ReadyPlanet.com


ผิดคดียักยอกทรัพยหรือไม่


 นายจ้างเก่าแจ้งความข้อหายักยอกทรัพย์ 

 
เมื่อเดือน พ.ย 57 ได้เดินทางไปพบลูกค้าที่ภูเก็ต และในวันที่ 5 พ.ย 57 ได้นัดลูกค้า บ. A และน้องที่เป็นคนแนะนำให้รู้จักลูกค้า (ขอเรีนกว่า B)มาทานข้าวเที่ยงที่ร้านอาหาร Zen สาขา Central ภูเก็ต สุดท้ายลูกค้ามาไม่ได้เนื่องจากติดธุระ แต่ B มาได้ จึงได้ทานข้าวเที่ยงด้วยกัน ในวันนั้นได้มีลูกน้องอีกคนที่ทำงานในบริษัทเดียวกันกันตัวดิชั้นร่วมเดินทางและทานอาหารกันด้วย อาหารเที่ยงมียอดเงิน 2,134 บาท ดิชั้นได้ขอใบเสร็จจากทางร้านที่พิมพ์จากระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาแสดงกับทางบริษัทว่ามีการเลี้ยงลูกค้า บ. A  หลังจากทานอาหารเสร็จ B ได้พาดิชั้นและลูกน้องไปแนะนำกับลูกค้า บริษัทอื่นๆ อีก พอเดินทางกลับมากรุงเทพฯ ดิชั้นได้นำใบเสร็จมาแสดงกับทางนายจ้างว่าได้ทำการเลี้ยงอาหารเที่ยงแก่ลูกค้า บ. A โดยไม่ได้แจ้งว่า จริงแล้ว ลูกค้า บ. A ไม่ได้มาแต่เป็นการเลี้ยงตอบแทน B ที่พาไปแนะนำให้รู้จักลูกค้ารายอื่นๆเพิ่ม 
 
ไม่นานดิชั้นได้ถูกนายจ้างเลิกจ้างเนื่องจาก แนวทางไม่ตรงกันดิชั้นจึงฟ้องคดีแรงงานในกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเมื่อ มีนา 58 ทางศาลแรงงานตัดสินให้ดิชั้นเป็นฝ่ายชนะ แต่ทางนายจ้างเก่าแจ้งความว่าดิชั้น ยักยอกทรัพย์ ยอด 2,134 บาท (ในชั้นไกล่เกลี่ยคดีแรงงาน นายจ้างแจ้งว่าจะดำเนินคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ยอด 2,134 กับดิชั้น หากดิชั้นจะดำเนินคดีแรงงานกับนายจ้าง) 
 
ปัจจุบันนี้คดีแรงงานนายจ้างเก่ากำลังยื่นเรื่องอุทธรณ์อยู่ และคดีอาญาได้มีการทำสำนวนส่งให้กับอัยการ และทางอัยการสั่งฟ้องดิชั้นในคดียักยอกทรัพย์ ซึ่งวันที่ส่งสำนวนอัยการทางนายจ้างเก่าได้มีการเข้าไปพบหัวหน้าอัยการ (ส่งสำนวนให้อัยการครั้งแรก อัยการยังไม่ได้อ่านสำนวนมาก่อน) จึงอยากสอบถามดังนี้ค่ะ
 
ดิชั้นมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือไม่ เพราะดิชั้นไม่ได้นำเงิน 2,134 บาท มาเป็นของตัวเอง เพราะได้มีการเลี้ยงอาหารจริงเพียงแต่ไม่ใช่ ลูกค้า บ. A แต่เป็นเลี้ยงตอบแทนที่ B พาไปแนะนำให้รู้จักลูกค้ารายอื่นๆเพิ่ม 
 
ถ้าดิชั้นมีความผิด มีความผิดอย่างไรเพราะดิชั้นไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรจากการเลี้ยงตอบแทน B ในครั้งนี้เลย นายจ้างเก่าเป็นคนที่ได้รับผลประโยชน์ในครั้งนี้เพราะได้มีลูกค้าเพิ่ม และได้รับรายได้เพิ่มจากการที่มีลูกค้ามาพักในโรงแรมเพิ่ม 
 
ในเมื่อดิชั้นยื่นหลักฐานทุกอย่าง พร้องทั้งมีการสอบพยานฝ่านดิชั้น B. ว่ามีการเลี้ยงตอบแทน และไปพบลูกค้าจริง ทำไมทางอัยการจึงยังสั่งฟ้องในคดีของดิชั้น
 
จะมีวิธีแก้ต่างในชั้นศาลอย่างไรให้ดิชั้นชนะในคดีนี้
 
 


ผู้ตั้งกระทู้ Roy :: วันที่ลงประกาศ 2016-12-15 17:30:52 IP : 115.87.121.121


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4106128)

 ยักยอกทรัพย์

  จะมีความผิดฐานยักยอกหรือไม่  ค่อนข้างเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ถ้าตกลงกันไม่ได้ สุดท้ายศาลก็คงใช้ดุลยพินิจชี้ขาดว่า เป็นการยักยอกหรือไม่  ในเมื่อมีการเจรจาไกล่เกลี่ยกัน   ก็ควรยอมถอยคนละก้าว  คือแม้จะถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม  ซึ่งจะอาจได้รับเงินชดเชย  แต่ ถ้ายอมสละเงินชดเชย ซึ่งไม่น่าจะมากมายอะไร  คือถอนฟ้องคดีัแรงงาน  เพื่อแลกกับการไม่ถูกดำเนินคดี ข้อหา ยักยอกทรัพย์ น่าจะพอคุ้มค่ากัน และใช้เป็นบทเรียนราคาแพงในชีวิต ว่าทำอะไรต้องรอบคอบ   โดยเฉพาะเกี่ยวกับการเงิน....การที่อัยการสั่งฟ้อง   ก็คงตีความตามหลักกฎหมาย ตาม ปอ. ม.352 ที่ครบองค์ประกอบความผิด คือ   คุณเบียดบังเงินของนายจ้าง ที่อยู่ในความครอบครองของคุณไปโดยทุจริต  คิือนำเงินไปเลี้ยงคนที่ไม่ใช่ลูกค้าของบริษัท จึงมีความผิด.. แต่เป็นคดีที่ยอมความกันได้ ต้องแจ้งความภายในสามเดือน  ในเมื่อมีโอกาสเจรจาก็ควรยอมลดทิฐิ ถอนฟ้องคดีแรงงาน  เพื่อไม่ให้นายจ้างดำเนินคดีฐานยักยอก   คุณจะต้องไปเสี่ยงสู้คดีในชั้นศาลทำไม  ถ้าศาลวินิจฉัยว่าคุณมีความผิด  คงยุ่งยาก  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

...ป.อาญา...

มาตรา ๓๕๒ ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2016-12-15 18:23:16 IP : 101.51.181.235



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.