ReadyPlanet.com


รบกวนสอบถามดังนี้ครับ ขอบคุณครับ


ขอสอบถามดังนี้ครับ ขอบคุณครับ

1.อยากทราบว่าพ.ร.บ.ที่เราต่อทุกปีของรถมอเตอร์ไซต์

นั้นเป็นพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถใช่ไหมครับ

1.1นอกจากพ.ร.บ.ที่ว่านี้แล้วหากเราต้องการทำประกันภัยรถของเราต้องไปทำต่างหากใช่ไหมครับมีแบ่งตามประเภทที่1หรือ2หรือ3 เหมือนรถยนต์ใช่ไหมครับ

2.ทราบมาว่าหากกระทำผิดกฎจราจรแล้วครั้งแรกจะถูกยึดใบขับขี่ 15 วัน แสดงว่าหากเราทำความผิดแล้วไปเสียค่าปรับแล้วจากนั้นก็ต้องถูกยึดใบขับขี่อีก 15 วัน เข้าใจแบบนี้ใช่หรือไม่ครับ

3.ตามกฎจราจร ผู้ขับมอเตอร์ไซต์ต้องเปิดไฟหน้ารถในกรณีใดบ้างครับนอกจากตอนมืด

4.มอเตอร์ไซต์ต้องขับอยู่ในเลนไหนจึงจะถูกต้องตามกฎจราจรครับและการขี่มอเตอร์ไซต์บนทางเท้ามีความผิดหรือไม่ครับ

5.เรื่องการเลือกตั้งครับ กรณีหากส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในแบบระบบบัญชีรายชื่อหากพรรคนั้นได้จัดตั้งรัฐบาลและส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อนั้นได้เป็นรัฐมนตรี้ ซึ่งที่ทราบมาคือจะต้องพ้นจากตำแหน่งส.ส.อยากทราบว่าหากมีการปรับคณะรัฐมนตรีและไม่ได้เป็นรัฐมนตรีต่อไป ตำแหน่งส.ส.ที่พ้นไปนั้นจะยังกลับไปตำแหน่งเดิมได้อีกหรือไม่ อยากทราบเป็นความรู้ครับ

5.1ในกรณีเดียวกันกับส.ส.ระบบเขตเหมือนกันหรือไม่ครับ

5.2ในการเลือกตั้งแบบระบบบัญชีรายชื่อทราบมาว่าหากคะแนนเสียงไม่ถึง 5เปอร์เซ็นต์ของคะแนนรวมทั้งประเทศอยากทราบว่าคำว่าคะแนนรวมทั้งประเทศนั้นคือคะแนนที่ทุกพรรคได้รับมาแล้วมารวมกันใช่หรือไม่ครับ

6.การล้างมลทินโทษที่เคยมีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ก่อนหน้านี้ว่าจะล้างมลทินโทษอยากทราบว่า ตอนนี้ได้ประกาศออกไปแล้วหรือยังครับว่าคดีใดที่อยู่ในข่ายกรณีนี้บ้าง

ขอบคุณมากครับ ขอให้ท่านทนายโชคดีและมีความสุขครับ

โจม



ผู้ตั้งกระทู้ โจม :: วันที่ลงประกาศ 0000-00-00 00:00:00 IP :


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (45459)

1.อยากทราบว่าพ.ร.บ.ที่เราต่อทุกปีของรถมอเตอร์ไซต์

นั้นเป็นพรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถใช่ไหมครับ

ตอบ  ใช่ครับ  คุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถ เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเท่านั้น ความเสียหายทรัพย์สินไม่เกี่ยวครับ

1.1นอกจากพ.ร.บ.ที่ว่านี้แล้วหากเราต้องการทำประกันภัยรถของเราต้องไปทำต่างหากใช่ไหมครับมีแบ่งตามประเภทที่1หรือ2หรือ3 เหมือนรถยนต์ใช่ไหมครับ

ตอบ  ใช่ครับ

2.ทราบมาว่าหากกระทำผิดกฎจราจรแล้วครั้งแรกจะถูกยึดใบขับขี่ 15 วัน แสดงว่าหากเราทำความผิดแล้วไปเสียค่าปรับแล้วจากนั้นก็ต้องถูกยึดใบขับขี่อีก 15 วัน เข้าใจแบบนี้ใช่หรือไม่ครับ

ตอบ  ไม่ใช่ครับ การยึดใบขับขี่ โดยทั่วไป คือ การยึดไว้เพื่อให้ไปเสียค่าปรับ โดย เจ้าหน้าที่ จราจร ก็จะยึด ใบขับขี่ไว้ แล้วออกใบสั่ง ให้เราไปเสียค่าปรับ ที่โรงพัก ครับ 

3.ตามกฎจราจร ผู้ขับมอเตอร์ไซต์ต้องเปิดไฟหน้ารถในกรณีใดบ้างครับนอกจากตอนมืด

ตอบ ตอนฝนตกไงครับ , แต่ตอนนี้ เค้าก็รณรงค์ให้คนเปิดไฟ แล้วสวมหมวกกันนะครับ

4.มอเตอร์ไซต์ต้องขับอยู่ในเลนไหนจึงจะถูกต้องตามกฎจราจรครับและการขี่มอเตอร์ไซต์บนทางเท้ามีความผิดหรือไม่ครับ

ตอบ  มอร์เตอร์ไซต์ ต้องขับขี่ ชิดขอบทางด้านซ้าย และขับบนทางเท้าผิดกฎหมายครับ เพราะทางเท้าเค้าไว้ในเดิน

