ReadyPlanet.com


การแข่งขันชกมวย


 คือตอนนี้กลุ่มผมจัดการ ต่อยมวย การต่อยมีกฏประมาณว่า ล้มไม่ซ้ำ ใครยอมยกมือไม่มีการกอด ไม่มีการจับทุ่ม  ชกสองนาทีจบไม่มีการพนันไม่มีการเก็บค่าเข้าชม ไม่มีเงินให้นักมวย คนที่ต่อยจะเป็นเพือนที่รู้จัก แต่เราถ่ายวิดีโอเก็บไว้ คือเราจะหาเงินทางยูทูป เราจะหาเงินทางยูทูป ทุกคนสมัครใจต่อยคับ มีนวมมีฟันยางมีแพทย์สนามมีกรรมการแต่เป็นพวกเรานี้ละครับ กรรมการก็ไม่ใช้กรรมการที่มีทะเบียนอะไรเราตั่งขึ้นมาเองแพทย์สนามเป็นปอเต๊อกตึง เป็นเพือนที่รู้จัก สนามเป็นปูนคับ อยากจะถมาว่า ทำอย่างนี้ผิดกฏหมายหรือป่าว ถ้าผิดทำอย่างไรถึงจะถูกกฏหมาย ปล. ผมเคยอ่านเจอกฏหมายที่บอกว่าถ้าจัดการแข่งขันเพือความบันเทิงโดยไม่มีเงินมาเกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องขออนุญาติ.ไม่รู้มีจิงหรือป่าวครับ เรากลัวตำรวจเค้ามาตรวจสอบนะครับก็เลยเรียนถามพวกเราเป็นกลุ่มเล็กๆอยากจะทำอะไรที่เป็นของตัวเองคับ



ผู้ตั้งกระทู้ เฉลิมพล (Kanwela-at-windowslive-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2016-07-12 12:08:55 IP : 27.130.84.132


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4044507)

กีฬามวย

    ควรศึกษา  พรบ.กีฬามวย  พ.ศ.2542  ให้ชัดเจน....คือถ้าการจัดกีฬามวยที่ด้องขออนุญาต   ถ้าไม่ขอฯ  จะโทษทั้งปรับและปรับ..........ส่วนการจัดกีฬามวย  ที่ไม่ต้องขอนุญาต และต้องขอนุญาต  เป็นไปตามกฎกระทวงที่ยกมาข้างล่าง ครับ

 
 
กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๓)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒
                  
 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๑๕ วรรคสี่ และมาตรา ๒๖ วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
 
หมวด ๑
การจัดการแข่งขันกีฬามวยที่ไม่ต้องขออนุญาต
                  
 
ข้อ ๑ ให้การจัดการแข่งขันกีฬามวยดังต่อไปนี้ไม่ต้องขออนุญาตนายทะเบียน
(๑) การแข่งขันกีฬามวยไทยสมัครเล่น หรือมวยสากลสมัครเล่นที่จัดการแข่งขันโดยสมาคมที่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการกีฬาหรือการส่งเสริมกีฬาโดยตรงซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการกีฬาแห่งประเทศไทย
(๒) การแข่งขันกีฬามวยที่จัดเป็นการสาธิตศิลปะมวยไทย การแสดงในงานประจำปีหรืองานเทศกาลประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ โดยมิได้จัดเก็บค่าผ่านประตูเข้าชมการแข่งขันและไม่มีเงินรางวัลสำหรับผู้สาธิตหรือผู้แสดง
(๓) การแข่งขันกีฬามวยที่จัดขึ้นตามหลักสูตรการศึกษาซึ่งสถาบันการศึกษาของรัฐหรือ สถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองเป็นผู้จัดการแข่งขัน
(๔) การแข่งขันกีฬามวยในสถานบริการหรือสถานบันเทิงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหรือเพื่อความบันเทิง โดยมิได้จัดเก็บค่าผ่านประตูเข้าชมการแข่งขัน
(๕) การแข่งขันกีฬามวยที่คณะกรรมการกีฬามวยมอบหมายหรือเห็นชอบให้มีการแข่งขันเป็นกรณีเฉพาะคราว โดยการแข่งขันดังกล่าวมิได้มีการตัดสินผลแพ้ชนะ
ให้ผู้จัดการแข่งขันกีฬามวยตามวรรคหนึ่ง แจ้งให้นายทะเบียนทราบก่อนกำหนดการแข่งขันไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และต้องปฏิบัติตามระเบียบและกติกามาตรฐานสำหรับการ แข่งขันกีฬามวยที่คณะกรรมการกีฬามวยกำหนด
 
