ReadyPlanet.com


นายกพระราชทาน


สวัสดีคับ คือว่าผมเป็นนักศึกษษคณะนิติศาสตร์ครับ ผมอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับนายกพระราชทานครับ ว่าหมายความว่าอย่างไรและมีที่มา วิธีการแต่งตั้งอย่างไร ช่วยกรุณาด้วยนะครับ


ผู้ตั้งกระทู้ อิศรา :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (12970)

นายก พระราชทาน เท่าที่เห็นมา มีอยู่กรณีเดียว คือ ท่านศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ครับ เกิดจากเหตุการณ์นองเลือด 14 ตุลาคม 2516 ครับ

สาเหตุเนื่องมาจากเกิดความขัดแย้งในสังคม จนถึงขั้นนองเลือด และประชาชนแบ่งแยกออกเป็นสองฝ่าย คือ ซ้าย และขวาเมื่อมีการนองเลือดเกิดขึ้น จอมพลถนอม ฯ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงหมดความชอบธรรม ในการบริหารประเทศ เพราะหากยังเป็นนายก ต่อไป อาจจะทำให้บ้านเมืองเกิดวิกฤติ จนนำไปสู่หายนะขึ้นได้ จึงได้มีการ ขอให้ จอมพลถนอมฯ เดินทางออกนอกประเทศไป และพระมหากษัตริย์ จึงได้มีการพระราชทานนายสัญญาฯ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนนตรี เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของแผ่นดิน ครับ โดยปกติ ไม่มีหรอกครับ แต่กรณีดังกล่าว เป็น เหตุการณ์วิปโยค ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีนายกรัฐมนตรี ขึ้นมาบริหารบ้านเมือง ขั้นตอนและการแต่งตั้งนายก ก็เป็นไปตาม รัฐธรรมนูญในขณะนั้น ให้อำนาจ พระมหากษัตริย์ ในการทรงไว้ในพระราชอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี มาเพื่อทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร 

วันที่ 16 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์นองเลือดยุติลง พร้อมกับประชาชน 73 คน ที่ต้องพลีชีพ และอีก 857 คนบาดเจ็บ ที่ทำการคณะกรรมการ ติดตามและ ประเมินผลการปฏิบัติราชการ(ก.ต.ป.) กองบัญชาการ ตำรวจนครบาล ที่ผ่านฟ้า และสถานีตำรวจนครบาล นางเลิ้งถูกเผาทำลาย จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น กับจอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตร ีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และพ.อ.ณรงค์ กิตติขจร รองเลขาธิการ ก.ต.ป. เดินทางออกนอกประเทศ บทบาทของ ประชาชนในวันที่ 14 ตุลาคม ถูกจารึกลงในหน้าประวัติศาสตร์ ว่าเป็นครั้งแรก ที่คนไทยแสดง พลังซึ่งมีผล ต่อการเปลี่ยนแปลง ทิศทางทางการเมือง และสังคมอย่าง 


ไม่กี่วันหลังจากนั้นนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับพระบรมราชโองการ แต่งตั้ง เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลนายสัญญาออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่นักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชน ที่มีส่วนร่วมในวันที่ 14 ตุลาคม แต่งตั้งสมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือสภาสนามม้า ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ และประกาศใช้ ในปลายปี 2517

ไม่ทราบว่าเป็นคำตอบที่ต้องการหรือเปล่าครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 018202236 วันที่ตอบ 2004-11-16 18:59:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (12975)
 
ท่านอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2450 ที่จังหวัดธนบุรี บิดาชื่อ มหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี ศรีสัตยวัตตา พิริยพาหะ (ทองดี ธรรมศักดิ์) มารดาชื่อ คุณหญิงชื้น ธรรมสารเวทย์ฯ สมรสกับ ท่านผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์ (เพ็ญชาติ) เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2477 มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายชาติศักดิ์ ธรรมศักดิ์ และนายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์
 
การศึกษา

  ท่านอาจารย์เข้าศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เมื่อ พ.ศ. 2457 และสำเร็จชั้น 6 อังกฤษ (มัธยมบริบูรณ์)

