ReadyPlanet.com


ทางสาธารณะ


 


ถ้าเราซื้อที่มาจากนาย ก. (ผู้ขายที่ให้) แล้วที่แปลงนี้มีทสาธารณะแต่เราไม่รู้ว่าทางสาธารณะไปทะลุถนนสุขุมวิท ซึ่งทางเราไม่เคยรู้มาก่อนว่าทางสาธารณะไปสิ้นสุดแค่ไหน เพราะไม่เคยไปขอสอบเขต จนวันหนึ่ง เราไปขอดูที่ดินจากกรมที่ดินจึงรุ้ว่ามีทางสาธารธณะติดกับที่ๆเราซื้อไว้ แต่เมื่อก่อนเราใช้ทางสาธารณันี้ได้เป็นบางส่วน ใช้ได้ไม่ตลอดทาง และตอนนี้ไม่สามารถใช้ทางและผ่านได้ เพราะคนขายที่ให้เราได้เอากองหิน กองทรายมาปิดกั้น ขวางทางขึ้นที่ดินเรา ในกรณีเราจะต้องทำอย่างไรค้ะ และบ้านที่ปลูกขวางทางสาธารณะ ถือว่าบุรุกไหมค้ะ   

รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

 
 


ผู้ตั้งกระทู้ Ae :: วันที่ลงประกาศ 2016-07-08 20:36:02 IP : 1.47.232.201


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4043256)

ทางสาธาณะ

   ต้องแจ้งเขต  ให้แก้ไข  หรือฟ้องร้อง ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-07-09 04:01:23 IP : 101.51.160.36


ความคิดเห็นที่ 2 (4043310)

 ขอบคุณค่ะ รบกวนถามอีกข้อนะค้ะ 

แล้วถ้ามีการปลูกสร้างบ้านบนทางสาธารณะ ในกรณีนี้ เราให้เขารื้อถอน เราจะต้องเสียค่ารื้อถอนให้แก่เขาด้วยไหมค้ะ (รบกวนผู้รุ้นอบด้วยค่ะ) ขอบคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Ae วันที่ตอบ 2016-07-09 12:11:55 IP : 1.46.228.41


ความคิดเห็นที่ 3 (4043369)

ค่ารื้อถอน

    ถ้าเป็นการปลูกบ้านบนที่สาธารณะ   ผู้เสียหาย คือ  เทศบาล หรือ เขต   ในท้องที่นั้นๆ   มีหน้าที่ต้องฟ้องร้อง เพื่อขับไล่   และให้รื้อถอนบ้านออกไป.....ตามกฎหมาย  จำเลยหรือลูกหนี้จะเรียกร้องรื้อถอนไม่ได้  ถ้าดื้อแพ่งไม่ยอมรื้อ เจ้าพนักงานบังคับคดี  สามารถรื้อบ้านได้เอง  โดยจำเลยหรือลูกหนี้ ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน....  ดังนั้นการต่อรอง เพื่อขอค่ารื้อถอนก่อน  ถ้าไม่ได้ ก็ไม่ยอมรื้อ  จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน  และบอกต่อๆกันไป ผิดๆ ครับ

..กฎหมายที่ใช้อ้างอิง  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง...

 

มาตรา ๒๙๖ เบญจ ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทรัพย์นั้นด้วย เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้น และให้มีอำนาจขนย้ายสิ่งของออกจากสิ่งปลูกสร้างที่มีการรื้อถอนนั้นด้วย ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและขนย้ายสิ่งของ ให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นผู้เสีย
ในการรื้อถอน ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ ณ บริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการรื้อถอนนั้น
เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ เว้นแต่จะได้กระทำโดยมีเจตนาร้ายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
วัสดุก่อสร้างที่ถูกรื้อถอนรวมทั้งสิ่งของที่ขนย้ายออกจากสิ่งปลูกสร้าง ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้รับคืนไป เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจเก็บรักษาไว้ หรือขายแล้วเก็บเงินสุทธิไว้แทนตัวทรัพย์นั้น ถ้าเจ้าของมิได้เรียกเอาทรัพย์หรือเงินนั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่มีประกาศกำหนดการรื้อถอนให้ทรัพย์หรือเงินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน
ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างนั้นถูกยึดในการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจขายทอดตลาดสิ่งปลูกสร้างนั้น แล้วเก็บเงินสุทธิที่เหลือจากหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมไว้แทน
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-07-10 03:18:33 IP : 101.51.174.54


ความคิดเห็นที่ 4 (4043375)

 ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Ae วันที่ตอบ 2016-07-10 07:11:59 IP : 1.47.200.198



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.