ข้อ ๒ ในกรณีที่ผู้จัดรายการแข่งขันมวยต้องจ่ายเงินรางวัลให้แก่นักมวย ผู้จัดรายการแข่งขันมวยต้องแจ้งจำนวนเงินรางวัลให้นักมวยทราบก่อนการแข่งขัน ส่วนวิธีการจ่ายเงินรางวัลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการจ่ายเงินรางวัลที่คณะกรรมการกีฬามวยกำหนด
 
หมวด ๒
การแข่งขันกีฬามวยที่ต้องขอรับใบอนุญาต
                  
 
ข้อ ๓ ให้การจัดการแข่งขันกีฬามวยเป็นกรณีเฉพาะคราวดังต่อไปนี้ที่มิใช่การแข่งขันกีฬามวยบางประเภทตามหมวด ๑ และการแข่งขันกีฬามวยที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสนามมวยจัดให้มีการแข่งขันจะต้องขอรับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
(๑) การแข่งขันกีฬามวยที่มีนักมวยชาวต่างประเทศเข้าร่วมแข่งขัน
(๒) การแข่งขันกีฬามวยที่มีนักมวยจดทะเบียนซึ่งสังกัดค่ายมวย และมีรายชื่อในทะเบียนประวัตินักมวยของสนามมวยที่ได้รับใบอนุญาต เข้าร่วมแข่งขัน
(๓) การแข่งขันกีฬามวยในงานประจำปีหรือในงานเทศกาลประเพณีที่ไม่มีนักมวยตาม (๑) และ (๒) เข้าร่วมการแข่งขัน
ให้นายทะเบียนอนุญาตให้มีการแข่งขันกีฬามวยตาม (๑) และ (๒) ได้คราวละไม่เกินหนึ่งวันและตาม (๓) ได้คราวละไม่เกินเจ็ดวัน
 
ข้อ ๔ บุคคลใดประสงค์จะจัดการแข่งขันกีฬามวยเป็นกรณีเฉพาะคราวตามข้อ ๓ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนตามแบบ กม. ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ พร้อมด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้
(๑) บุคคลธรรมดา
(ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชนได้หรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือภาพถ่ายหนังสือเดินทาง
(ข) สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
(ค) ภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้จัดรายการแข่งขันมวย
(ง) ภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ถ้ามี)
(จ) รายชื่อนักมวย รายชื่อผู้ตัดสิน รายชื่อแพทย์สนาม รายการคู่มวยและภาพถ่ายสมุดประจำตัวของนักมวย
(ฉ) แผนผังแสดงสถานที่จัดการแข่งขัน
(ช) หนังสืออนุญาตจากเจ้าของสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการแข่งขัน
(ซ) บันทึกความตกลงการจ่ายเงินรางวัลแก่นักมวยในการแข่งขันกีฬามวย ระหว่างผู้จัดรายการแข่งขันมวยกับนักมวย โดยความยินยอมของผู้จัดการนักมวยและหัวหน้าค่ายมวย
(๒) นิติบุคคล
(ก) หนังสือรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลออกให้ไม่เกินหกเดือนก่อนวันยื่นคำขอ
(ข) เอกสารตาม (๑) (ก) (ข) และ (ค) ของผู้จัดการนิติบุคคล หรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลผู้ขอรับใบอนุญาต ซึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอแทนนิติบุคคล
(ค) เอกสารตาม (๑) (ง) (จ) (ฉ) (ช) และ (ซ)
 
ข้อ ๕ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อมเอกสารตามข้อ ๔ ก่อนวันจัดการแข่งขันไม่น้อยกว่าสามสิบวันเว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจยื่นได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ยื่นคำขอพร้อมทั้งชี้แจงแสดงเหตุผลความจำเป็นและเอกสารหลักฐานประกอบต่อนายทะเบียนก่อนการแข่งขันไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
ให้นายทะเบียนพิจารณาคำขอให้แล้วเสร็จภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอและแจ้งให้ผู้ขอทราบเป็นหนังสือ หากไม่อนุญาตให้แสดงเหตุผลไว้ในคำขอด้วย
การแข่งขันกีฬามวยในกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวยกรุงเทพมหานครส่วนในจังหวัดอื่นให้ยื่นต่อสำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทยประจำจังหวัดนั้น
 