พ.ศ. 2468
ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมเป็นเวลา 3 ปี และสำเร็จเป็นเนติบัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2471
พ.ศ. 2472
สอบแข่งขันได้คะแนนสูงสุด และได้รับทุนเล่าเรียน “รพีบุญนิธิ”
ไปศึกษาวิชากฎหมายต่อในประเทศอังกฤษ ที่สำนักมิดเดิ้ลเทมเปิ้ล (THE MIDDLE TEMPLE)
ศึกษาอยู่เป็นเวลา 3 ปี ก็สอบไล่ได้สำเร็จตามหลักสูตรเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ (BARRISTER-AT-LAW) เมื่อ
พ.ศ. 2475
 
พ.ศ. 2470
ขณะอุปสมบทที่วัดเบญจมบพิตร ได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรและสามารถสอบไล่นักธรรมชั้นตรีได้เป็นที่ 1
 
 
พ.ศ. 2498
เข้ารับการศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเป็นรุ่นที่ 1
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้มอบปริญญานิติศาสตร์ดดุษฎีกิตติมศักดิ์ให้ในปี พ.ศ. 2506 พ.ศ. 2517
และพ.ศ. 2524 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์สาขาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยอื่นๆ
อีกหลายแห่ง
   
การทำงาน  
1 ส.ค. 2468
ได้เข้ารับราชการครั้งแรก ในขณะที่มีอายุ 18 ปี 3 เดือน 27 วัน
ในตำแหน่งนักเรียนล่ามกรมบัญชาการ
(กองล่าม) กระทรวงยุติธรรม เงินเดือน 30 บาท
 
1 ธ.ค. 2470
ได้รับราชการในตำแหน่งล่าม เงินเดือน 50 บาท
ท่านอาจารย์มีความตั้งใจที่จะเป็นตุลาการตั้งแต่ครั้งที่ยังเยาว์
เพราะได้เห็นแบบอย่างการเป็นตุลาการที่ดีของบิดา
 
1 ส.ค. 2476
ดังนั้นเมื่อเจริญวัยขึ้นหลังจากที่ได้เข้ารับราชการแล้ว ได้มีโอกาสที่จะเจริญรอยตามบิดา
 
10 ก.ค. 2477
เป็นผู้พิพากษาฝึกหัด เงินเดือน 200 บาท
 
7 ก.พ. 2478
ได้เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม เงินเดือน 200 บาท
 
5 ก.ค. 2478
ไปช่วยราชการที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา เงินเดือน 260 บาท
 
1 พ.ค. 2491
เป็นผู้พิพากษาอุทธรณ์ เงินเดือน 500 บาท
 
30 ส.ค. 2493
เป็นผู้พิพากษาหัวหน้ากองในศาลอุทธรณ์
 
2 เม.ษ. 2494
เป็นข้าหลวงยุติธรรมภาค 4 (อธิบดีผู้พิพากษา ภาค 5 ในปัจจุบัน) เงินเดือน 700 บาท
และได้ทำหน้าที่ผู้พากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ด้วย
 
23 มี.ค. 2496
เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม เงินเดือน 800 บาท
 
1 ต.ค. 2501
เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา
 
1 เม.ษ. 2502
เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เงินเดือน 1,400 บาท
 
15 ต.ค. 2505
เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ เงินเดือน 8,600 บาท
 
1 ต.ค. 2506
เป็นประธานศาลฎีกา เงินเดือน 9,000 บาท
 
1 ต.ค. 2510
ครบเกษียณอายุราชการ
 
18 มิ.ย. 2511
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี
 
14 ต.ค. 2516
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี
บริหารประเทศชาติในยามคับขัน (เมื่อเกิดเหตุการณ์มหาวิปโยค)
ท่านอาจารย์ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกัน 2 สมัย
 
