ที่ทำให้เสียชื่อเสียงได้มั้ยคะ   ถ้าได้ควรเรียกร้องเท่าไหร่ดีคะ   คดีความจะใช้เวลานานมั้ยคะ
-นางBสามมารถฟ้องร้องที่ดินคืนได้มั้ยคะ
-ทีดินมีมูลค่าสองแสนบาท ณ วันที่โอน นางA จำเป็นต้องจ่ายเงินค่าส่วนต่างหนึ่งแสนสีหมื่นบาทให้กับนางBมั้ยคะ   ถ้าไม่จ่ายคืนจะผิดกฎหมายมั้ยคะ
-และถ้าปัจจุบันที่ดินผืนนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงเจ็ดแสนบาท  ถ้านางAอยากช่วยเหลือนางB  ควรจะให้เงินนางB หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทหรือหกแสนสี่หมื่นบาทคะ 
-ที่ดินผืนนี้สามารถบริจาคให้วัดได้มั้ยคะ
-ถ้าดินผืนนี้สามารถบริจาคให้วัดได้ จะต้องดำเนินการอย่างไรคะ   เพราะถ้าบริจาคให้วัดแล้ว  วัดสามารถนำที่ดินไปให้เช่าเพื่อมีรายได้มาบำรุงวัด หรือสามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างได้มั้ยคะ เพราะเป็นที่ดินเพื่อการเกษตร 
-ถ้านางAไม่ต้องการให้วัดนำที่ดินไปขายต่อหรืโอนให้กับบุคคลอื่นๆในทุกๆกรณีคะ   จะสามารถทำได้มั้ยคะ
ขอบคุณคะ
 
 


ผู้ตั้งกระทู้ นางA :: วันที่ลงประกาศ 2016-06-24 16:00:09 IP : 58.178.19.166


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4036259)

ทรัพย์สินที่นำไปทำบุญ ต้องบริสุทธิ์

-ที่ดินผืนนี้ถ้านางA ไม่ต้องการให้นางB และญาติๆนางไถ่คืน  จะผิดกฎหมายมั้ยคะ

ตอบ...เป็นการให้กู้ยืมเงิน  และโอนที่ดินให้เพื่อตีใช้หนี้  แต่ในเมื่อไม่ตีราคาที่ดินเพื่อใช้หนี้ตามราคาท้องตลาด  การโอนที่ดินจึงเป็น โมฆะ  ตาม ปพพ. ม.656  วรรคท้าย  ครับ

-นางAสามารถฟ้องร้องญาตินางB ที่ทำให้เสียชื่อเสียงได้มั้ยคะ   ถ้าได้ควรเรียกร้องเท่าไหร่ดีคะ   คดีความจะใช้เวลานานมั้ยคะ
 
ตอบ...ถ้ามีการพูดทำให้เสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง  ก็แจ้งข้อหาหมื่นประมาทได้  ภายในอายุความสามเดือน  ส่วนใหญ่คดีแบบนี้ มักจบลงด้วยการไกล่เกลี่ยประนีประนอม  คงใช้เวลาไม่นาน  เว้นแต่ต้องการชนะคะคานกัน  อาจต้องใช้เวลาเป็นปีๆ  ซึ่งไม่น่าจะคุ้ม ครับ
-นางBสามมารถฟ้องร้องที่ดินคืนได้มั้ยคะ
 
ตอบ...ในเมื่อการโอนที่ดินเป็นโมฆะ   บี ก็สามารถฟ้องร้องเรียกที่ดินคืนได้ ครับ
-ทีดินมีมูลค่าสองแสนบาท ณ วันที่โอน นางA จำเป็นต้องจ่ายเงินค่าส่วนต่างหนึ่งแสนสีหมื่นบาทให้กับนางBมั้ยคะ   ถ้าไม่จ่ายคืนจะผิดกฎหมายมั้ยคะ
 