ข้อ ๖ ในการพิจารณาออกใบอนุญาตให้นายทะเบียนพิจารณาถึงประวัติ ชื่อเสียงกิจกรรม หรือพฤติกรรมของผู้ขอรับใบอนุญาต ตลอดจนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อนโยบายของคณะกรรมการกีฬามวยอันเนื่องจากการอนุญาตนั้นด้วย
นายทะเบียนอาจขอข้อเท็จจริง เอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ขอรับใบอนุญาตหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวงการกีฬามวยมาเพื่อประกอบการพิจารณาได้
 
ข้อ ๗ ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้จัดการแข่งขันกีฬามวยตามแบบ กม. ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ โดยกำหนดระยะเวลาของการจัดการแข่งขันแต่ละคราวไว้ในใบอนุญาตด้วย
 
ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดการแข่งขันกีฬามวยต้องดำเนินการจัดการแข่งขันให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และรายละเอียดอื่นที่กำหนดในคำขอรับใบอนุญาต
ในกรณีที่มีนักมวยอายุต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์เข้าแข่งขัน ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีอุปกรณ์ในการป้องกันความปลอดภัยในการแข่งขันตามที่ระบุไว้ในคำขอด้วย
 
ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดการแข่งขันกีฬามวยต้องจัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยและมีหน้าที่ งต่อไปนี้
(๑) มาตรการเพื่อความปลอดภัย
(ก) จัดให้มีแพทย์แผนปัจจุบันทำการตรวจสุขภาพของนักมวยแต่ละคนก่อนการ
แข่งขัน เพื่อรับรองว่านักมวยมีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมทำการแข่งขัน การตรวจสุขภาพของนักมวยดังกล่าว ต้องกระทำการให้แล้วเสร็จภายในสามชั่วโมง นับแต่สิ้นสุดการชั่งน้ำหนักตัวนักมวย
(ข) จัดให้มีห้องปฐมพยาบาล ซึ่งมีแพทย์แผนปัจจุบันหรือพยาบาลวิชาชีพและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต่อการปฐมพยาบาล รวมทั้งเครื่องช่วยหายใจในขณะที่มีการแข่งขัน
(ค) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัยในการแข่งขันของนักมวยตามมาตรฐานที่กำหนดในระเบียบและกติกามาตรฐานสำหรับการแข่งขันกีฬามวยโดยเคร่งครัด และต้องตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
(ง) จัดให้มีโครงสร้างของพื้นเวทีที่เป็นวัสดุหรือส่วนประกอบที่มีความยืดหยุ่น และสามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่ศีรษะของนักมวยที่ถูกชกล้ม ทั้งนี้ เวทีที่ใช้ในการแข่งขันต้องเป็นไป ตามมาตรฐานที่กำหนดในระเบียบและกติกามาตรฐานสำหรับการแข่งขันกีฬามวย
(จ) จัดให้มีการตรวจสอบคู่มวยและรุ่นการแข่งขันของนักมวยจากผู้จัดรายการแข่งขันมวยเพื่อมิให้เกิดการได้เปรียบหรือเสียเปรียบในน้ำหนักหรือขนาดของร่างกายจนอาจเป็นเหตุให้เกิดภยันตรายแก่นักมวยผู้เข้าแข่งขันได้
(ฉ) จัดให้ผู้เยาว์ที่มีอายุต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนเข้าแข่งขันกีฬามวย
(๒) มาตรการเกี่ยวกับเงินรางวัล
(ก) ทำการตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน ข้อตกลงการจ่ายเงินรางวัล สอดส่อง ดูแลและควบคุมการับและการจ่ายเงินรางวัลนักมวยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการแบ่งและการจ่ายเงินรางวัลที่คณะกรรมการกีฬามวยกำหนด
(ข) กรณีที่มีพฤติกรรมส่อไปในทางที่อาจจะมีการหลีกเลี่ยงการถือปฏิบัติตามข้อตกลงการจ่ายเงินรางวัลให้แก่นักมวย ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการต่อไปโดยไม่ชักช้า
(๓) มาตรการเกี่ยวกับดำเนินการจัดการแข่งขัน
(ก) ดำเนินการหรือจัดการแข่งขันกีฬามวยตามที่ได้รับอนุญาตให้เป็นไปตามระเบียบและกติกามาตรฐานสำหรับการแข่งขันกีฬามวยโดยเคร่งครัด
(ข) สอดส่อง ดูแลและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสนามมวยหรือสถานที่จัดการแข่งขันกีฬามวย โดยจัดให้มีมาตรการป้องปรามการกระทำของผู้เข้าชมการแข่งขันที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของนักมวยหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่บนเวที
(ค) ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการอื่น หรือจัดการแข่งขันกีฬามวยอันเป็นการหลีกเลี่ยงระเบียบและกติกามาตรฐานสำหรับการแข่งขันกีฬามวย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
(ง) จัดให้มีผู้ตัดสินซึ่งมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการกีฬามวยกำหนดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่
 
