ReadyPlanet.com


สังสัยข้อความในพินัยกรรม


นาง ก. มีลูก 7 คน ได้เขียนพินัยกรรมมีข้อความพินัยกรรมดังต่อไปนี้

 " ข้าพเจ้ายินยอมให้ นาย ข. (บุตรคนที่ 7 ) เป็นผู้มีสิทธิครอบครองบ้านหลังนี้ โดยมิให้มีการซื้อขาย และบุตรหลานโดยสืบสายเลือดของข้าพเจ้าที่ไม่มีที่อยู่อาศัย เข้ามาพักอาศัยได้ สิทธิในการครอบครองบ้านและที่ดินนี้ นาย ข. (บุตรคนที่ 7 ) จะมีสิทธิครอบครองโดยสมบูรณ์ต่อเมื่อข้าพเจ้าได้สิ้นชีวิตแล้ว โดยให้ถือเป็นมรดกสินเดิม "

เรียนทนายปมุขดังนี้

 1. ข้อความดังกล่าวถือว่าเป็นการเขียนพินัยกรรมยกบ้านพร้อมที่ดินให้นาย ข. (บุตร) แต่เพียงผู้เดียวแล้วหรือไม่

2. ข้อความดังกล่าวบุตรที่เหลืออีก 6 มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนี้ด้วยหรือไม่ หรืออาศัยได้อย่างเดียว

3. บุตรคนที่ 7 เข้าใจว่าตนได้มรดกคนเดียว แต่ บุตรที่เหลืออีก 6 ก็เข้าใจว่าทุกคนได้กรรมสิทธิ์ร่วมกัน เพี่ยงแต่บุตรคนที่ 7 เป็นผู้ครอบครองเท่านั้น

4. ถ้ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างพี่น้องควรดำเนินการอย่างไรต่อศาลเพื่อให้ได้ข้อยุติ สามารถร้องขอตั้งให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้เลยหรือไม่    ในกรณีที่บุตรคนที่ 7 ไม่ยินยอมให้ความยินให้บุตรคนอื่นเป็นผู้จัดการมรดกควรทำอย่างไร



ผู้ตั้งกระทู้ นันท์ :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (39837)

เป็นเรื่องของการตีความ พินัยกรรมครับ ซึ่งโดยหลัก ต้องอ่านทั้งหมดแล้วทำมาตีความประกอบกัน โดยหลักการตีความนิติกรรมแล้ว เค้าจะให้ถือหลักว่า ให้มุ่งตีความตามเจตนารมย์ของผู้ทำเป็นสำคัญ มากกว่าลายลักษณ์อักษร 

แต่หลักการตีความตัวบทกฎหมาย ให้ตีความตามตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ในความเห็นของผม นะ

กรณีบ้าน ตามพินัยกรรม จะเห็นได้ว่า ไม่ได้กล่าวถึงที่ดิน ที่ปลูกบ้าน ดังนั้น เกี่ยวกับที่ดิน ผู้ทำพินัยกรรมจึงยังไม่ได้ยกที่ดินให้แก่ผู้ใด ในส่วนที่ดิน จึงต้องตกเป็นของทายาททุกคนครับ ดังนั้น ทายาททุกคนจึงมีสิทธิในที่ดินตามส่วนครับ ส่วนบ้าน คงต้องตีความไปตามเนื้อความของพินัยกรรม  ครับ

 1. ข้อความดังกล่าวถือว่าเป็นการเขียนพินัยกรรมยกบ้านพร้อมที่ดินให้นาย ข. (บุตร) แต่เพียงผู้เดียวแล้วหรือไม่

ตอบ  ในพินัยกรรม เท่าที่ลอกมาให้อ่านไม่ได้พูดถึงที่ดินครับ ,นาย ข.คงอ้างสิทธิในที่ดินดังกล่าวไม่ได้

2. ข้อความดังกล่าวบุตรที่เหลืออีก 6 มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนี้ด้วยหรือไม่ หรืออาศัยได้อย่างเดียว

ตอบ  มีครับ ในฐานะทายาท

3. บุตรคนที่ 7 เข้าใจว่าตนได้มรดกคนเดียว แต่ บุตรที่เหลืออีก 6 ก็เข้าใจว่าทุกคนได้กรรมสิทธิ์ร่วมกัน เพี่ยงแต่บุตรคนที่ 7 เป็นผู้ครอบครองเท่านั้น

ตอบ  ผิดทั้งสองฝ่ายครับ คนที่ ๗ ก็มีสิทธิครอบครองบ้าน , บุตรที่เหลือ ก็มีสิทธิอาศัยในบ้านครับ , ส่วนที่ดิน ทุกคน ในฐานะทายาทก็มีสิทธิร่วมกัน แต่ ขึ้นอยู่กับว่า ที่ประชุม ทายาท จะลงมติให้จัดการทรัพย์มรดก อย่างไร เช่น ตั้งผู้จัดการมรดก แล้วใส่ชื่อผู้จัดการไว้แทนก่อน หรือจะให้ผู้จัดการมรดก โอนใส่ชื่อทายาท ทั้งหมดในที่ดินก็ได้ครับ ดังนั้น ความสำคัญจึงอยู่ที่การตั้งผู้จัดการมรดก ครับว่า ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก จะทำอย่างไรกับที่ดิน

4. ถ้ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างพี่น้องควรดำเนินการอย่างไรต่อศาลเพื่อให้ได้ข้อยุติ สามารถร้องขอตั้งให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้เลยหรือไม่    ในกรณีที่บุตรคนที่ 7 ไม่ยินยอมให้ความยินให้บุตรคนอื่นเป็นผู้จัดการมรดกควรทำอย่างไร

ตอบ  ก็ ต้องยื่นฟ้อง คนที่ ๗ เพื่อให้ความยินยอมครับ  หากไม่ยอมให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-01-21 23:12:00 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.