26 มี.ค 2518
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี
 
5 ธ.ค. 2518
ได้รับพระกรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
เป็นกรรมการตุลาการหลายครั้ง เริ่มแรกเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2489 ได้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการก.ต.
และเมื่อมีประกาศใช้พระราชบัญญติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2497
เป็นผู้ริเริ่มวางรูปงาน และควบคุมดูแลการเลือกตั้งกรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิครั้งแรกเมื่อ
17 มกราคม 2501 สำเร็จเป็นผลเรียบร้อยดียิ่ง
จนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสมัยนั้นได้บันทึกความดีความชอบไว้ในสมุดประวัติ
เมื่ออาจารย์ได้ย้ายมารับราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฏีกา
ท่านอาจารย์ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิรวม 3 ครั้ง
ครั้งแรก เมื่อ 29 มิถุนายน 2502
ครั้งที่สอง เมื่อ 22 มกราคม 2503
ครั้งที่สาม เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2505
หลังจากที่ครบเกษียณอายุราชการแล้ว
ท่านอาจารย์ก็ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิประเภทข้าราชการบำนาญอีก 3 ครั้ง
เมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2511, 14 มกราคม 2513 และ 19 มกราคม 2515 ตามลำดับ
และพ้นจากตำแหน่งกรรมการตุลาการครั้งหลังสุดเมื่อได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นนายกรัฐมนตรี
ท่านอาจารย์ยังเป็นผู้มีความรอบรู้ในเรื่องของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ท่านได้เขียนบทความและบรรยายปาฐกถา
เกี่ยวกับธรรมะไว้หลายเรื่องและหลายแห่งจนถึงปัจจุบันตลอดมา
ด้วยความสนใจในพระพุทธศาสนา หลังจากกลับจากการศึกษาที่ประเทศอังกฤษ
จึงได้ริเริ่มก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย (เดิมชื่อว่า “พุทธธรรมสมาคม”) ขึ้นในปี พ.ศ. 2477
และเป็นเลขานุการของสมาคมฯ นานหลายปี
ต่อมาได้สับเปลี่ยนทำหน้าที่อื่นอีกหลายตำแหน่งในสมาคมฯ
จนในที่สุดก็ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกสมาคมฯ ซึ่งได้ทำหน้าที่ตำแหน่งนี้เป็นเวลาถึง 10 ปี
กระทั่งท่านอาจารย์มีอายุได้ 48 ปี จึงได้สละตำแหน่งนี้
ต่อมา ท่านอาจารย์ได้รับเลือกจากนานาชาติ ให้เป็นรองประธานฯ
ทำหน้าที่แทนประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
   
พ.ศ. 2527
ได้รับเลือกให้เป็น ประธานองค์การพุทธศสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
         ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2545 ขณะดำรงตำแหน่งองคมนตรี นับว่าท่านเป็นปูชนียบุคคลที่ได้ประกอบคุณงามความดีแก่สังคมไทย ไว้เป็นอเนกประการ เป็นผู้ทรงคุณธรรมในเรื่องเมตตาและความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และเป็นอาจารย์ผู้ทรงความรู้ในทางวิชาการ และผู้ที่นำวิชาความรู้ไปประยุกต์ใช้จนเป็นที่ยอมรับจากสถาบันการศึกษาชั้นสูง ดังจะเห็นได้จากที่ท่านได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2537 ยกย่องให้ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่ง "ธรรมศาสตราจารย์"
         นอกจากเป็นนักกฎหมายที่ทำงานทั้งทางปฏิบัติจนเป็นถึงประธานศาลฎีกา และได้บริหารงานในสถาบันการศึกษาด้วยการดำรงตำแหน่งคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ยังได้ทำงานการเมืองที่สำคัญยิ่งในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศ โดยเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นนายกรัฐมนตรีพระราชทานในยุคที่สังคมกำลังตื่นตัวกับการเรียกร้องให้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งท่านก็ได้ใช้ความรู้ความสามารถแก้ไขปัญหาของสังคมไทยในขณะนี้นได้เป็นอย่างดี จนเมื่อท่านพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้ว ก็ยังได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ.2518 จนถึง พ.ศ.2541
 
          ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ยังเป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถือจากบุคคลทั่วไปในวัตรปฏิบัติของท่าน เพราะการที่ท่านได้นำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติราชการและการดำรงชีวิตได้อย่ายดียิ่ง เป็นผู้ฝักไฝ่และมีศรัทธาในพุทธศาสนาโดยตลอด เป็นผู้เริ่มก่อตั้งพุทธสมาคม และภายหลังได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกให้ดำรงตำแหน่งประธานองค์การฯ เป็นเวลานานถึง 14 ปี
 
          จากคุณูปการที่ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้กระทำไว้แก่สังคมไทย ย่อมเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับอนุชนรุ่นหลังที่จะศึกษาและถือเอาเป็นแบบอย่างในการดำเนินรอยตาม จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะยกย่องเชิดชูเกียรติคุณของ ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ให้เป็นที่ปรากฎสืบไป
ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 018202236 วันที่ตอบ 2004-11-16 19:12:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 3 (13558)
ขอบคุณมากครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น อิศรา วันที่ตอบ 2004-11-18 10:48:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 4 (216845)
ดีมากๆค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น นิว วันที่ตอบ 2005-09-05 19:16:51 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.