ตอบ...เป็นความรับผิดทางแพ่ง  ก็สามารถใช้การเจรจาตกลงกันได้  ถ้ายินยอมกันทั้งสองฝ่ายตามที่บอก คดีก็ยุติ  ครับ
-และถ้าปัจจุบันที่ดินผืนนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงเจ็ดแสนบาท  ถ้านางAอยากช่วยเหลือนางB  ควรจะให้เงินนางB หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทหรือหกแสนสี่หมื่นบาทคะ 
 
ตอบ...อยู่ที่การเจรจาเช่นกัน  ครับ
-ที่ดินผืนนี้สามารถบริจาคให้วัดได้มั้ยคะ
 
ตอบ... ได้   แต่มีขั้นตอนในการปฏิบัติพอสมควร  คือวัดต้องขออนุญาตในการรับโอนก่อน  คงรับโอนทันทีไม่ได้  ครับ
-ถ้าดินผืนนี้สามารถบริจาคให้วัดได้ จะต้องดำเนินการอย่างไรคะ   เพราะถ้าบริจาคให้วัดแล้ว  วัดสามารถนำที่ดินไปให้เช่าเพื่อมีรายได้มาบำรุงวัด หรือสามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างได้มั้ยคะ เพราะเป็นที่ดินเพื่อการเกษตร 
 
ตอบ....ถ้าทำตามขั้นตอน จนมีการอนุญาตให้วัดรับโอนที่ดินได้  วัดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน  การบริหารจัดการที่ดิน  ก็อยู่ที่เจ้าอาวาส และคณะกรรมการวัด ครับ
-ถ้านางAไม่ต้องการให้วัดนำที่ดินไปขายต่อหรือโอนให้กับบุคคลอื่นๆใอนทุกๆกรณีคะ   จะสามารถทำได้มั้ยคะ
 
ตอบ...ถ้าที่ดินเป็นของวัด  จะขายไม่ได้  ไม่ต้องไปกังวล....คำแนะนำ   ควรโอนที่ดินให้เจ้าของคืน  โดยให้ผู้กู้คืนเงินกู้ และดอกเบี้ย
น่าจะได้บุญมากกว่า การโอนที่ดินให้วัด  เพราะได้ที่ดินมาโดยมิชอบแต่แรก...ทรัพย์ที่นำไปทำบุญ  ต้องได้มาด้วยความบริสุทธิ์  จึงจะเกิดเป็นกุศลผลบุญ  ถ้าได้มาโดยมิชอบ   ย่อมได้รับผลตรงกันข้าม  บาปกรรมมีจริง  ไม่ต้องรอชาติหน้า   แล้ว..ไม่เฉลียวบ้างเลยหรือว่า  เกิดอะไรขึ้นกับครอบครัวของ เอ  ด้วยความปรารถนาดี ครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-06-24 19:15:32 IP : 101.51.161.253


ความคิดเห็นที่ 2 (4036281)

 ขอบคุณสำหรับคำตอบและคำแนะนำด้านบนคะ  

-กรณีนี้ถ้าในอนาคต  ได้มีการตกลงเจรจากันทั้งสองฝ่าย  และนางB ยินยอมรับเงินเพิ่มตามจำนวนเงินที่ตกลงกันได้ทั้งสองฝ่าย   อย่างนี้ที่ดินจะบริสุทธิ์มั้ยคะ     และเรื่องการโอนที่ดินจะถูกต้องตามกฎหมายโดยสมบูรณ์มั้ยคะ     เพราะอยากให้เรื่องจบโดยสมบูรณ์ ไม่มีสิ่งใดค้างคาใจคะ  

-ต้องดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไรบ้างคะ 

-ต้องแก้ไขเอกสารใดๆที่กรมที่ดิน และ/ หรือ เอกสารการการโอนที่ดินมั้ยใหม่มั้ยคะ   

ขอบคุณมากคะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น นางA วันที่ตอบ 2016-06-24 20:28:07 IP : 58.178.19.166


ความคิดเห็นที่ 3 (4036336)