5.เรื่องการเลือกตั้งครับ กรณีหากส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในแบบระบบบัญชีรายชื่อหากพรรคนั้นได้จัดตั้งรัฐบาลและส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อนั้นได้เป็นรัฐมนตรี้ ซึ่งที่ทราบมาคือจะต้องพ้นจากตำแหน่งส.ส.อยากทราบว่าหากมีการปรับคณะรัฐมนตรีและไม่ได้เป็นรัฐมนตรีต่อไป ตำแหน่งส.ส.ที่พ้นไปนั้นจะยังกลับไปตำแหน่งเดิมได้อีกหรือไม่ อยากทราบเป็นความรู้ครับ

ตอบ  ไม่ได้ครับ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ไว้ชัดเจนครับ ว่า รัฐมนตรี จะต้องไม่เป็น สมาชิกสภา คือหมายถึงต้องลาออกจาก การเป็นสมาชิกสภา แล้ว ทั้งนี้เป็นการ แยกอำนาจ ระหว่าง นิติบัญญัติ (สภา) กับ บริหาร ( ครม.) ออกจากกันให้เด็ดขาดครับ ดังนั้น เมื่อลาออกแล้ว ก็ลาออกเลยครับ

5.1ในกรณีเดียวกันกับส.ส.ระบบเขตเหมือนกันหรือไม่ครับ

ตอบ  เหมือนกันครับ ลาออกแล้วลาออกเลยครับ

5.2ในการเลือกตั้งแบบระบบบัญชีรายชื่อทราบมาว่าหากคะแนนเสียงไม่ถึง 5เปอร์เซ็นต์ของคะแนนรวมทั้งประเทศอยากทราบว่าคำว่าคะแนนรวมทั้งประเทศนั้นคือคะแนนที่ทุกพรรคได้รับมาแล้วมารวมกันใช่หรือไม่ครับ

ตอบ  คือ คะแนน ของคนที่มาใช้สิทธิครับ เพราะ นอกจากจะมีคะแนนรวม ของทุกพรรคแล้ว ยังต้องมีบัตรเสีย หรือผู้ไม่ออกเสียงอีกครับ 

6.การล้างมลทินโทษที่เคยมีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ก่อนหน้านี้ว่าจะล้างมลทินโทษอยากทราบว่า ตอนนี้ได้ประกาศออกไปแล้วหรือยังครับว่าคดีใดที่อยู่ในข่ายกรณีนี้บ้าง

ตอบ  มีทุกๆ ครั้งที่มีวาระพิเศษ ครับ เช่น ครบรอบ การขึ้นครองราช ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในกรณีครบรอบ วันพระราชสมภพ ต่างๆ ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-01-30 22:10:00 IP :


ความคิดเห็นที่ 2 (45461)

พระราชบัญญัติ ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 มาตราที่ 1-8

:: ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 เป็นปีที่ 51 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรด เกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมาย ว่าด้วยการล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้

  • มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ ล้างมลทินในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539"
  • มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
  • มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
    "ผู้ต้องโทษ" หมายความว่า ผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษ หรือให้กักกัน และให้หมายความรวมถึงผู้ถูกลงโทษโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผล เช่นเดียวกับการถูกลงโทษโดยคำพิพากษาของศาล
    "ผู้ถูกลงโทษทางวินัย" หมายความว่า ผู้ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์เพราะ กระทำผิดวินัยตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ และให้หมายความรวมถึงบุคคลใดที่ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์โดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัย
  • มาตรา 4 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือใน วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทาน อภัยโทษ พ.ศ. 2539 โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ
  • มาตรา 5 ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ถูกลงโทษทางวินัยในกรณีซึ่งได้ กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้รับโทษหรือรับทัณฑ์ทั้งหมด หรือบางส่วนไปก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคย ถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยในกรณีนั้น ๆ
  • มาตรา 6 สำหรับบรรดาผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษ ทางวินัยก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และบรรดาผู้ถูกดำเนินการทางวินัย ในกรณีกระทำผิดวินัยซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาสั่งยุติเรื่องหรืองดโทษก่อนหรือใน วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ให้ผู้นั้นไม่ต้องถูกพิจารณาเพิ่มโทษหรือถูกดำเนินการ ทางวินัยในกรณีนั้น ๆ ต่อไป
  • มาตรา 7 การล้างมลทินตาม มาตรา 4 และ มาตรา 5 ไม่ก่อให้เกิด สิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น
  • มาตรา 8 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

download

:: ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
:: บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี

*หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 อันเป็นมหามงคลกาลอันสำคัญยิ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และให้เกิดความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในมหามงคลกาลนี้ สมควรมีการล้างมลทินให้แก่ ผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้พ้นโทษไปแล้ว และผู้ถูกลงโทษทางวินัยของ กระทรวง ทวง กรม หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ซึ่งได้รับการลงโทษ ทางวินัยไปแล้ว และสมควรให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการอันมิใช่เป็นการลงโทษทาง วินัยก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และบรรดาผู้ถูกดำเนินการทางวินัยใน กรณีกระทำผิดวินัย ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาสั่งยุติเรื่องหรืองดโทษก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ให้ผู้นั้นไม่ต้องถูกพิจารณาเพิ่มโทษหรือถูกดำเนินการทางวินัย ในกรณีนั้น ๆ ต่อไปด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
(ร.จ. เล่ม 113 ตอนที่ 37 ก หน้า 1 วันที่ 10 กันยายน 2539)

ผู้แสดงความคิดเห็น ปมุข 0-1820-2236 วันที่ตอบ 2005-01-30 22:11:00 IP :



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.