ReadyPlanet.com


การค้ำประกัน(ต่อ)


ต่อจาก 22267

1.ดิฉันขอความกระจ่างเกี่ยวกับการต่อสู้เรื่อง " คดีขาดอายุความในส่วนของดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 5 ปี " เป็นอย่างไรคะ  และดิฉันพอมีหวังที่จะไม่ต้องชำระหนี้หรือเปล่า

  2.ดิฉันควรไปตามหมายศาลหรือไม่ หากต้องไป ดิฉันจะขอยืดเวลาในการชำระหนี้กับธนาคารที่ศาลเลย  ได้หรือไม่

  3.เพื่อนของดิฉันเคยเป็นครู รร.เอกชน มีเงินสะสม 12 %  แต่ไม่แน่ใจว่ามีการถอนออกไปหรือยัง ดิฉันจะติดตามเรื่องนี้ และดิฉันจะนำไปแจ้งกต่อศาล ในวันที่ดิฉันไปขึ้นศาลได้หรือไม่  และศาลสามารถสั่งให้ธนาคารไปรับชำระหนี้จากส่วนนั้นได้หรือไม่

ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้เดือดร้อน :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (51620)

.ดิฉันขอความกระจ่างเกี่ยวกับการต่อสู้เรื่อง " คดีขาดอายุความในส่วนของดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่า 5 ปี " เป็นอย่างไรคะ  และดิฉันพอมีหวังที่จะไม่ต้องชำระหนี้หรือเปล่า

ตอบ  ปกติ  เจ้าหนี้ต้องฟ้องหรือดำเนินคดี ได้ภายในกำหนดระยะเวลาตามทีก่ฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งเรียกกันว่าอายุความ  หนี้เงิน***้ จะแบ่งออกเป็นสองอย่างคือ หนี้เงินต้น และหนี้ดอกเบี้ย และจะมีอายุความที่แตกต่างกัน คือ หนี้เงินต้นมีอายุความ สิบปี หนี้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระ มีอายุความห้าปี  เมื่อ เจ้าหนี้ ไม่ฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวหนี้ ในส่วนดังกล่าวก็จะขาดอายุความครับและขาดเฉพาะส่วนนะครับ กรณีของคุณ หนี้ดอกเบี้ยส่วนที่ค้างชำระเกินกว่า ห้าปี คงขาดอายุความ เจ้าหนี้คงเรียกร้องได้ในส่วนหนี้เงินต้น และดอกเบี้ยที่ยังไม่ขาดอายุความ (ส่วนที่ไม่เกินห้าปี)

  2.ดิฉันควรไปตามหมายศาลหรือไม่ หากต้องไป ดิฉันจะขอยืดเวลาในการชำระหนี้กับธนาคารที่ศาลเลย  ได้หรือไม่

ตอบ หากมีหมายศาลมาแล้ว ควรจะต้องไปศาลด้วยครับ มิฉะนั้น จะทำให้เสียสิทธิในการต่อสู้คดี  การไปศาลไม่ใช่เรื่องที่ น่ากลัวครับ หากมีข้อสงสัย ก็สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ หรือ ทนายอาสา ที่นั่งประจำที่ศาลได้ครับ บางทีไปศาลอาจจะเจอลูกหนี้ ก็ได้นะครับ

  3.เพื่อนของดิฉันเคยเป็นครู รร.เอกชน มีเงินสะสม 12 %  แต่ไม่แน่ใจว่ามีการถอนออกไปหรือยัง ดิฉันจะติดตามเรื่องนี้ และดิฉันจะนำไปแจ้งกต่อศาล ในวันที่ดิฉันไปขึ้นศาลได้หรือไม่  และศาลสามารถสั่งให้ธนาคารไปรับชำระหนี้จากส่วนนั้นได้หรือไม่

ตอบ  ก็แจ้งให้ทนายของธนาคารทราบก็ได้ครับ

 

มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี

(1) ดอกเบี้ยค้างชำระ

(2) เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ

(3) ค่าเช่าทรัพย์สินค้าชำระ เว้นแต่ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 193/34 (6)