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงนักมวยที่เข้าแข่งขันให้แตกต่างไปจากที่ได้มีการแจ้งรายชื่อไว้ในคำขอรับใบอนุญาต ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ไม่น้อยกว่าหกชั่วโมงก่อนเวลาแข่งขัน และต้องดำเนินการให้แพทย์ทำการตรวจสุขภาพของนักมวยที่เข้าแข่งขันแทนตามข้อ ๙ (๑) (ก) ทั้งนี้ นายทะเบียนอาจสั่งห้ามมิให้นักมวยที่เข้าแข่งขันแทนเข้าทำการแข่งขันก็ได้
 
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏตามรายงานของแพทย์ว่านักมวยคนใดมีสุขภาพไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานหรือถ้าหากให้ขึ้นทำการแข่งขันแล้วอาจเกิดอันตรายแก่นักมวยได้ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดการแข่งขันกีฬามวยยกเลิกหรือถอนรายชื่อนักมวยคนดังกล่าวออกจากรายการแข่งขันและรายงานให้นายทะเบียนทราบโดยไม่ชักช้า
 
 
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี


ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-07-12 14:04:55 IP : 101.51.184.128


ความคิดเห็นที่ 2 (4045193)

 ขอบคุณคับ หมวด 1 ข้อ4 ใช้ได้หรือป่าวแล้วเรืองเวทีต้องมีมาตรฐานอะไรไหมคับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เฉลิมพล วันที่ตอบ 2016-07-13 18:44:43 IP : 171.7.183.6


ความคิดเห็นที่ 3 (4045257)

ข้อยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต

  (๔) การแข่งขันกีฬามวยในสถานบริการหรือสถานบันเทิงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหรือเพื่อความบันเทิง โดยมิได้จัดเก็บค่าผ่านประตูเข้าชมการแข่งขัน

....ถ้าเข้าเงื่อนไข (4)  ก็ไม่ต้องขออนุญาต

....ส่วนการจัดการแข่งขันกีฬามวย  ต้องเป็นไปตามมาตรา 14....แต่ไม่มีการกำหนดโทษไว้  ถ้าฝ่าฝืน...

 

มาตรา ๑๔ ในการจัดการแข่งขันกีฬามวยแต่ละครั้ง นายสนามมวยและผู้จัดรายการแข่งขันมวยต้องจัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยสำหรับนักมวย อย่างน้อยตามมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้แพทย์แผนปัจจุบันตรวจสุขภาพของนักมวยแต่ละคนก่อนการแข่งขันกีฬามวย เพื่อรับรองว่านักมวยมีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมทำการแข่งขัน
(๒) จัดให้มีแพทย์แผนปัจจุบันหรือพยาบาลวิชาชีพ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ประจำสนามมวยในขณะที่มีการแข่งขัน
(๓) จัดให้มีการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลอันเนื่องมาจากการแข่งขันกีฬามวยสำหรับนักมวย
การจัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-07-14 03:29:38 IP : 101.51.160.46


ความคิดเห็นที่ 4 (4046702)

 ส่วนการจัดการแข่งขันกีฬามวยต้องเป็นไปตามมาตร๑๔ แต่ไม่มีการกำหนดโทษถ้าฝ่าฝืน นี้คือไม่ทำตามก็ไม่มีโทษ ?  ผมเข้าใจไม่ผิดใช้ไหมคับ เรืองมาตราฐานมีอค่นี้จิงๆใช้ไหมคับ ขอบคุณมากเลยครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น เฉลิมพล วันที่ตอบ 2016-07-17 15:18:10 IP : 27.130.162.122


ความคิดเห็นที่ 5 (4130053)

ศิลปะมวยไทย ไม่ใช่ฝึกกันง่ายๆต้องใช้เวลาและความอดทน

ผู้แสดงความคิดเห็น รักเลย วันที่ตอบ 2017-02-07 16:35:19 IP : 223.205.166.205


ความคิดเห็นที่ 6 (4242309)

 ถ้านักมวยเก็ดอุบัติเหตุขณะทำการแข่งขันเช่นตะปูบนเวทีตำเท้าขณะแข่งขันกรรมการจะต้องตัดสินยังไง

ผู้แสดงความคิดเห็น รักมวยไทย วันที่ตอบ 2018-02-25 20:46:08 IP : 223.24.19.225



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.