ความรับผิดทางแพ่ง

-กรณีนี้ถ้าในอนาคต  ได้มีการตกลงเจรจากันทั้งสองฝ่าย  และนางB ยินยอมรับเงินเพิ่มตามจำนวนเงินที่ตกลงกันได้ทั้งสองฝ่าย   อย่างนี้ที่ดินจะบริสุทธิ์มั้ยคะ     และเรื่องการโอนที่ดินจะถูกต้องตามกฎหมายโดยสมบูรณ์มั้ยคะ     เพราะอยากให้เรื่องจบโดยสมบูรณ์ ไม่มีสิ่งใดค้างคาใจคะ  

ตอบ....ดังที่เคยตอบแล้ว   เรื่องนี้เป็นเรื่องความรับผิดทางแพ่ง  การโอนที่ดินก็เช่นกัน  แม้เป็นโมฆะ  แต่ถ้าคู่กรณีไม่ฟ้องร้องให้เพิกถอนการโอนที่เป็นโมฆะ  เรื่องก็จบเช่นกัน  เพราะเป็นการสูญเสียสิทธิประโยชน์ส่วนตัว  ไม่ใช่อาญาแผ่นดิน   รัฐจึงไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง....ดังนั้นถ้าทั้งสองฝ่ายสามารถเจรจากันได้เป็นผลสำเร็จ  เช่น บี ยอมรับเงินส่วนที่ยังขาดในจำนวนที่พึงพอใจ  เรื่องราวก็จบสิ้นด้วยดี  ก็ถือว่าได้ที่ดินมาโดยบริสุทธิ์....ถ้าตกลงกันสำเร็จ ควรทำสัญญาประนีประนอมไว้ให้ชัดเจน   เพื่อไม่ให้ต้องถูกฟ้องร้องอีกในภายหลัง ครับ

-ต้องดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไรบ้างคะ 

ตอบ....ขอแนะนำสองแนวทาง  ให้เลือกเอาเอง   ทางแรก  คู่กรณีใช้การเจรจาตกลงกันเอง  หรือให้ผู้นำท้องถิ่น เป็นคนกลาง ในการเจรจา  เมื่อตกลงกันสำเร็จ  ก็ทำสัญญาประนีประนอมกันไว้ (ดูแบบได้ในกูเกิ้ล  สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความได้ตามความเหมาะสม)  หรือ ทางที่สอง    แจ้งไปยังศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาล(ภูมิลำเนา)  เพื่อขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  ซึ่งคงไม่มีค่าใช้จ่าย  เมื่อตกลงกันได้  ก็ให้ศาลทำสัญญาประนีให้ก็ได้  ซึ่งถ้าใช้ทางเลือกทางนี้  ดูแล้วคงมีมาตรฐานน่าเชื่อถือ ในสายตาของสังคม  อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใช้ ทางแรก หรือทางที่สอง เรื่องราวก็จบลงด้วยดีเช่นกัน ครับ

-ต้องแก้ไขเอกสารใดๆที่กรมที่ดิน และ/ หรือ เอกสารการการโอนที่ดินมั้ยใหม่มั้ยคะ   

ตอบ...เมื่อสามารถเจรจาตกลงกันได้สำเร็จ   ก็ไม่ต้องไปแก้ไขเอกสารใดๆอีก  เพราะ เอ เป็นเจ้าของที่ดินแล้ว เพียงแต่การโอนไม่ถูกต้องเท่านั้น เมื่อเจรจากันสำเร็จ  ปัญหาก็หมดสิ้นไป   ส่วนจะมอบให้วัด  ก็เป็นอีกขั้นหนึ่งต่างหาก  บางทีวัดอาจรับโอนไม่ได้  เพราะขัดต่อระเบียบหรือกฎหมาย  ถ้าวัดรับโอนไม่ได้   ก็โอนให้ทายาท  หรือขายต่อไปก็ได้ ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-06-25 02:18:55 IP : 101.51.175.172


ความคิดเห็นที่ 4 (4036447)

ขอบคุณมากคะสำหรับคำแนะนำ   จะนำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นางA วันที่ตอบ 2016-06-25 15:19:55 IP : 58.178.19.166


ความคิดเห็นที่ 5 (4039999)

 เอาปมุขไปขังคุก

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุขเว็บฆ่าคนไทย (pamook-at-hotmail-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2016-07-01 16:58:03 IP : 49.228.98.214



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.