(4) เงินค้างจ่ายคือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินอื่น ๆ

ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา

(5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1)(2) และ (5) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี

 

902/2547

โจทก์ นางเทียบ เสืองามเอี่ยม

จำเลย นางสมจิตรหรือสมจิต เกตุพันธ์

แพ่ง อายุความการใช้สิทธิเรียกร้อง (มาตรา 193/33 (2))

วิธีพิจารณาความแพ่ง คำให้การ (มาตรา 177 วรรคสอง)

โจทก์ฟ้องว่าจำเลย***้ยืมเงินจากโจทก์ 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2539

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2539 และวันที่ 24 พฤษภาคม 2539 จำนวนเงิน 15,000

บาท 15,000 บาท และ 14,000 บาท ตามลำดับ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี

ตั้งแต่***้ยืมเงินไปจำเลยไม่เคยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์เลย ดอกเบี้ยนับแต่

วัน***้ยืมถึงวันฟ้องสำหรับเงิน***้ครั้งแรกเป็นเงินจำนวน 12,118.75 บาท ครั้งที่ 2

เป็นเงินจำนวน 12,093.75 บาท และครั้งที่ 3 เป็นเงินจำนวน 10,675 บาท

ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 78,887.50 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตรา

ร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงิน 44,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ

จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การว่า จำเลย***้ยืมเงินโจทก์สองครั้งแรกเพียง

ครั้งละ 10,000 บาท ส่วนที่เกินเป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดบวกเข้าไป

ส่วนสัญญา***้ฉบับที่สามเป็นต้นเงินเพียง 8,000 บาท อีก 6,000 บาท เป็นดอกเบี้ย

เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดที่โจทก์บวกเข้าไปเป็นต้นเงิน จำเลยได้ผ่อนชำระเงิน

ตามสัญญา***้ทั้งสองฉบับให้โจทก์ครบแล้ว แต่โจทก์ไม่คืนสัญญา***้ให้จำเลย

โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2) เนื่องจากนำคดีมา

ฟ้องเกิน 5 ปี นับจากมีสิทธิเรียกร้อง ขอให้ยกฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 44,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตรา

ร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 3 กรกฎาคม 2544) ย้อนหลังไป 5 ปี

และถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า การที่ศาล

อุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่อุทธรณ์ว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์

ขาดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2)

เป็นการไม่ชอบ เนื่องจากคำให้การของจำเลยไม่ได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความ

ว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในส่วนที่เป็นต้นเงินขาดอายุความเมื่อใด เป็นคำให้การ

ที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง นั้น

เห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลย***้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับ

แต่วัน***้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระต้นเงินให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ ซึ่งปรากฏตามหนังสือ

สัญญา***้ยืมเงินเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึง 4 กำหนดให้จำเลยผ่อนชำระคืน

เป็นรายวัน การที่จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วตามประมวลกฎหมาย

แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2) เนื่องจากนำคดีมาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับจาก

มีสิทธิเรียกร้อง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (2)

บัญญัติอายุความการใช้สิทธิเรียกร้องไว้เพียงกรณีเดียวเฉพาะเงินที่ต้องชำระเพื่อ

ผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ เช่นนี้ ถือได้ว่าคำให้การของจำเลยดังกล่าวได้แสดงโดยชัดแจ้ง

แล้วว่า สิทธิเรียกร้องตามหนังสือสัญญา***้ยืมที่โจทก์นำมาฟ้องขาดอายุความเมื่อใด

และเพราะเหตุใด ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหา

เรื่องอายุความตามคำให้การของจำเลย จึงชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"

พิพากษายืน

(ไพโรจน์ วายุภาพ - ปัญญา ถนอมรอด - วรนาถ ภูมิถาวร)

สมปอง ยศถาสุโรดม - ย่อ

สมเกียรติ เจริญสวรรค์ - ตรวจ

 

 

ขอให้โชคดีนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-02-10 13:58:00 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.